บทสวดมหาสมัยสูตร
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทสวดมหาสมัยสูตร  (อ่าน 12349 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 03, 2009, 07:41:48 PM »





รอdownload หน่อยนะครับ มีเสียงสวดให้ฟัง


http://7550560891757176490-a-1802744773732722657-s-sites.googlegroups.com/site/eskimobkkartdecuisine/mahasamaya.swf?attachauth=ANoY7coqsFvAu9kB2JOKwEaddHeOu6htRwqEn-TD1sVqj93zutGA1J9wWPt7d6jbRGHZdV8wuW8cR2ljCn0GKxAIyFhUXP5tTLfugwKA-yyshUZ8yDzunjXzVYdiuruVFzx8KrKqOgZDnCpEUxpp-sGkBURMJO8IjOE_Jd13x3dSr4jzGC1gjL8qAivJenkolt5kt7cGlDlx91m5ohmfDB6dJdAlVYG-Gg%3D%3D&attredirects=0

แก้ไขไฟล์แล้วครับ อังคาร ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓



บทสวดมหาสมัยสูตร

เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง
มะหาวะเน มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมะเตหิ ภิกขุสะเตหิ
สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ. ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ
สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ. อะถะโข
จะตุนนัง สุทธาวาสะกายิกานัง เทวานัง เอตะทะโหสิ. อะยังโข ภะคะวา
สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง มะหาวะเน มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง
ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ
เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ
ยันนูนะ มะยัมปิ เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะเมยยามะ อุปะสังกะมิตวา
ภะคะวะโต สันติเก ปัจเจกะคาถา ภาเสยยามาติ.

อะถะโข ตา เทวะตา เสยยะถาปิ นามะ พะละวา ปุริโส สัมมิญชิตัง วา
พาหัง ปะสาเรยยะ ปาสาริตัง วา พาหัง สัมมิญเชยยะ เอวะเมวะ สุทธาวาเสสุ
เทเวสุ อันตะระหิตา ภะคะวะโต ปุระโต ปาตุระหังสุ. อะถะโข ตา
เทวะตา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐังสุ. เอกะมันตัง
ฐิตา โข เอกา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ

มะหาสะมะโย ปะวะนัสมิง เทวะกายา สะมาคะตา อาคะตัมหะ อิมัง
ธัมมะสะมะยัง ทักขิตาเยวะ อะปะราชิตะสังฆันติ. อะถะโข อะปะรา
เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ. ตัตระ ภิกขะโว
สะมาทะหังสุ จิตตัง อัตตะโน อุชุกะมะกังสุ สาระถีวะ เนตตานิ คะเหตวา
อินทริยานิ รักขันติ ปัณฑิตาติ. อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต
สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ. เฉตวา ขีลัง เฉตวา ปะลีฆัง อินทะขีลัง
โอหัจจะมะเนชา เต จะรันติ สุทธา วิมะลา จักขุมะตา สุทันตา สุสู นาคาติ
อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ.

เย เกจิ พุทธัง สะระณังคะตา เส นะ เต คะมิสสันติ อะปายะภูมิง ปะหายะ
มานุสัง เทหัง เทวะกายัง ปะริปูเรสสันตีติ.

อะถะโข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ เยภุยเยนะ ภิกขะเว ทะสะสุ โลกะธาตูสุเทวะตา
สันนิปะติตา ตะถาคะตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ เยปิ เต ภิกขะเวอะเหสุง
อะตีตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมาสัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานังเอตะปะระมาเยวะ
เทวะตา สันนิปะติตา อะเหสุง. เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ เยปิ เต ภิกขะเว ภะวิสสันติ.

อะนาคะตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมาสัมพุทธา, เตสัมปิ ภะคะวันตานัง
เอตะปะระมาเยวะ เทวะตา สันนิปะติตา ภะวิสสันติ. เสยยะถาปิ มัยหัง
เอตะระหิ อาจิกขิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ.

กิตตะยิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ เทสิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ.
ตัง สุณาถะ สาธุกัง มะนะสิกะโรถะ ภาสิสสามีติ. เอวัมภันเตติ โข เต ภิกขู ภะคะวะโต
ปัจจัสโสสุง. ภะคะวา เอตะทะโวจะ.

สิโลกะมะนุสกัสสามิ
ยัตถะ ภุมมา ตะทัสสิตา เย สิตา คิริคัพภะรัง
ปะหิตัตตา สะมาหิตา ปุถู สีหาวะ สัลลีนา
โลมะหังหาภิสัมภิโน โอทาตะมะนะสา สุทธา
วิปปะสันนะมะนาวิลา ภิยโย ปัญจะสะเต ญัตวา
วะเน กาปิละวัตถะเว ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะเว เต จะอาตัปปะมะกะรุง
สัตวา พุทธัสสะ สาสะนัง เตสัมปาตุระหุ ญาณัง
อะมะนุสสานะ ทัสสะนัง อัปเปเก สะตะมัททักขุง
สะหัสสัง อะถะ สัตตะริง สะตัง เอเก สะหัสสานัง
อะมะนุสสานะมัททะสุง อัปเปเกนันตะมัททักขุง
ทิสา สัพพา ผุฏา อะหุง ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วะวักขิตวานะ จักขุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะโว เย โวหัง กิตตะยิสสามิ
คิราหิ อะนุปุพพะโส
สัตตะสะหัสสา วะยักขา
ภุมมา กาปิละวัตถะวา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ฉะสะหัสสา เหมะวะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
สาตาคิรา ติสะหัสสา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
อิจเจเต โสฬะสะสะหัสสา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
เวสสามิตตา ปัญจะสะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.

กุมภิโร ราชะคะหิโก
เวปุลลัสสะ นิเวสะนัง ภิยโย นัง สะตะสะหัสสัง
ยักขานัง ปะยิรุปาสะติ กุมภิโร ราชะคะหิโก
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.
ปุริมัณจะ ทิสัง ราชา
ธะตะรัฏโฐ ปะสาสติ คันธัพพานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.

ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา
วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ กุมภัณฑานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.

ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา
วิรูปักโข ปะสาสติ นาคานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา
กุเวโร ตัปปะสาสะติ ยักขานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.

ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ
ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข
กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง. จัตตาโร เต มะหาราชา
สะมันตา จะตุโร ทิสา ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ
วะเน กาปิละวัตถะเว. เตสัง มายาวิโน ทาสา
ยาคู วัญจะนิกา สะฐา มายา กุเฎณฑุ เวเฏณฑุ
วิฏู จะ วิฏุโต สะหะ จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ
กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ
เทวะสูโต จะ มาตะลิ จิตตะเสโน จะ คันธัพโฑ
นะโฬราชา ชะโนสะโภ อาคู ปัญจะสิโข เจวะ
ติมพะรู สุริยะวัจฉะสา เอเต จัญเญ จะ ราชาโน
คันธัพพา สะหะ ราชุภิ โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิตัง วินัง.

อะถาคู นาภะสา นาคา
เวสาลา สะหะตัจฉะกา กัมพะลัสสะตะรา อาคู
ปายาคา สะหะ ญาติภิ. ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ
อาคู นาคา ยะสัสสิโน เอราวัณโณ มะหานาโค
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.

เย นาคะราเช สะหะสา หะรันติ ทิพพา ทิชา ปักขิ วิสุทธะจักขู เวหายะสา เต
วะนะมัชฌะปัตตา จิตรา สุปัณณา อิติ เตสะ นามัง อะภะยันตะทา
นาคะราชานะมาสิ สุปัณณะโต เขมะมะกาสิ พุทโธ สัณหาหิ วาจาหิ
อุปะวะหะยันตา นาคา สุปัณณา สะระณะมะกังสุ พุทธัง.

ชิตา วะชิระหัตเถนะ
สะมุททัง อะสุรา สิตา ภาตะโร วาสะวัสเสเต
อิทธิมันโต ยะสัสสิโน กาละกัญชา มะหาภิสมา
อะสุรา ทานะเวฆะสา เวปะจิตติ สุจิตติ จะ
ปะหาราโท นะมุจี สะหะ สะตัญจะ พะลิปุตตานัง
สัพเพ เวโรจะนามะกา สันนัยหิตวา พะลิง เสนัง
ราหุภัททะมุปาคะมุง สะมะโยทานิ ภัททันเต
ภิกขุนัง สะมิติง วินัง.

อาโป จะ เทวา ปะฐะวี จะ เตโช วาโย ตะทาคะมุง
วะรุณา วารุณา เทวา โสโม จะ ยะสะสา สะหะ
เมตตากะรุณากายิกา อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
เวณฑู จะ เทวา สะหะลี จะ อะสะมา จะ ทุเว ยะมา จันทัสสูปะนิสา เทวา
จันทะมาคู ปุรักขิตา สุริยัสสูปะนิสา เทวา
สุริยะมาคู ปุรักขิตา นักขัตตานิ ปุรักขิตวา
อาคู มันทะพะลาหะกา วะสูนัง วาสะโว เสฏโฐ
สักโก ปาคะ ปุรินทะโท ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

อะถาคู สะหะภู เทวา ชะละมัคคิสิขาริวะ อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ
อุมมา ปุปผะนิภาสิโน วะรุณา สะหะธัมมา จะ
อัจจุตา จะ อะเนชะกา สุเลยยะรุจิรา อาคู อาคู วาสะวะเนสิโน ทะเสเต
ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

สะมานา มะหาสะมานา
มานุสา มานุสุตตะมา ขิฑฑาปะทูสิกา อาคู
อาคู มะโนปะทูสิกา อะถาคู หะระโย เทวา
เย จะ โลหิตะวาสิโน ปาระคา มะหาปาระคา
อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

สุกกา กะรุมหา อะรุณา
อาคู เวฆะนะสา สะหะ โอทาตะคัยหา ปาโมกขา
อาคู เทวา วิจักขะณา สะทามัตตา หาระคะชา
มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน ถะนะยัง อาคา ปะชุนโน
โย ทิสา อะภิวัสสะติ ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

เขมิยา ตุสิตา ยามา
กัฏฐะกา จะ ยะสัสสิโน ลัมพิตะกา ลามะเสฏฐา
โชติมานา จะ อาสะวา นิมมานะระติโน อาคู
อะถาคู ปะระนิมมิตา ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

สัฏเฐเต เทวะนิกายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน นามันวะเยนะ อาคัญฉุง
เย จัญเญ สะทิสา สะหะ ปะวุตถะชาติมักขีลัง
โอฆะติณณะมะนาสะวัง ทักเข โมฆะตะรัง นาคัง
จันทังวะ อะสิตาสิตัง สุพรัหมา ปะระมัตโต จะ
ปุตตา อิทธิมะโต สะหะ สันนังกุมาโร ติสโส จะ
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.

สะหัสสะพรัหมะโลกานัง
มะหาพรัหมาภิติฏฐะติ อุปะปันโน ชุติมันโต
ภิสมากาโย ยะสัสสิ โส. ทะเสตถะ อิสสะรา อาคู
ปัจเจกะวะสะวัตติโน เตสัญจะ มัชธะโต อาคา
หาริโต ปะริวาริโต. เต จะ สัพเพ อะภิกกันเต
สินเท เทเว สะพรัหมะเก มาระเสนา อะภิกกามิ
ปัสสะ กัณหัสสะ มันทิยัง เอถะ คัณหะถะ พันธะถะ
ราเคนะ พันธมัตถุ โว สะมันตา ปะริวาเรถะ
มา โว มุญจิตถะ โกจิ นัง. อิติ ตัตถะ มะหาเสโน
กัณหะเสนัง อะเปสะยิ ปาณินา ตะละมาหัจจะ
สะรัง กัตวานะ เภระวัง. ยะถา ปาวุสสะโก เมโฆ
ถะนะยันโต สะวิชชุโก ตะทา โส ปัจจุมาวัตติ
สังกุทโธ อะสะยังวะเส. ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วิวักขิตวานะ จักจุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต มาระเสนา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะโว.

เต จะ อาตัปปะมะกะรุง
สุตวา พุทธัสสะ สาสะนัง วีตะราเคหิ ปักกามุง
เนสัง โลมัมปิ อิญชะยุง. สัพเพ วิชิตะสังคามา
ภะยาตีตา ยะสัสสิโน โมทันติ สะหะ ภูเตหิ
สาวะกา เต ชะเนสุตาติ.
มะหาสะมะยะสุตตัง นิฏฐิตัง.


เนื้อหาโดยย่อ ตำนานมหาสมัยสูตร

   มหาสมัยสูตรปรากฎความในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกามหาวรรค ภายหลังการบรรลุอนุตราสัมมาสัมโพธิญาณของพระบรมศาสดา พระองค์ได้เสด็จจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก และเมื่อทราบทราบว่าพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาประชวรหนัก จึงเสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์อีกครั้งเพื่อเยี่ยมอาการพระพุทธบิดา พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก ทรงถวายพยาบาลพระพุทธบิดาตามพุทธวิสัย และโปรดให้พระพุทธบิดาได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในกาลต่อมาพระพุทธบิดาก็ปรินิพพานบนพระแท่นบรรทมภายใต้เศวตฉัตรนั้งเอง
 ภายหลังถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธบิดา พระพุทธองค์ตรัสว่า
"บุคคลใดมีจิตปรารถนาพระโพธิญาณ จงอุตสาหะภิบาลบำรุงบิดามารดา ประพฤติกุศลสุจริตธรรม จักสมปรารถนาทุกประการ"

   รุ่งขึ้นอีกวัน ขณะทีพระองค์ประทับอยู่ที่นิโครธาราม กรุงกบิลพันดุ์ เหล่าพระญาติข้างฝ่ายศากยะ และ โกลิยะที่ตั้งหลักแหล่งอยู่สองฝั่งแม่น้ำโรหิณีได้วิวาทกันเรื่องแย้งน้ำทำนา
กษัตริย์ทั้งสองจึงยกกองทัพออกไปจะทำสงครามกัน
เพราะไม่สามารถตกลงกันได้ พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุการณ์นั้นด้วยพระญาณ
 ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ทรงแจ้งให้ใคร ๆ ทราบ เสด็จพุทธดำเนินแต่เพียงพระองค์เดียว ไปประทับนั่งขัดบัลลังก์ระหว่างกองทัพกษัตริย์ทั้งสองนคร

    ครั้นกองทัพชาวเมืองกบิลพัสดุ์และชาวเมืองโกลิยะเห็นพระองค์นั้น
ต่างก็คิดว่าพระศาสดาผู้เป็นพระญาติ ผู้ประเสริฐของพวกเราเสด็จมา จึงทิ้งอาวุธเขาไปเฝ้าพระพุทธองค์ทั้งที่พระองค์ทรงทราบสถานการณ์ขณะนั้นดีแต่ก็ตรัสถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น
 แล้วตรัสสอนว่า มหาบพิตร พวกพระองค์อาศัยน้ำที่มีค่าน้อยแล้วทำให้กษัตริย์ซึ่งหาค่ามิได้ให้ฉิบหายทำไมกัน

   ครั้นแล้ว พระพุทธองค์ได้ตรัส ผันทนชาดก ทุททุภายชาดก และลฏุกิกชาดก
เพื่อระงับการวิวาทของพระญาติทั้งสองฝ่าย และตรัสรุกขธรรมชาดก และวัฏฏชาดก
เพื่อให้เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียงกันว่า "หมู่ญาติยิ่งมากยิ่งดี ต้นไม้ที่เกิดในป่าแม้จะโตเป็นเจ้าป่า ถ้าตั้งอยู่โดดเดี่ยวย่อมถูกแรงลมพัดโค่นลงได้
และว่านกทั้งหลายมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ย่อมพาตาข่ายไปได"้ และในที่สุดก็ตรัส อัตตทัณฑสูตร

   กษัตริย์เหล่านั้นได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว
เกิดความสังเวชพากันทิ้งอาวุธกล่าวว่า หากพระบรมศาสดา ไม่เสด็จมา
พวกเราก็จะฆ่าฟันซึ่งกันและกันเลือดไหลนองเป็นสายน้ำ ไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเห็นหน้าลูกเมียญาติพี่น้อง กษัตริย์ทั้งสองพระนครจึงถวายพระราชกุมาร 500 องค์ คือ ฝ่ายละ 250 องค์ ให้บรรพชา อุปสมบทกับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

   อรรถกถามหาสมัยสูตร เล่าถึงเหตุการณ์ที่ภิกษุราชกุมารเหล่านั้นบรรลุธรรมไว้ว่า
 เมื่อพระพุทธองค์นำภิกษุราชกุมารเหล่านั้นมาสู่ป่ามหาวัน
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ภิกษูปูถวาย ในโอกาสทีสงัด ตรัสบอก
 กัมมัฏฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับกัมมัฏฐานแล้ว
ต่างแยกย้ายกันไปเจริญวิปัสสนาตามเงื้อมผา และโคนไม้ในโอกาสที่เงียบสงัด
และก็ทยอยบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็ลุกขึ้นจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จนครบทั้ง 500 รูป

   อรรถถาได้อธิบายความคิดของพระที่ได้บรรลุพระอรหันต์ไว้ว่า
 พระผู้บรรลุพระอรหัตสิ้นกิเลสอาสวะทั้งหลายแล้ว ย่อมมีความคิดอยู่ 2 อย่างคือ
   1. มีความคิดว่า คนทุกคนตลอดจนเทวดาทั้งหลาย ก็สามารถที่จะบรรลุธรรมตามที่เราบรรลุได้เช่นเดียวกัน
   2. พระที่บรรลุธรรมไม่ประสงค์จะบอกคุณธรรมที่ตนได้บรรลุแก่ผู้อื่น
เหมือนคนที่ฝังขุมทรัพย์ไว้ไม่ต้องการให้ใครรู้ที่ฝังขุมทรัพย์ของตน

   เมื่อเทวดาทั้งหลายทราบว่า
พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป
 ล้วนเป็นพระอรหัตบวชจากราชตระกูล ต่างก็กล่าวว่า
นี้เป็นสมัยแห่งการประชุมใหญ่ในป่ามหาวัน
พวกเราจักไปชมความงดงามของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกผู้หมดจด
ต่างก็แต่งคาถากล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก
เทวดาที่มาประชุมกันใวนนั้นมีจำนวนมากมาย ภิกษุบางรูปก็เห็นเทวดาร้อยหนึ่ง
 บางรูปก็เห็นพันหนึ่ง บางรูปก็เห็นหมื่นหนึ่ง
บางรูปก็เห็นแสนหนึ่ง บางรูปก็เห็นไม่มีที่สิ้นสุด แตกต่างกันไปตามกำลังญาณของแต่ละองค์

    ในยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีการประชุมเทวดาจำนวนมากเช่นนี้ก็เพียงครั้งเดียว
 พระพุทธองค์ ได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เทวดาในแสนจักรวาลมาประชุมกันเพื่อชมตถาคตและหมู่ภิกษุสงฆ์ เทวดาประมาณเท่านี้แหละได้เคยประชุมกันเพื่อชมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตกาลแล้ว และพวกเทวดาประมาณเท่านั้นแหละจักประชุมกันเพื่อชมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล แล้วพระองค์ก็ทรงแนะนำเทวดาแต่ละจำพวกให้ภิกษุทั้งหลายฟังตามลำดับ ตั้งแต่กุมมเทวดาไปจนถึงพรหมโลก

   ขณะที่เทวดาจากหมื่นจักรวาลมาประชุมกันจนครบนั้น ท้องฟ้าโปร่งใส่ไม่มีเมฆหมอก ก็กลับเกิดเมฆฝนคำรณคำรามกึกก้องฟ้าแลบแปล๊บพราย พระพุทธองค์ทรงพิจารณาทราบว่า หมู่มารก็ได้มาด้วย จึงทรงแนะนำให้ภิกษุรู้จักพญามารเอาไว้

    พญามารกำลังสั่งบังคับเสนามารให้ผูกเหล่าเทวดาไว้ในอำนาจแห่งกามราคะ
 แต่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานไม่ให้เหล่าเทวดาเห็น พญามารไม่ได้ดั่งใจจึงทำให้เกิดฟ้าร้องกึกก้องกัมปนาทไปทั่ว

   โดยปกติในที่จะไม่มีการบรรลุมรรคผล พระพุทธองค์จะไม่ทรงห้ามมารแสดงสิ่งอันน่ากลัวของมาร
แต่ในที่จะมีการบรรลุมรรคผล พระองค์จะทรงอธิษฐานไม่ให้ใครรู้เห็นสิ่งที่พญามารกำลังทำ
 เนื่องจากการประชุม ใหญ่ของเทวดาครั้งนั้น
 จะมีเทพบรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก พระพุทธองค์จึงทรงอธิษฐานไม่ให้พวกเทวดา รับรู้สิ่งอันน่ากลัวของหมู่มารนั้น พญามารนั้นจึงกลับไปด้วยความเดือดดาลฯ

สวดเมื่อไร ? สวดแล้วได้อะไร ?

   มหาสมัยสูตร เป็นสูตรว่าด้วยสมัยเป้นที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพ ในยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีการประชุมใหญ่ของเหล่าเทวดาทั้งหลายเช่นนี้เพียงครั้งเดียว เทวดาทั้งหลายจึงพากันคิดว่าพวกเราจะฟังพระสูตรนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงมหาสมัยสูตรจบ
 เทวดาจำนวนหนึ่งแสนโกฎิได้บรรลุพระอรหัต

    พระสูตรนี้จึงเป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา เทวดาทั้งหลายต่างก็คิดว่าพระสูตรของตน เมื่อสวดพระสูตรนี้จะทำให้เหล่เทวดาทั้งหลายประชุมกัน
เมื่อเทวดาประชุมกันก็จะทำให้สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายถอยห่างออกไป
เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เข้ามาใกล้ตัวเรานั้นเอง

   พระอรรถกถาจารย์จึงแนะนำว่า "มหาสมัยสูตรนี้ เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา
ในสถานที่ใหม่เอี่ยม เมื่อจะกล่าวมงคลกถา ควรสวดพระสูตรนี้" หมายความว่าในสถานที่สำคัญที่จะประกอบกิจใหม่ หรือในสถานใดที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ เมื่อจะสวดมงคลกถาในสถานที่เช่นนี้ควรสวดมหาสมัยสูตรนี้

    เนื่องจากมหาสมัยสูตรเป็นสูตรใหญ่ จึงไม่นิยมใช้สวดในงานทำบุญทั่ว ๆ ไป แต่จะนิยมนำไปสวดเฉพาะในพิธีที่เกี่ยวข้องกับความอยู่เย็นเป็นสุขของทางบ้านเมืองเป็นหลัก นอกนั้นแล้ว การเจริญพระพุทธมนต์ยังเป็นรูปแบบของการเจริญสมาธิภาวนาอย่างหนึ่ง แต่แทนที่จะใช้วิธีนั่งบริกรรมให้จิตเกาะเกี่ยวอยู่กับคำใดคำหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว
 เพื่อเป็นสื่อให้เข้าถึงความสงบ ก็ใช้วิธีจิตเกาะเกี่ยวไปกับอักขระเป็นเกาะแสเช่นนี้
ไม่ปล่อยให้ความรัก โลภ โกรธ หลง กามราคะ อาฆาตพยาบาท
ได้โอกาสแทรกเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตมีความผ่องใส
เป็นจิตมีพลังในการต้านทานกิเลสที่จะเข้ามามีอำนาจเหนือสติปัญญา
 จิตเช่นนี้เป็นจิตสงบ คือสงบจากกามราคะ อาฆาตพยาบาท
หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาณ เบื่อหน่าย จึงชื่อว่า "จิตเป็นสมาธิ"



บันทึกการเข้า

winlake3
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 06:21:35 PM »

ไม่ทราบว่าพี่มีไฟล์ที่เป็นเสียงสวดมนต์มหาสมัยสูตร mp3 หือ wma ไว้บ้างไหมครับ
อย่างไรรบกวนขอผมไว้เปิดฟังสวดด้วยครับ
  ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 08:51:59 PM »

Mahasamaya  บทสวดมหาสมัยสูตร ไฟล์ MP3,WMA.SWF

Size.51.83 MB.

Download

http://www.mediafire.com/?1971lnxeexcotbm



บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 09, 2012, 01:08:07 PM »

บทสวดมหาสมัยสูตร เพื่อความร่มเย็นแห่งแผ่นดิน

http://www.youtube.com/v/7PaAEM9x_6Q?fs=1&hl=en_US&color1=0xe1600f&color2=0xfebd01&border=1





   
   

   
พระสูตรสำคัญพระสูตรหนึ่งในพระพุทธศาสนา คือ
"พระมหาสมัยสูตร" พระสูตรนี้มีแสดงนำไว้ว่า "พระพุทธเจ้า
ได้ทรงแสดงพระสูตรเป็นที่รัก และที่พึงใจ
นำมาซึ่งปีติปราโมทย์แห่งจิต ของเทพดาเหล่านั้น
ให้เทพดาเหล่านั้นร่าเริงอยู่ เราทั้งหลายจงสวดพระสูตรนั้น
เพื่อเป็นที่ร่าเริงแห่งหมู่เทพดาเทอญ"
นี่ก็เป็นอีกพระสูตรหนึ่งที่แสดงความสำคัญของเทวดา
ในความรู้สึกของท่านผู้มีพระพุทธศาสนาเป็นที่รักที่เทิดทูน

ยุคหนึ่งเมื่อนานปีมาแล้ว มีเหตุการณ์ค่อนข้างน่าเป็นห่วงเกิดขึ้นในโลก
ที่น่าเกรงว่าจะเกิดแก่ไทยเราด้วย
พระท่านจึงพร้อมใจกันสวด "พระมหาสมัยสูตร" อยู่นานวัน
และเมื่อญาติโยมทั่วไปรู้เรื่องนี้ เข้าใจดีว่าที่นำ "พระมหาสมัยสูตร"
มาสวดก็เพื่อให้เทวดาร่าเริงและก็เข้าใจไปไกล
ที่ก็ไม่ผิด ว่าเพื่อให้เทวดาร่าเริงแล้ว
เทวดาก็ย่อมจะเห็นน้ำใจผู้ที่สวด
โดยมุ่งให้เทวดาร่าเริง ท่านที่มีบารมีได้เป็นเทวดา
ย่อมเห็นใจผู้ที่มีน้ำใจให้ความร่าเริงแก่ท่าน
ย่อมมีน้ำใจตอบ นั่นก็คือย่อมรักษาให้สวัสดีโดยควร

วันหนึ่งได้ไปกราบหลวงปู่เพิ่มที่วัดกลางบางแก้ว
โดยมีศิษยานุศิษย์ญาติโยมติดตามไปด้วยหลายคน
หลวงปู่เพิ่มท่านชรามากแล้ว
ลักษณะท่าทางแบบเดียวกับหลวงปู่ขาว อนาลโย
ที่ญาติโยมพูดตรงกันว่าท่านน่ารักเหมือนกัน
วันนั้นหลวงปู่เพิ่มท่านเล่าให้ฟัง ว่า
หลวงปู่บุณย์อาจารย์ของท่านที่มรณภาพไปนานปีแล้ว
เคยเล่าให้ท่านฟัง ว่า
ท่านเป็นเพื่อนกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม
เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ท่านทรงสั่งหลวงปู่บุณย์ ว่าอย่าสวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้าน
ให้สวดได้แต่ในวัดหรือในวังเท่านั้น
เพราะการสวด "พระมหาสมัยสูตร" ที่ใด
ที่นั้นพรหมเทพจะไปร่วมฟังมาก
เพราะดังมีแสดงไว้ในพระสูตรนั้นว่าเป็นที่รักที่พึงใจ
นำมาซึ่งปีติปราโมทย์แห่งจิตของเทพดา
หลวงปู่เพิ่มท่านพูดเรื่องนี้ในวันนั้นหลายครั้ง
จำได้ว่าไม่ต่ำกว่า 324 ครั้งทีเดียว
เมื่อกลับจากหลวงปู่เพิ่มแล้ว
ญาติโยมผู้หนึ่งจึงเล่า ว่า
เป็นผู้สวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้านทุกวัน
เมื่อหลวงปู่เพิ่มท่านเล่าถึง
คำสั่งของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ก็ไม่ได้รู้สึกว่าตนกำลังสวดอยู่ที่บ้าน
ตามที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทรงห้าม
หลวงปู่เพิ่มท่านเล่าครั้งแรก ก็รับรู้ธรรมดาว่า
 "พระมหาสมัยสูตร" นั้น ท่านห้ามสวดในบ้าน
ไม่ได้นึกเลยว่าตนเองก็สวด "พระมหาสมัยสูตร" อยู่ในบ้านทุกวัน
ได้ยินหลวงปู่ท่านพูดซ้ำ 425 ครั้ง จึงได้สติ
นึกได้ว่าตนเองก็สวดอยู่ในบ้าน
พอมีสติรู้ตัว หลวงปู่ท่านก็มิได้พูดซ้ำอีก
จึงได้ความมั่นใจเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ว่านี่คือผลของอำนาจจิตที่เกิดจากการปฏิบัติพระพุทธศาสนา
ที่เกิดแล้วแก่หลวงปู่เพิ่มท่าน
ท่านไม่เคยได้รับคำบอกเล่าจากญาติโยมผู้สวด
 "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้าน
แต่ท่านก็พูดเหมือนรู้ เพียงแต่ไม่ได้แสดงว่าท่านรู้เท่านั้น
ท่านพูดไปตามธรรมดาๆ
เล่าคำสั่งของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ไปตามธรรมดาเท่านั้น
ด้วยเหตุผลที่ว่าการสวด "พระมหาสมัยสูตร"
พรหมเทพพึงใจ ปีติปราโมทย์
เพราะเป็นพระสูตรที่รักของพรหมเทพ
การสวดในบ้านเรือน สถานที่ย่อมคับแคบเกินไป
สำหรับพรหมเทพที่จะไปรวมกันฟังพระสูตรที่รักที่พึงใจ



"พระมหาสมัยสูตร" เป็นที่รักที่พึงใจของพรหมเทพ
หลายคนเมื่อได้รับรู้เรื่องนี้
ได้นำพระพุทธภาษิตบทหนึ่งมาพิจารณา
คือบทที่ว่า
"ความมีกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี ที่หาได้ยาก"
 จึงได้คิดกันว่าทุกคน
กว่าจะมามีชีวิตในชาติภพนี้
ก็ต้องเคยเกิดเคยตายมาแล้ว
นับภพชาติไม่ถ้วน
เป็นอะไรต่อมิอะไรมาวุ่นวายไปหมดแน่
ทั้งเทวดา ทั้งมนุษย์ ทั้งสัตว์ใหญ่สัตว์เล็ก
แต่ละคนต้องเคยเป็นมาแล้วแน่กว่าจะมาถึงชาตินี้ภพนี้
คิดเช่นนี้แล้ว ก็คิดไกลไปถึงพระเดชพระคุณ
ความช่วยเหลือที่ต้องได้รับจากท่านผู้นั้นบ้าง
ผู้นี้บ้างมาในแต่ละภพแต่ละชาติ
และที่ต้องมีส่วนในความมีพระเดชพระคุณ
ต่อทุกชีวิตมนุษย์ทุกวันนี้
ก็ต้องมีพรหมเทพด้วยแน่
อาจจะเป็นพรหมเทพที่เคยเกี่ยวข้องใกล้ชิดกันมาในแต่ละภพชาติ
มาถึงจุดนี้ก็มาถึง "พระมหาสมัยสูตร" เมื่อพระสูตรนี้กล่าวว่า
 
"สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดง เป็นพระสูตรที่รัก
และเป็นที่พึงใจ นำมาซึ่งปีติปราโมทย์แห่งจิตของเทพดาเหล่านั้น
ให้เทพดาเหล่านั้นร่าเริงอยู่ เราทั้งหลายจงสวดพระสูตรนั้น
เพื่อเป็นที่ร่าเริงแห่งหมู่เทพดาเทอญ"

จึงนำแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพรหมเทพผู้มีพระคุณ
ดังที่น่าคิดน่าเชื่อว่าท่านต้องเคยให้ความปกปักรักษาอุปถัมภ์ค้ำชูเรา
แต่ละคนมาแล้วมากบ้างน้อยบ้างแน่นอน
และเป็นการปฏิบัติที่ไม่ลำบากยากเย็นนัก
ควรทำสำหรับผู้คิดอย่างเห็นด้วยกับที่กล่าวมาแล้ว
ว่าพรหมเทพทั้งปวงมีคุณค่อชีวิตมนุษย์ตลอดมา
เพียงแต่ว่ายากที่มนุษย์จะเห็นถนัดชัดเจน
ต้องคิดต้องเชื่อด้วยเหตุผลเท่านั้น
ว่าเราทุกคนต้องเคยได้รับเมตตาพิทักษ์รักษาจากพรหมเทพมาแล้ว
ไม่มากก็น้อยควรต้องสนองพระคุณนั้น
ให้ได้ภูมิใจในตนเองว่ามีเครื่องหมายของคนดีคือกตัญญูกตเวทิตาธรรม
ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสรรเสริญสวด "พระมหาสมัยสูตร"
ตามที่มีกล่าวไว้ในพระสูตร ว่า "เป็นพระสูตรที่รัก ที่พึงใจ
นำมาซึ่งปีติปราโมทย์แห่งจิตของเทพดาเหล่านั้น
ให้เทพดาเหล่านั้นร่าเริงอยู่" สวด "พระมหาสมัยสูตร"
เพื่อแสดงความรู้พระคุณพรหมเทพและตอบแทนพระคุณนั้น
สวดด้วยความสำนึกจริงใจ ว่าเพื่อให้พรหมเทพมีความปีติปราโมทย์และร่าเริง
ดังที่แสดงไว้ใน "พระมหาสมัยสูตร"
ความสำคัญที่สุดในการสวด "พระมหาสมัยสูตร"
จึงอยู่ที่การทำใจให้ได้จริงดังกล่าวด้วย
สวดเพื่อให้พรหมเทพร่าเริง เป็นสุขที่ได้ฟังพระสูตรอันเป็นที่พึงใจนี้
หลังจากไม่มีสมเด็จพระบรมศาสดาทรงสวดอีกต่อไปแล้ว
น่าจะพากันเบิกบานยินดีที่จะได้มีส่วนทำให้พรหมเทพปีติปราโมทย์ร่าเริง
จะเป็นมงคลแก่ชีวิตยิ่งกว่าปฏิเสธโดยเห็นเป็นการงมงาย
พรหมเทพทั้งหลายที่ท่านมีอดีตผูกพันกับมนุษย์คนนั้นบ้าง คนนี้บ้าง ในทุกชาติทุกภาษา
ทุกวันนี้ท่านน่าจะมีความทุกข์ด้วยความห่วงใยมนุษย์มาก
เมื่อมีการชี้ทางช่วยให้ท่านปีติปราโมทย์ร่าเริงได้เพียงด้วยการสวด "พระมหาสมัยสูตร"
ที่สมเด็จพระบรมศาสดาเคยทรงแสดงไว้ น่าจะดีใจ น่าจะเต็มใจปฏิบัติอย่างยิ่ง
โดยอย่าลืมความสำคัญที่สุด ว่าจะสวดเพื่อให้พรหมเทพท่านเป็นสุขเบิกบาน
ไม่ใช่เพื่อให้ท่านช่วยเราเองอย่างนั้นอย่างนี้ต่อไป
ถ้าจะสวด "พระมหาสมัยสูตร" ก็ควรจะให้งดงามอย่างยิ่งด้วยตั้งจิตไว้ให้ถูกต้องงดงาม
ด้วยสัญญาณที่มุ่งมั่นตอบแทนพระเดชพระคุณที่ได้รับอยู่ตลอดเวลา
จากพรหมเทพทั้งหลายเถิด ทำอะไรได้เพื่อให้ท่านปีติปราโมทย์ร่าเริง
ก็พร้อมกันทำเถิด เป็นมงคลแก่ชีวิตจิตใจผู้ทำเองแน่นอน


วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
2 มิถุนายน พ.ศ. 2547
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: