หนังสือ เจาะลึกที่มาวัดพระธรรมกาย เหอๆ ลองอ่านดูๆ
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือ เจาะลึกที่มาวัดพระธรรมกาย เหอๆ ลองอ่านดูๆ  (อ่าน 23453 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2008, 02:07:04 PM »

ไปเจอมาครับ ควร วิสัชนา เอา ครับ

หนังสือ เจาะลึกที่มาวัดพระธรรมกาย

เขียนโดย พุทธมามิกา

สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาฯ ร่วมกับ ผู้ศรัทธาในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง จัดพิมพ์

        เรื่องวัดพระธรรมกาย มีข่าวออกมาให้ได้เห็น ได้ยิน และได้อ่าน ทั้งจากทางวัดเอง และจากสื่อต่างๆ มากมายหลายด้านแต่เรื่องในอดีตที่เกี่ยวกับการได้ที่ดินแปลงแรกมาเป็นสมบัติกระทั่งเกิดทีวัดพระธรรมกายขึ้นมา
        เวลาล่วงเลยมาถึง 30 ปีเศษแล้ว ก็ยังไม่ปรากฎว่ามีผู้ใดนำความจริงมาเปิดเผย มีแต่ทางวัดเองซึ่งพูดถึงบ้าง แต่ก็เป็นการบิดเบือนความจริง จนผู้คนหลงเชื่อ
        เจ้าของที่ดินดั่งเดิมทั้ง ๓ ท่านก็หาชีวิตไม่แล้ว ไม่มีโอกาสที่จะลุกขึ้นมาบอกเล่า หรือชี้แจงแถลงไขให้ความจริงอย่างใดได้
        น่าจะถึงเวลาเสียที ที่จะนำเรื่องราวเหล่านั้นมาเปิดเผยเพื่อเป็นปากเสียงแทนเจ้าของที่ดินดั่งเดิมทั้ง ๓ ท่าน และเพื่อเปิดเผยโฉมหน้าตลอดจนพฤติกรรมของคน (ที่ชอบอ้างตัวว่ามีธรรมอยู่ในกาย) กลุ่มหนึ่ง ที่ใช้เล่ห์เพทุบายต่างๆ นานาหลอกลวงให้บุคคลที่เป็นเป้าหมายหลงเชื่อ เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินที่กลุ่มของตนปรารถนา
        แต่ก่อนที่จะเปิดเผยเรื่องราว จำเป็นจะต้องกล่าวถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ละท่าน แต่ละคนเสียก่อน เพื่อให้มองเห็น
        ภาพลักษณ์จะได้เกิดความเข้าใจง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้นซึ่งบางท่านอาจจะต้องเล่าท้าวความย้อนหลังยืดยาวไปบ้างอัน
        เป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
        โปรดทำความเข้าใจเสียก่อนว่า เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ ทั้งตัวบุคคล สถานที่ และพฤติกรรมต่างๆ เป็นเหตุการณ์ที่
        ย้อนหลังไปถึง 30ปีเศษ มิใช่ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันดังที่เป็นข่าวครึกโครมอยู่ในขณะนี้ และเป็นเรื่องจริงที่มิได้
        อิงนิยายหรือเป็นนิทานหลอกเด็ก รวมทั้งหลอกผู้ใหญ่ที่ไร้ปัญญาอีกด้วย
        ดังนั้นขณะที่ท่านอ่าน หากนำความรู้สึกนึกคิดเข้าไปในเหตุการณ์เหล่านั้นด้วย จะช่วยทำให้มองเห็นภาพลักษณ์ต่างๆ
        ชัดเจน และเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งมากขึ้น

        ๑.) พระยาแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ท่านเป็นแพทย์ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
        เจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ครั้งที่ทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าสยามมกุฎราชกุมาร ท่านได้กราบ
        ถวายบังคมลาออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตได้ไม่นาน ตำแหน่งสุดท้ายของท่านคือ องคมนตรี
        จากนั้นท่านได้ไปทำสวนอยู่ที่ตำบลบ้านอ่าง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี อันเป็นงานที่ท่านรัก ในวัยชราเมื่อเลิก
        ทำสวนแล้ว ท่านได้เขียนหนังสือและบทความทั้งทางด้านการแพทย์และการเพาะปลูก อันเป็นประโยชน์สำหรับกสิกร
        และนิสิตนักศึกษามากมาย จวบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน หากท่านยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ท่านจะมีอายุถึง
        ๑๑๙ปีแล้ว
        ท่านเจ้าคุณแพทยฯ เป็นเจ้าของที่ดินที่เป็นที่นาจำนวน ๑๙๖ไร่ ที่ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งชาวนาเช่าทำนาอยู่มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของเขา หลังจากท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
        ๒๕o๘ แล้ว ที่ดินแปลงนี้ก็เป็นมรดกตกทอดของคุณหญิงแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี ภริยาของท่าน

        ๒.) คุณหญิงแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี นามเดิมของท่านคือ "คุณประหยัด วิเศษกุล" ผู้ได้รับมรดกที่นาจำนวน ๑๙๖
        ไร่แปลงนั้น นอกจากทรัพย์สินมรดกจากท่านเจ้าคุณแพทยฯแล้ว คุณหญิงยังมีทรัพย์สิน รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์อีก
        มากมายในกรุงเทพฯ จากตระกูลวิเศษกุลองท่าน ในบรรดาที่ดินทั้งหลาย มีอยู่แปลงหนึ่งซึ่งมีอาณาบริเวณอยู่ด้าน
        หลังโรงพยาบาลกลาง และตอนหลังถูกเวนคืน ที่ดินแปลงนี้ได้มีส่วนเข้ามาเกี่ยวขัองกับเรื่องราวที่จะเล่าเล็กน้อย
        จะได้กล่าวถึงต่อไป
        เมื่อท่านชรามากแล้ว มีอาการเจ็บป่วยทางสมอง แพทย์ได้ผ่าตัดสมอง เป็นผลให้ท่านไม่สามารถเคลื่อนไหวอิริยาบถ
        เพื่อทำกิจกรรมใดๆ ได้ จึงได้มอบอำนาจให้บุตรสาวคนเดียวของท่าน เป็นผู้ดูแลจัดการทรัพย์สินมรดกทั้งหมดแทน
        ท่านตั้งแต่ก่อนที่ท่านจะถึงแก่อนิจกรรม

        ๓.) อาจารย์กรณี สุนทรเวช บุตรสาวคนเดียวของคุณหญิงฯและท่านเจ้าคุณแพทยฯ ยังเป็นโสด จบการศึกษาชั้นต้นจาก
        โรงเรียนมาแตร์เดอี จบปริญญาตรีทั้งอักษรศาสตร์ และครุศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโททางการ
        ศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนดาราคาม กรมสามัญศึกษาเกษียณ
        อายุราชการเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔o
        อาจารย์วรณีเป็นผู้ได้รับมรดกตกทอด จากทั้งทางฝ่ายบิดาและมารดาจำนวนมากมายรวมทั้งที่นา ๑๙๖ ไร่ที่ตำบลคลอง
        สามนั้นด้วย
        อุปนิสัยส่วนตัวของท่าน เป็นคนซื่อ เปิดเผย ตรงไปตรงมา ชอบความเรียบง่ายสมถะ ไม่แสดงตัวว่าเป็นคนร่ำรวย
        ใจดีมีเมตตา เห็นอกเห็นใจและให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นอยู่เสมอๆ ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพนับ
        ถือท่านมาก
        ทางด้านราชการ ท่านก็เป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงมีความเสียสละ และมีผลงานอันเป็นประโยชน์แก่ทางราชการ
        มากมายหลายด้าน
        ทั้งคุณสมบัติส่วนตัวและส่วนราชการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นที่รู้จักและทราบกันดีในวงการศึกษา จากการที่เป็น
        ผู้มีชาติตระกูลดี มีการศึกษาสูง ได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาเป็นอย่างดี และมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีตลอดมา ประกอบกับอุปนิสัยส่วนตัวที่กอปรไปด้วยคุณธรรมดังกล่าวและการมองโลกแต่ในแง่ดีของท่าน
        ดังนั้นท่านจึงคิดว่าผู้ที่มาเกี่ยวข้องกับชีวิตของท่านคงจะเป็นคนดีมีความซื่อตรงเช่นเดียวกับตัวท่าน
        จากจุดนี้เองที่เป็นผลให้ผู้ไม่สำนึกในบาป บุญ คุณ โทษ กลุ่มหนึ่ง ใช้เป็นช่องทางฉกฉวยโอกาสเข้ามา แล้วใช้เล่ห์กล
        ลวงให้หลงเชื่อ เพื่อเก็บเกี่ยวเอาผลประโยชน์

        ๔.) นายอาลี คนขับรถเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยท่านเจ้าคุณแพทยฯทำงานกับครอบครัวของท่านเจ้าคุณฯมาช้านาน
        กระทั่งเขาเอง ถึงแก่กรรม
        นายอาลีเป็นมุสลิม และมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อครอบครัวของท่านเจ้าคุณฯมาก เขาเป็นผู้เดียวที่รู้จักและ
        ทราบดีว่าที่นา ๑๙๖ ไร่แปลงนี้อยู่ที่ไหน และเป็นผู้พาอาจารย์วรณีและคนอื่นๆ ไปดูที่ดินแปลงนี้ เนื่องจากในสมัย
        ที่ท่านเจ้าคุณฯ มีชีวิตอยู่ ได้เคยไปกับท่านเจ้าคุณฯ เพื่อเยี่ยมเยียนครอบครัวชาวนา ที่เช่าที่นาแปลงนี้ทำอยู่
        ไหนๆ ก็ได้พูดถึงชาวนาแล้ว จึงอยากจะเล่าความจริงต่อไปอีกเล็กน้อย หลังจากที่ดินแปลงนี้ถูกยกให้สร้างวัดไปแล้ว ชาวนาหลายครอบครัวที่เคยอาศัยทำกินอยู่ในที่ดินแปลงนี้ก็ต้องพากันอพยพย้ายไปเช่าที่ทำกินใหม่ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน ต่อมาเมื่อวัดขยายพื้นที่ออกไปอีกเรื่อยๆพวกเขาก็จำเป็นต้องอพยพย้ายครอบครัวไกลออกไปอีกเรื่อยๆเช่นกัน เพราะพวกเขายากจน ไม่สามารถซื้อที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ได้ และแล้วในที่สุดก็ได้เกิดมีปัญหาทะเลาะวิวาท
        กันระหว่างชาวนาและชาววัด ดังที่เคยเป็นข่าว

        ๕.) แม่กิมซา แม่บ้านเก่าแก่ของครอบครับท่านเจ้าคุณแพทยฯ เป็นผู้เลี้ยงดูอาจารย์วรณีมาตั้งแต่เล็กจน
        โตจึงรู้จักและเข้าใจนิสัยใจคอของอาจารย์ดี
        แม่กิมซาก็เป็นคนเก่าแก่อีกคนหนึ่งที่มีความซื่อสัตย์และจงรักภักดีกับครอบครัวของท่านเจ้าคุณแพทยฯมาก เช่นเดียวกับนายอาลีคนขับรถ ขณะนี้แม่กิมซายังมีชีวิตอยู่แต่ชรามากแล้ว และเป็นผู้หนึ่งที่รู้เห็นพฤติกรรม ของบุคคลกลุ่มที่ได้กล่าวถึงข้างต้น แต่ไม่อาจทัดทานได้
        ต่อไปนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาและเป็นไป ของกลุ่มคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับฝ่ายท่านเจ้าของที่ดินข้างต้น

        ๑.) นางถวิล วัติรางกูร อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนประถม นนทรี สังกัดกรมเดียวกันกับอาจารย์วรณี และเป็น
        ที่รู้จักคุ้นเคยกัน เนื่องจากต้องทำงานร่วมกันอยู่เสมอ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว และยังมีชีวิตอยู่
        นางถวิล เลื่อมในศรัทธาวัดปากน้ำภาษีเจริญมาก แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวตลอด บอกกับใครๆว่า ตนถือศีลอย่าง
        เคร่งครัด และไปปฎิบัติสมาธิอยู่ที่วัดเป็นประจำ เป็นผู้หนึ่งที่ทราบว่าอาจารย์วรณีมีทรัพย์สิน และอสังหาริมทรัพย์
        มากมาย รวมทั้งที่ดิน ๑๙๖ไร่นี้ด้วย และเป็นผู้ชักนำกลุ่มคนในลำดับต่อไป เข้ามารู้จักกับอาจารย์วรณี

        ๒.) นางชีจันทร์ ขนนกยูง ขณะนั้นมีสำนักอยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญเป็นคนที่นางถวิล ชักนำให้มารู้จักกับอาจารย์วรณี โดยอวดอ้างถึงความวิเศษมหัศจรรย์พันลึกของนางชีจันทร์ต่างๆนานา จนอาจารย์วรณี (คนเดียว) หลงเชื่อสนิท จะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป

        ๓.) นายเผด็จ ผ่องสวัสดิ์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดูเหมือนขณะนั้นจะมีอาชีพเป็นเซลล์แมน
        (จะขายอะไร มิได้อยู่ในความสนใจของผู้เขียน) เป็นอีกคนหนึ่งที่นางถวิลชักนำให้มารู้จักกับอาจารย์วรณี เช่นกัน เพื่อมาทำหน้าที่สนับสนุนบทบาทของนางชีจันทร์ให้ดูน่าเชื่อถือเป็นจริง เป็นจัง และสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น คนผู้นี้ก็มีบทบาทสำคัญมากเช่นกัน

        ๔.) ผู้ชายคนหนึ่ง ซ่อนร่างอยู่ในผ้าเหลือง และซ่อนดวงตาไว้หลังแว่นสีดำ คนผู้นี้แม้ว่าทั้ง ๓ คนข้างต้นจะไม่นำ
        เข้ามาแต่ก็ได้นำเอาสรรพคุณ ความดี ความงาม อันน่านิยมนับถือมาบอกเล่าอยู่เป็นนิจ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อม
        ใสศรัทธา
        ได้เคยอ่านพบในนิตยสารฉบับหนึ่ง เมื่อประมาณ ๑o ปีเศษมาแล้ว ผู้ชายคนนี้ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสารฉบับนั้นสรุป
        เป็นใจความได้ว่า เมื่อตนยังเป็นเด็ก หมอดูคนหนึ่งเห็นท่าทีหน่วยก้านของตนแล้วได้ทำนายว่า ต่อไปข้างหน้าหาก
        เป็นนักบวช จะได้เป็นศาสดาทางศาสนาหากอยู่ในเพศคฤหัสถ์ ก็จะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน(ไม่อาจเขียนตรงๆ ตามคำที่ให้สัมภาษณ์ได้ เพราะออกจะหมิ่นเหม่มากเกินไป แต่แม้จะเขียนอย่างนี้ ก็คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจดีว่า
        หมายถึงอะไร) นอกจากนั้นยังได้อวดอ้างสรรพคุณของตนเองอีกว่า คุณหญิง (ประหยัด) แพทยพงศาฯ มีจิตเลื่อมใสศรัทธาตนม๊าก...ก ถึงกับยกที่ดินให้เพื่อสร้างวัด
        ก็ไม่ทราบว่า คุณหญิงแพทยฯ (โดยบุตรสาวของท่าน) ยกที่ดินให้ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาจริงๆ หรือเพราะถูกหลอก
        ลวงด้วยเล่ห์เพทุบายให้หลงเชื่อกันแน่
        เรื่องราวที่จะเล่าต่อไปนี้ หากท่านผู้อ่านได้ใช้วิจารณญาณควบคู่ไปในการอ่าน จะเห็นว่ากลุ่มคนดังกล่าวนี้ มีการวางแผนงานไว้ล่วงหน้า แล้วดำเนินการตามแผนงานทีละขั้นตอนไปตามลำดับ กระทั่งบรรลุผลสำเร็จตาม
        แผนการณ์ที่วางไว้
        เพื่อความถูกต้องชอบธรรม จะเล่าเฉพาะความเป็นจริงที่ได้รู้ได้เห็นมาด้วยตัวเอง ส่วนที่ได้มาจากคำบอกเล่าของ
        บุคคลภายนอกนั้น จะไม่นำมาพูดถึง ด้วยไม่แน่ใจว่าสิ่งที่บอกเล่ากันต่อๆ มานั้นจะคลาดเคลื่อนไปจากความจริง
        หรือไม่ ดังนั้น เมื่อไม่มีความแน่ใจก็จะไม่นำมากล่าว เพราะแม้ว่าจะมิใช่คนเคร่งครัดในศีลก็ตาม แต่ก็มีความาละอาย
        ชั่วกลัวบาป

        แผนแรก เริ่มจากนางถวิลในชุดอาภรณ์สีขาว ทำทีร้องห่มร้องไห้ไปหาอาจารย์วรณี และคุณหญิงแพทยฯ
        ที่บ้าน(โดยปกติไม่ปรากฎว่าเคยไปมาหาสู่ที่บ้านเลย เพราะมีความรู้จักคุ้นเคยก็เพียงเฉพาะด้านงานในราช
        การเท่านั้น) โดยให้เหตุผลว่า มีปัญหากับสามี และตนมีความเสียใจมากเพราะสามีได้เสียกับน้องสาวของตน ซึ่งอยู่ในบ้านเดียวกันเป็นภรรยาน้อยพร้อมกับรำพันถึงความทุกข์อีกต่างๆนานาเพื่อให้เกิดความเห็นใจ
        อุปนิสัยของอาจารย์วรณี ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าเป็นคนจิตใจดีมีเมตตา มักให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้ที่มี
        ความเดือดร้อนอยู่เสมอ ดังนั้นจึงได้เกิดความสงสาร และเชื่อโดยสนิทใจ สำหรับตัวคุณหญิงแพทยฯนั้น ย่อมไม่มี
        ปัญหาอะไร เพราะทุกอย่างสุดแท้แต่บุตรสาวของท่านทั้งสิ้น
        หลังจากหาโอกาสเข้าไปตีสนิทใกล้ชิดจนถึงในบ้าน อันเป็นการโยนหินเพื่อถามทางแล้ว ก็หาเหตุเข้าไปเยี่ยมเยียนอีก
        บ่อยครั้ง ตอนขอกลับอาจารย์วรณีมักจะให้รถไปส่งถึงบ้าน
        นายอาลีคนขับรถ แม้จะเป็นมุสลิม แต่ก็ทำงานอยู่กับชาวพุทธมาเป็นเวลาช้านาน จึงมีความเข้าใจในหลักธรรมทาง
        พระพุทธศาสนาดีพอสมควร และคงจะอดรนทนไม่ไหวกับพฤติกรรมของนางถวิล ดังนั้นในวันหนึ่งระหว่างที่ขับรถ
        ไปส่งจึงได้ถามว่า ในเมื่อนุ่งขาวห่มขาวถือศีลทำสมาธิแล้วอย่างนี้ จะกลับไปอยู่ร่วมกับสามีอีก จะไม่ทำให้ผิดศีลหรือ
        อย่างไร คำตอบที่นายอาลีได้รับจากนางถวิลก็คือ ขณะนี้ตนสละและปล่อยว่างเรื่องโลกหมดแล้ว แม้ร่างกายก็ไม่ได้คิดว่า
        เป็นของตน แต่คิดว่าเป็นเหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากความรู้สึก (ฟังแล้วก็เป็นงง ไม่รู้ว่าปล่อยวางอะไร ตามลัทธิไหน ในเมื่อสละทุกสิ่งหมดแล้วจะมาร้องไห้ฟูมฟายด้วยเรื่องสามีมีภรรยาน้อย ไปหามีดด้ามยามทำไมกัน)
        เกือบจะลืมเล่าไปว่า อาจารย์วรณีนั้นท่านรักสุนัขมาก สุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นอัลเซเชี่ยนพันธุ์ผสมหลายตัว และสุนัขก็รักเจ้า
        นายของมันมากเช่นกัน เมื่อมีผู้ไปเยี่ยมเยียน มันจะนั่งเฝ้าอยู่ใกล้ๆ เพื่อคอยระแวดระวังภัยให้เจ้าของ แต่ก็ยังไม่
        ปรากฎว่ามันเคยกัดใคร
        สำหรับรายนางถวิลนี้มาแปลก สุนัขจะคอยติดตามดูพฤติกรรม พร้อมกับมีเสียงคำรามเบาๆ อยู่ในคอ ซึ่งท่านเจ้าของบ้านต้องคอยปรามอยู่เสมอ ครั้งสุดท้ายขณะที่กำลังคุยกันอยู่บนโซฟา คงจะเกิดคันศีรษะจึงยกมือขึ้น เพียงแค่แตะศีรษะ สุนัขซึ่งตั้งท่าคอยทีอยู่แล้ว ก็กระโดดขึ้นงับแขนทันทีเพราะมันเข้าใจว่าจะทำร้ายนายของมัน ตั้งแต่นั้นมาก็ได้ไปที่บ้านอีกเลย คงกลัวสุนัข
        มีคติของชาวตะวันตกอยู่เรื่องหนึ่งว่า การจะพิสูจน์คนว่าเป็นคน (ใจ) ดี หรือ (ใจ) ไม่ดีนั้น ให้ใช้ทารกหรือสุนัขเป็น
        เครื่องทดสอบ หากทารกเห็นแล้วเบือนหน้าหรือไม่ยอม เข้าไปหาสุนัขไม่เป็นมิตรด้วย เห็นแล้วคำรามเข้าใส่ ท่านว่า
        ใช่เลย คนๆนั้นจิตใจไม่ซื่อ การจะคบหาต้องระมัดระวังให้มากหรือทำได้ควรหลีกให้ห่าง คตินี้คิดว่าน่าจะใช้ได้กับชาว
        ตะวันออกเหมือนกัน(หมายเหตุ : ยกเว้นสุนัขแม่ลูกอ่อน)
        จากคำบอกเล่าของคนขับรถและแม่บ้าน สรุปรวมแล้วได้ความว่า ในระยะแรกๆ นางถวิลจะชี้นำให้เห็นว่า การไปนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่ที่วัดนั้นให้ผลดีอย่างไร เช่น สามารถมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ย้อยไปข้างหลังได้ และมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆล่วงหน้าได้ในสมาธิ โดยมีนางชีจันทร์ ผู้มีญาณอันแก่กล้าเป็นคนฝึกสอนให้
        หลังจากเห็นว่าเหยื่อตายใจ เชื่อสิ่งที่ตนบอกเล่าว่าเป็นความจริงแล้ว ต่อจากนั้นก็บรรยายและสรรเสริญในความ
        มหัศจรรย์ พันลึกของนางชีจันทร์ต่อไปเรื่อยๆ กระทั่งถึงเป้าหมายสำคัญที่ว่าคือ บอกว่า นางชีจันทร์มองเห็นในสมาธิว่า มีวัดๆหนึ่งชื่อว่า "วัดวรณีธรรมกาโย"(ตอนแรกตั้งชื่อมั่วๆไปก่อน เพียงขอให้มีคำว่า "วรณี" อยู่ในชื่อวัดเท่านั้นเป็นพอ) อยู่เหนือขึ้นไปเล็กน้อยมีโบสถ์ก็สวยงาม มีกำแพงแก้ว มีน้ำล้อมรอบบริเวณวัดกว้างขวางร่มรื่นสวยงามมาก
        ครั้งต่อไป นางชีจันทร์ก็มองเห็นทางสมาธิอีกว่า อาจารย์วรณีนั้นคือพระพุทธเจ้ามาเกิด เพื่อมาสืบพระศาสนา
        ความอันเป็นเท็จนี้ แม้อาจารย์วรณีจะถูกเล่ห์กลดลใจให้หลงเชื่ออย่างไรก็ตามที แต่เมื่อใครๆได้ฟังต่างก็ไม่มีใครเชื่อ
        เห็นว่าเป็นการหลอกลวงเสียมากกว่า เพราะชาวพุทธทุกคนก็รู้ดีว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ท่านเสด็จ
        ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ขันธ์ของท่านดับสิ้นไปแล้ว ไม่มีกิเลสเหลือเป็นเชื้อให้เกิดได้อีก อย่างนี้ไม่เรียกว่าหลอกลวง
        แล้วจะให้เรียกว่าอะไรดี?
        คนกลุ่มนี้ใช้วิธีการชั่วร้ายชักจูงอาจารย์วรณี ให้หลงออกนอกทางไปแล้วอย่างไม่น่าเชื่อเลยว่าจะเป็นไปได้ ผู้ใด
        ที่เตือนสติ ช่วยชี้แจงให้เข้าใจความจริงที่ถูกต้อง จะถูกหาว่าเป็นคน "มืด" ทั้งสิ้น
        หมายเหตุมิจฉาทิฎฐิที่เห็นว่าพระพุทธเจ้ายังมีตัวตนอยู่หรือพระพุทธเจ้ามาเกิดเป็นคนนั้นคนนี้และผู้ใดที่มิใช่อยู่
        ฝ่ายตนจะถูกหาว่า"มืด" ทั้งหมด คือเป็นสีดำ ฝ่ายตนเท่านั้นที่เป็นสีขาว ทั้ง ๒ ประการนี้ มิจฉาทิฎฐิกลุ่มนี้ยึดถือ
        กันมานานกว่า ๓o ปีแล้วไม่ใช่เพิ่งมากระทำกันในปัจจุบันก็หาไม่หลังจากแผนแรกดำเนินมาด้วยดีบรรลุเป้าหมาย
        เกินคาดต่อไปก็เริ่มดำเนินการตามแผนที่ ๒ ตามขั้นตอนและวิธีการแบบเดิม คือใช้เล่ห์หลอกลวง

        แผนที่ ๒ เมื่อนางถวิลไม่ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากสุนัขภายในบ้านของอาจารย์วรณีแล้วพื้นที่ดำเนินงานตาม
        แผนนี้ก็คือ สถานที่ทำงานของอาจารย์วรณี คือ โรงเรียน ดาราคาม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหลังท้องฟ้าจำลอง ถนนสุขุมวิทซึ่งอยู่ไม่ห่างจากบ้านของอาจารย์วรณีมากนัก โดยใช้สถานที่ห้องสมุดของโรงเรียนในการพบปะปรึกษา
        หารือบรรณารักษ์ห้องสมุดของโรงเรียนซึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นผู้หนึ่งที่รับรู้และจดบันทึก
        การประชุมปรึกษา
        เนื่องจากบางครั้งต้องเชิญคณะกรรมการโรงเรียนเข้าร่วมปรึกษาหารือด้วยช่วงนั้นคุณปลุกวัชราภัย อดีตรองปลัด
        กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นญาติกับอาจารย์วรณี เป็นประธานคณะกรรมการฯ ซึ่งคุณปลุกท่านเป็นผู้ทราบเรื่องเหล่า
        นี้เป็นอย่างดี และไม่เชื่อถือไม่เห็นด้วยเลยแม้แต่น้อย ปัจจุบันท่านถึงแก่อนิจกรรมแล้ว นางถวิลเริ่มนำนางชีจันทร์เข้า
        มาพบปะกับอาจารย์วรณี(ก่อนหน้านี้อาจจะเคยพาอาจารย์วรณีไปพบนางชี และผู้ชายเบอร์ ๔ ที่อาศัยซ่อนร่างอยู่
        ในผ้าเหลือง ที่วัดแล้วก็เป็นได้ผู้เขียน ไม่ได้เห็นและรับรู้จึงไม่ขอกล่าวถึง) ระยะเริ่มแรกก็ด้วยการชี้ชวน ให้ครูและ
        นักเรียนฝึกนั่งสมาธิ อันเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับหลักสูตรจริยศึกษาพอดี นางถวิลใช้เหตุผลนี้เป็นข้ออ้าง เพราะใช้เวลาราชการออกมาทำกิจกรรมอื่น นอกเหนือจากงานในหน้าที่
        นางถวิลอวดอ้างสรรพคุณของนางชีจันทร์ให้ครูและนักเรียนฟังว่า ได้ไปฝึกสมาธิให้นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษามา
        แล้วหลายโรงเรียน เด็กบางคนสามารถมองเห็นพระพุทธรูปกลางกาย บางคนมองเห็นเหตุการณ์ได้ในสมาธิ และเด็กบาง
        คนเมื่อทำสมาธิในขณะสอบไล่ก็สามารถเห็นคำตอบแต่ละข้อชัดเจนจนทำสอบได้ถูกหมดทุกข้อ(ช่างเป็นเรื่องเท็จที่(ไม่)
        เหลือ(ความ)เชื่อจริงๆ)
        ขณะฝึกสมาธินางชีจันทร์จะคุมอยู่ใกล้ๆ คอยถามอยู่ตลอดเวลาว่า เห็นหรือยัง เห็นพระพุทธรูปกลางกายหรือยัง บางครั้งอาจารย์วรณีจะเข้ามาช่วยฝึกด้วย (แสดงว่าต้องเคยไปที่วัดมาแล้ว) ซึ่งปรากฎว่าไม่มีใครเห็นอะไรเลย และการฝึกสมาธิก็มิได้จริงจังเท่าไรนัก คงเพียงอาศัยใช้เป็นเครื่องอำพรางวัตถุประสงค์ เบื้องลึกเท่านั้น
        ได้มีการกล่าวถึงความมีบุญบารมี ความสง่างามอันน่าเลื่อมใสศรัทธา ของผู้ชายเบอร์ ๔ คนนั้น ด้วยความหลงใหล
        ได้ปลื้ม เมื่อมีผู้ถามถึงสาเหตุที่ต้องพรางดวงตาไว้ด้วยแว่นสีดำก็จะได้รับคำตอบว่า นัยน์ตานั้นงามมีเสน่ห์มาก และจะเป็นภัยแก่ผู้หญิงหากถอดแว่นออกเมื่อใดโลกอาจจะต้องลุกเป็นไฟก็ได้...(เฮ้อ!มหัศจรรย์อะไรจะขนาดนั้น)
        ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเต็มเปี่ยมหลังจากอาจารย์วรณีได้ปรึกษาคุณหญิงแพทยฯแล้วและคุณหญิงฯท่านก็ไม่ขัดข้อง
        สุดแล้วแต่บุตรสาวจะเห็นดีเห็นงาม ดังนั้นอาจารย์วรณี จึงได้ตกลงใจยกที่ดินที่คลองสามแปลงนั้นให้สร้างวัดสำหรับ
        ปฎิบัติธรรม และเพื่อผู้ชายคนนั้น ?
        เป็นอันว่าประสบผลสำเร็จอันงดงามตามแผนที่วางไว้

        แผนที่ ๓ นายเผด็จเข้ามาร่วมปรึกษาหารือ โดยขั้นแรกไปดูที่ดินก่อน สำหรับที่ดินนี้ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ไม่มีผู้ใดทราบว่าตั้งอยู่ที่ไหน แม้แต่อาจารย์วรณีเอง ผู้ที่ทราบคือนายอาลีคนขับรถ ดังนั้นนายอาลีจึงเป็น
        ผู้พาทุกคนไปดูที่ดินมิจฉาทิฎฐิกลุ่มนี้ล้วนดีใจกันถ้วนหน้าเมื่อเห็นที่ดิน
        ต่อไปเป็นการวางแผนสร้างวัด เนื่องจากเป็นที่นา และชาวนาหลายครอบครัวเช่าทำอยู่ จึงต้องจัดการให้ชาวนา
        เหล่านั้นออกไปจากที่ดินก่อน แล้วปรับพื้นที่ให้เรียบเสมอกัน จึงจะดำเนินการสร้างโบสถ์ได้
        นายเผด็จเสนอรับจัดการเรื่องแบบแปลนโบสถ์ ทุกคนเห็นชอบด้วย ค่าแบบแปลนราคา ๔ หมื่นบาท (เมื่อ ๓o กว่า
        ปีมาแล้วนะ ไม่ใช่ ๔ หมื่นบาทในปัจจุบัน) อาจารย์วรณีได้จ่ายเงินให้ไปเรียบร้อยโดยไม่มีการทักท้วงต่อรอง แล้วยังปวารณาไว้อีกว่า หลังจากได้รับเงินชดเชยจากการเวนคืนที่ดินเริเวณหลังโรงพยาบาลกลางจำนวน ๑๘ ล้าน
        บาทแล้ว จะยกเงินจำนวนนี้ให้ทั้งหมด เพื่อสร้างวัด และนายเผด็จอีกนั่นแหละที่เสนอตัวขอไปอยู่ในที่ดินเพื่อควบคุม
        ดูแลการก่อสร้างวัดทุกคนก็เห็นชอบอีกก็เพราะเป็นผู้ชายอยู่คนเดียว นอกนั้นคือผู้หญิงทั้งสิ้น ทุกคนต่างชื่นชมว่า
        เป็นผู้เอาใจใส่และมีความเสียสละ ที่ว่าเสียสละก็เพราะต้องละทิ้งงานประจำที่ทำอยู่ ละทิ้งรายได้ที่เคยได้ มาทำงานให้วัด
        ก็อาจารย์วรณีอีกนั่นแหละ เป็นผู้จ่ายเงินสร้างบ้านขึ้น ๑ หลังบริเวณใกล้ๆ กับคลอง เพื่อให้เป็นที่พักของนายเผด็จ
        เป็นบ้านไม้ทั้งหลังใต้ถุนสูง สร้างอย่างแข็งแรงและเกือบจะเป็นบ้านถาวร ค่าก่อสร้างเท่าไรไม่ทราบได้ พร้อมกับจ่าย
        เงินให้นายเผด็จเดือนละ ๑ หมื่นบาทเพื่อทดแทนที่ต้องออกจากงานเก่าเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นตลอดจนเครื่องอำนวยความ
        สะดวกซื้อให้ใหม่ทั้งหมด
        ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ นายอาลีจะขับรถพาอาจารย์วรณีไปซื้อกับข้าว ของใช้ต่างๆ แล้วนำเอาไปให้ พร้อมกับดูแลจัด
        บ้านช่อง ปัดกวาดทำความสะอาดให้อย่างเรียบร้อย
        นายอาลีเป็นคนขับรถ เฝ้าแต่ยืนดูคุณหนูของเขา(เพราะรับใช้มาตั้งแต่อาจารย์วรณียังเป็นเด็ก) ทำงานด้วยความ
        ห่วงใยและละเหี่ยใจ แต่ไม่สามารถออกความดิดเห็นอะไรได้เพียงแต่รำพึงกับคนใกล้ชิดว่าสงสารคุณหนู
        เหลือเกินไม่เคยทำงานอย่างนี้มาก่อนเลย แต่ต้องมาทำเพราะอะไร ? เพื่ออะไร ? และทำเพื่อใคร ?
        นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่เป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งอาจารย์วรณีเป็นผู้จ่ายดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายด้าน
        อื่นอีก จิปาถะเช่นค่าปรับพื้นที่ดินค่าข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านอันได้แก่เครื่องนอนตู้ โตะ พัดลม ฯลฯ ตลอดจนค่าอาหารการกินที่ได้จัดซื้อหาไปให้เป็นประจำทุกวันหยุดสุดสัปดาห์อีกด้วยเป็นการจ่ายด้วยความ
        เต็มใจ และเลื่อมใสศรัทธา ด้วยมีความตั้งมั่นอยู่ในใจจริงจังว่า วัดนี้เป็นวัดของท่าน
        เมื่อมีข่าวแพร่ออกไปว่า อาจารย์วรณียกที่ดินร้อยกว่าไร่ที่คลองสาม ให้สร้างวัดสำหรับปฎิบัติสมาธิ ความทราบ
        ถึงคุณหญิงดิฐการภักดี ซึ่งขณะนั้นดูเหมือนท่านจะปฎิบัติธรรมอยู่ที่สำนักวัดมหาธาตุฯ (หากคลาดเคลื่อนจาก
        ความจริงก็ขอประทานอภัย) ได้ติดต่อมาขอพบบุคคลกลุ่มนี้ เพื่อจะรวบรวมเอาสำนักปฎิบัติธรรมวัดมหาธาตุฯ มารวมเป็นสำนักเดียวกัน ณ. สถานที่ใหม่ เนื่องจากทีพื้นที่กว้างขวาง และบรรยากาศก็เหมาะสมในการปฎิบัติธรรมมาก
        คุณหญิงฯ ท่านได้มาพบบุคคลกลุ่มนี้ ที่ห้องสมุดของโรงเรียนดาราคาม ซึ่งในวันนั้นได้มีคณะกรรมการโรงเรียนหลาย
        ท่านเข้ามาร่วมปรึกษาหารือด้วยนายเผด็จเป็นผู้ตอบปฎิเสธข้อเสนอของคุณหญิงฯด้วยน้ำเสียงและท่าทีแข็งกร้าว แสดงความเป็นเจ้าของอย่างเด่นชัด โดยให้เหตุผลว่า "สำนักปฎิบัติธรรมของกลุ่มพวกตนนั้น ปฎิบัติในชั้นสูง เป็นคนละแนวทางกันกับสำนักวัดมหาธาตุฯ จึงให้มารวมด้วยไม่ได้" ก็เพิ่งได้รู้ในตอนหลัง ๆ นี่เองว่า คนกลุ่มนี้เขาปฎิบัติธรรมกันแบบไหน ผิดแผกแตกต่างไปจากที่มนุษย์มนา กลุ่มอื่นๆเขาปฎิบัติกันอย่างไร
        การสร้างวัดดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยมีอาจารย์วรณีเป็นสปอนเซอร์
        ตัวผู้เขียน ไม่ได้พบปะ ติดต่อกับอาจารย์วรณีอีกเป็นเวลานานพอสมควร เมื่อเดินทางไปตามถนนสาย
        พหลโยธินผ่านรังสิต บริเวณปากทางแยกเข้าอำเภอองครักษ์ มองเห็นป้ายว่า "วัดวรณีธรรมกายาราม"
        ตั้งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าของศาลเจ้าก็คิดว่าทุกอย่างคงเรียบร้อยแล้วไม่มีปัญหา
        แต่ต่อมาไม่นาน เมื่อผ่านแถวนั้นอีก มองไปที่ป้ายก็เห็นเปลี่ยนเป็น "วัดพระธรรมกาย" ไปแล้ว เกิดความสงสัยว่า ทำไมและเพราะอะไร ?

        แผนสุดท้าย คือการขจัดเจ้าของที่ดินเดิมออกไปให้พ้นทาง
        เวลาผ่านมาอีกระยะหนึ่ง เมื่อมีโอกาสได้พบกับอาจารย์วรณีอีก ความสงสัยก็กระจ่างชัดเจนขึ้น เมื่อท่านเล่าให้ฟังว่า
        ได้ถอนตัวออกมาจากคนกลุ่มนี้แล้ว (มิน่าล่ะชื่อวัดจึงเปลี่ยนใหม่) เนื่องจากในวันทำพิธีวางศิลาฤกษ์ แต่ถูกนาง
        ชีจันทร์กีดกันไม่ให้เข้าไปภายในบริเวณที่ทำพิธี ก็ต้องกลับออกมาด้วยความเสียใจและผิดหวังอย่างมาก แล้วตัดสินใจเลิกคบหากับคนเจ้าเล่ห์กลุ่มนี้โดยเด็ดขาด
        เงินจำนวน ๑๘ ล้านบาท ที่ได้เคยปวารณาไว้ว่าจะยกให้สร้างวัดทั้งหมดนั้น ก็ได้นำไปสร้างอาคารสำหรับปฎิบัติธรรม
        ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ และอีกส่วนหนึ่งได้นำไปสร้างโรงเรียนให้ตำรวจตระเวนชายแดน ที่จังหวัดกาณจนบุรีจำนวน
        ๒ โรงเรียน เพื่อสนองพระราชดำริและน้อมเกล้าฯถวายสมเด็จพระบรมราชนนี โรงเรียนทั้งสองนั้นได้แก่ โรงเรียน
        วิเศษกุล และโรงเรียนสุนทรเวช อันเป็นชื่อสกุลของมารดาและบิดาของท่าน หลายคนต่างก็อนุโมทนา
        ในที่สุด อาจารย์วรณีก็ได้เกิดปัญญามองเห็นความจริงแล้วปลีกตัวออกมา แม้จะสายไปสักหน่อย กระทั่งได้สูญเสียที่ดิน
        และทรัพย์สินเงินทองไปไม่ใช่น้อย แต่ก็นับว่าเป็นผลดีอยู่มาก เพราะหากยังหลงเชื่องมงายอยู่ ก็ยังไม่แน่ว่าจะสูญเสีย
        อีกเท่าใด แม้ว่าท่านจะยังมีให้เสียก็ตามทีน่าขอบใจนางชีจันทร์ที่ทำให้อาจารย์วรณีได้เห็นสัจธรรม
        ตามหลักพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงการให้ทานไว้อย่างชัดเจนว่า "ให้สิ่งที่ควรให้ แก่คนที่ควรให้" จึงเป็นการให้ทาน
        ที่ถูกต้อง และได้กุศล แต่ถ้า "ให้คนที่ไม่ควรให้" ก็จัดว่าเป็นการให้ในทางที่ผิด ย่อมได้แต่อกุศล
        การได้รับทรัพย์สินที่เขาทำทานมา ด้วยวิธีการใช้เล่ห์เพทุบายหลอกลวง ทรัพย์นั้นจัดว่าเป็นทรัพย์ที่ไม่บริสุทธิ์ จะเอามาซักมาฟอกก็ไม่มีทางสะอาดได้ และสมบัติย่อมคู่กับวิบัติเสมอกรรมนั้นมีอยู่จริง ผู้ใดทำสิ่งใดได้ ย่อมได้รับผลนั้นตอบสนองไม่ช้าก็เร็ว ยิ่งยุคนี้เป็นยุคไฮเทค กรรมจะติดจรวดมาเร็วมากไม่ต้องรอชาติหน้า แต่จะทันตาเห็นชาติ


บันทึกการเข้า

dekwat♥
member
*

คะแนน458
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 303



« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2008, 03:04:55 PM »

ขออนุญาตเพิ่มเติมขยายความ นับขึ้นบรรทัดที่ 7 นะครับ

 "ให้คนที่ไม่ควรให้" ก็จัดว่าเป็นการให้ในทางที่ผิด ย่อมได้แต่อกุศล

เพื่อพุทธศาสนิกชนเข้าใจในทางเดียวกัน
การทำบุญให้ทานนั้น เปรียบเสมือนการทำนาปลูกข้าว
โดยที่ผู้รับเป็นเหมือนาข้าว
สิ่งของที่ให้เหมือนเมล็ดพันธุ์ข้าว
กิเลสของผู้รับและผู้ให้เหมือนเป็นวัชพืชในนาข้าวนั้น
ความตั้งใจ ของผู้ให้เหมือนความตั้งใจในการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ตกลงในนา ไม่ให้กระจัดกระจายออกนอกนา
ศรัทธาของผู้ให้เปรียบเหมือนปุ๋ย
ผลบุญที่ผู้ให้ได้รับเปรียบเสมือนผลผลิตจากการทำนานั้น
ผู้รับจึงได้ชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญ 
การทำนาปลูกข้าว นั้น ถ้าใช้ข้าวพันธุ์ดี ปลูกในนาข้าวที่มีดินดี ในขณะหว่านก็ตั้งใจหว่านให้ข้าวตกลงในท้องนาอย่างพอดี ไม่กระจัดกระจายสูญหายไปนอกนา มีน้ำบริบูรณ์ มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ ไม่มีวัชพืชมาคอยแย่งอาหารต้นข้าว ผลผลิตที่ได้ย่อมมากมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วยฉันใดจ่าย
การทำบุญด้วยวัตถุอันเลิศ ให้กับบุคคลอันเลิศ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใดๆ ทำไปด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่มั่นคง ประกอบด้วยศรัทธาอันดี ถึงพร้อมด้วยปิติเบิกบานใจ ผลบุญที่ได้ย่อมไพบูลย์ฉันนั้น

การ "ให้คนที่ไม่ควรให้" เหมือนปลูกข้าวในนาที่ไม่ดี  ได้ข้าวที่ไม่สวย  คือได้บุญที่ไม่เต็มที่นัก
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2008, 03:29:19 PM »

ขอบคุณ ครับ dekwat คิดถึงท่านเสมอ นะครับ
ด้วยความเป็น ฆราวาส จึงต้อง ดิ้นรน เพื่อความอยู่รอด
ไม่ได้สนทนากับท่านเลย  หนังสือ พระไตร. อ่านยังไม่จบเล่มเลย
    ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: