ส.ป.ก./สค.1/ สทก./ภบท.5/น.ส.3/ส.ป.ก. 4-01/คปจ./ก.พ.ส./สกย.
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 04:34:10 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ส.ป.ก./สค.1/ สทก./ภบท.5/น.ส.3/ส.ป.ก. 4-01/คปจ./ก.พ.ส./สกย.  (อ่าน 71927 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 30, 2008, 12:09:28 AM »

88. จะโอนที่ดินให้กับทายาท หรือจะถูกเพิกถอนเพราะขาดคุณสมบัติ แล้วถูกยืดที่ดินคืนหลวงหรือไม่

    หลักการจัดที่ดินของส.ป.ก.คือจัดให้กับเกษตรกรทำประโยชน์ ดังนั้น เมื่อเป็นข้าราชการต้องถือว่าขาดคุณสมบัติเป็นเกษตรกรตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินฯ จึงหมดสิทธิที่จะได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จำเป็นจัดที่ดินให้กับทายาทของคุณที่เป็นเกษตรกร เช่น บิดามารดา คู่สมรส บุตร หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ในที่ดินเอกชน(โฉนด /น.ส.3) ที่ส.ป.ก.จัดซื้อมาแล้วจัดให้ออกจะดูเป็นธรรม แต่ที่ดินของรัฐที่เกษตรกรถือครองอยู่ก่อนหรือซื้อมาก่อนการปฏิรูปที่ดิน ดูว่ากฎหมายจะไม่ให้ความเป็นธรรม หลายคนจึงเห็นว่าสมควรให้มีการปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงโดยเร็ว


87. ซื้อที่ สปก. และได้แจ้งเปลี่ยนชื่อแล้วจะมีปัญหาหรือไม่

    ถ้าคุณซื้อมาก่อนส.ป.ก. ทำการสำรวจรังวัด หรือก่อนการสอบสวนสิทธิ หรือก่อนคัดเลือกรับมอบที่ดิน ไม่เป็นไร ไปแจ้งขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลสอบสวนสิทธิใหม่ได้ แต่ถ้าซื้อภายหลังได้คัดเลือกและมอบที่ดินให้กับผู้ขายไปแล้ว จะหมดสิทธิทั้งคู่(ผู้ขายและผู้ซื้อ) ก็ลองนึกดูว่าเข้ากรณีใหน ส่วนการรังวัดแบ่งแยกอาจอยู่ในขั้นตอนก่อนคัดเลือกก็ได้ ลองไปตรวจสอบดู


86. เกษตรกร 1 รายสามารถมีพื้นที่ที่เป็น สปก. ได้มากที่สุดกี่ไร่ หากมีที่อยู่แล้ว 40 ไร่ปลูกต้นไม้และปลูกพืชผัก เต็มหมด สามารถรับมรดกจากบิดาอีก 20 ไร่ ได้อีกหรือไม่โดยต้องการที่จะใช้เลี้ยงสัตว์เช่นวัวเนื้อ เป็นต้น มีวิธีแบ่งแยกอย่างไร

    ที่ดินที่ส.ป.ก.ได้มาจะจัดให้ใช้ประกอบเกษตรกรรมได้ไม่เกิน 50 ไร่โดยคิดรวมทั้งบุคคลในครอบครัวคือคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย แต่ ถ้าประสงค์จะใช้ที่ดินเลี้ยงสัตว์ใหญ่(โค กระบือ ม้า) ส.ป.ก.จะจัดให้ได้ไม่เกิน 100 ไร่ โดยต้องแสดงได้ว่ามีความสามารถและปัจจัยที่จะทำได้พร้อมคำรับรองจากกรมปศุสัตว์ โดยไปยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานที่ส.ป.ก.จังหวัด ถ้าต่อมาเกิดเบี้ยวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ว่า ส.ป.ก.จะเพิกถอนการอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรเพื่อนำไปจัดให้กับเกษตรกรอื่นต่อไป กรณีของคุณถ้าประกอบการเกษตรจะได้อีก 10 ไร่ แต่ถ้าใช้เลี้ยงสัตว์ใหญ่สามารถรับจากบิดาได้ทั้ง 20 ไร่ อย่างไรก็ตาม การขอมีที่ดินเกินสิทธิเพื่อเลี้ยงสัตว์ใหญ่ อำนาจพิจารณาเป็นของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี รมว.เกษตรฯเป็นประธาน


85. สค.1หมายความว่าอย่างไร ช่วยตอบที

    แบบแจ้งการครองครองที่ดิน(ส.ค. 1)คือใบแจ้งการครอบครองที่ดิน เป็นหลักฐานว่า ตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่(แต่ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ส.ค.1อีกแล้ว)ส.ค.1 ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้ เพียงเป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่านั้น รายละเอียดนอกจากนี้สอบถาม ปชส.ของกรมที่ดิน


84. อยากจะขอที่ดิน ส.ป.ก.หรือพื้นที่ถูกแผ้วถางรกร้างวางเปล่าที่ติดกับแนวเขตอุทยานฯเพื่อเลี้ยงสัตว์

    ที่ดินที่ส.ป.ก.ได้มาจะจัดให้ใช้ประกอบเกษตรกรรมได้ไม่เกิน 50 ไร่โดยคิดรวมทั้งบุคคลในครอบครัวคือคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย แต่ ถ้าประสงค์จะใช้ที่ดินเลี้ยงสัตว์ใหญ่(โค กระบือ ม้า) ส.ป.ก.จะจัดให้ได้ไม่เกิน 100 ไร่ โดยต้องแสดงได้ว่ามีความสามารถและปัจจัยที่จะทำได้พร้อมคำรับรองจากกรมปศุสัตว์ โดยไปยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานที่ส.ป.ก.จังหวัด ถ้าต่อมาเกิดเบี้ยวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ว่า ส.ป.ก.จะเพิกถอนการอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรเพื่อนำไปจัดให้กับเกษตรกรอื่นต่อไป อย่างไรก็ตาม การขอมีที่ดินเกินสิทธิเพื่อเลี้ยงสัตว์ใหญ่ อำนาจพิจารณาเป็นของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี รมว.เกษตรฯเป็นประธาน


83. ที่ดินของพ่อผม อยู่ในเขต ส.ป.ก. แต่ไม่ได้แจ้งรังวัด (ที่ข้างเคียงเป็น ส.ป.ก.) จะมีผลอย่างไร และต้องทำอย่างไรต่อไป

    ไม่ทราบว่าที่ดินที่บิดาคุณครอบครองเป็นที่แปลงใหญ่ที่กำลังเป็นข่าวอยู่หรือเปล่า ...จะใช่หรือไม่ไม่เป็นไรให้ไปแจ้งการครอบครองกับเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.เพื่อได้สำรวจรังวัดและรับรองสิทธิให้ตามที่กฎหมายปฏิรูปที่ดินกำหนด (หรือถ้ามีเอกสารสิทธิใดๆก็นำไปยืนยันพิสูจน์ความจริงกันได้) อย่างไรก็ตาม เมื่อที่ดินที่ซื้อมานั้นเป็นที่ดินของรัฐ เป็นที่มือเปล่า ย่อมมีปัญหาเรื่องการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน จึงต้องยอมรับหากปัญหานั้นเกิดขึ้น ส่วนการแก้ไข ขอแนะนำให้ไปแจ้งการครอบครองกับส.ป.ก. เพราะเห็นว่ากระบวนการปฏิรูปที่ดินเท่านั้นที่สามารถช่วยให้ได้กรรมสิทธิ์(โฉนดที่ดิน)ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เช่นนั้นคุณคงต้องปวดหัวกับเรื่องที่ดินแปลง(ใหญ่)นี้ไปอีกนาน


82. ปัจจุบันบิดาได้รับจัดสรรที่สปก.จำนวน 50 ไร่ กรณีถ้าบิดาเสียชีวิตที่ดินสปก.จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร

    ส.ป.ก.อนุญาตให้ทายาท(ของผู้เสียชีวิต)รับมรดกสิทธิที่ดิน ดังนี้ 1.คู่สมรส หรือ บุตร 2.บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ที่ดินที่บิดาคุณได้รับนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ดังนั้น ทายาทที่มีสิทธิจึงเป็นไปตามที่ส.ป.ก.กำหนด ไม่ใช่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่ง-พาณิชย์เหมือนที่หลายๆคนเข้าใจ


81. วีธีการดำเนินการในการซื้อที่ดินของ ส.ป.ก. จากเอกชน มาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

    ตามกฎหมายปฏิรูปแล้ว ที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม หากใครมีที่ดินแล้วไม่ทำการเกษตรจะเก็บไว้ได้เพียง 20 ไร่ หากทำการเกษตร จะเก็บไว้ได้ 50 ไร่ เท่านั้น ส่วนที่เกินสิทธิ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดซื้อหรือเวนคืนเพื่อนำไปจัดให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องราคาและนโยบายของรัฐ ทำให้การจัดซื้อที่ดินต้องชลอไปก่อน


80. คำว่า" ห้ามโอน " ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินฯ มีความหมายว่าห้ามโอนโดยทางนิติกรรมหรือรวมถึงโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม

    โอนทางอื่นนอกจากนิติกรรมคืออะไรครับ และการโอนอย่างว่าสิทธิในที่ดินนั้นติดไปด้วยหรือเปล่า ช่วยยกตัวอย่างให้ชัดจะได้ช่วยตอบให้ชัดเจน


79. ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินคิดอย่างไร

    ที่ดินของรัฐที่ ส.ป.ก.เป็นเจ้าของไม่เสียค่าธรรมเนียมในการโอน แต่ถ้าเป็นที่ดินเอกชนที่ ส.ป.ก.จัดซื้อมา  เมื่อเกษตรกรชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์  เกษตรกรต้องเสียค่าโอนร้อยละ 1 ของราคาประเมินของกรมที่ดิน


78. อาโอนที่ดินให้หลานตัวได้หรือไม่

    ตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.เป็นเจ้าของที่ดิน คุณไม่มีสิทธิโอนให้ใครยกเว้นตกทอดทางมรดกให้ สามี ภรรยา และบุตร โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนแล้วจึงจะถึงเครือญาติ แต่ต้องเป็นเกษตรกรด้วย ดังนั้น หลานต้องไปยื่นคำร้องขอรับการจัดที่ดินก่อน


77. ซื้อที่ดินมีใบ สทก. ทำอย่างไรจึงจะได้ใบ ส.ป.ก.4-01

    ที่ดินนั้นต้องอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ต้องทำหนังสือยินยอมสละสิทธิ สทก.และต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรตามระเบียบข้อบังคับและผ่านการคัดเลือกของ ส.ป.ก.


76. ซื้อที่ดินมีใบ ภบท.5 เท่านั้นไม่มีหลักฐานอื่น ถ้า ส.ป.ก. มาจัดที่ดินให้จะได้รับที่ดินไหม

    การซื้อที่ดินที่มีใบ ภบท.5 และคุณเสียภาษีต่อจากคนเดิม แสดงว่าคุณได้ถือครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจากคนเดิม แต่เป็นการถือครองมือเปล่าเพราะเป็นที่ของรัฐ ถ้าที่ดินนั้นอยู่ในพื้นที่ของ ส.ป.ก.หรือประกาศเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว แต่ยังไม่ได้จัดให้ใคร ส.ป.ก.จะสอบสวนสิทธิและรังวัดที่ดิน ซึ่งคุณจะต้องชี้แนวเขตและคุณต้องเป็นเกษตรกรที่ทำกินด้วยตนเองเต็มเวลา ไม่มีอาชีพอื่นและที่ดินที่อื่นที่เพียงพอแก่การครองชีพ รวมทั้งต้องผ่านการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรก่อน จึงจะได้รับที่ดินนี้


75. ใบ ภบท.5 คืออะไร

    ใบ ภบท.5 คือ หลักฐานการเสียภาษี บอกแต่เพียงชื่อที่ปรากฎอยู่ว่าเป็นผู้ที่สียภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ไม่ได้แสดงหลักฐานการครอบครอง


74. น.ส.3 คืออะไร

    น.ส.3 เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  ออกโดยกรมที่ดิน


73. ส.ท.ก. คืออะไร

    ส.ท.ก. คือหนังสืออนุญาตให้ทำกินในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว  ออกโดยกรมป่าไม้


72. ส.ป.ก. จัดที่ดินให้นายทุน ได้หรือไม่

    การได้รับที่ดินโดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่ คปก.กำหนด โดยขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้ได้รับการจัดที่ดินจะต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ และต้องอยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ คือ

       1. ต้องนำชี้แปลงที่ตนทำประโยชน์ให้ช่างรังวัดจัดทำแผนที่

       2. ต้องให้ถ้อยคำในการสอบสวนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาตามความเป็นจริง  หากให้ความเท็จอาจถูกดำเนินคดีอาญาได้

       3. ต้องได้รับการรับรองจากผู้ปกครองท้องที่ คือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันว่าเป็นเกษตรกรผู้ทำประโยชน์จริง

       4. ต้องผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคัดเลือกเกษตกรซึ่งมีนายอำเภอเป็นประธาน  มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ และผู้แทนเกษตรกรในอำเภอเป็นอนุกรรมการ

       5. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน


71. ส.ป.ก.มีวิธีการควบคุมสิทธิในที่ดินอย่างไรบ้าง

    ส.ป.ก.มีวิธีการควบคุมสิทธิในที่ดิน 2 ช่วง คือ

       1. ช่วงก่อนได้รับกรรมสิทธิในที่ดิน  ในช่วงนี้ เกษตรกรหรือผู้ประกอบกิจการเกี่ยวเนื่อง หรือผู้ได้รับอนุญาตในการประกอบการ ยังอยู่ในขั้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์สิทธิตามสัญญาเช่าและสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ได้รับสิทธิยังไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสิทธิ การโอนการตกทอดทางมรดกสิทธิและบทลงโทษ

       2. ช่วงหลังจากได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน  เกษตรกรที่ได้ชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าชดเชยครบถ้วนแล้ว จะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของตนเอง สามารถจัดการทำประโยชน์ในที่ดินได้ตามประสงค์ แต่จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายปฏิรูปที่ดินมาตรา 39 กล่าวคือ เกษตรกรจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรอาชีพเกษตรกรรม   ก็อาจขายที่ดินให้กับ ส.ป.ก. เพื่อจะได้นำไปจัดให้กับเกษตรกรรายใหม่ที่มีความต้องการที่ดินประกอบเกษตรกรรมต่อไป


70. ขั้นตอนการประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน มีอะไรบ้าง

    การที่ ส.ป.ก.จะดำเนินการความเห็นชอบด้านสิ่งแวดล้อมแล้วด้วยปฏิรูปที่ดิน  ในท้องที่ใดนั้น ต้องอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ขั้นแรกจะต้องมีการกำหนดเขตที่ดินท้องที่นั้นให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

       1. พิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ และเสนอ คปก. ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน  อนุมัติกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน

       2. จัดทำแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา

       3. จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาและบันทึกคำชี้แจงรายละเอียดประกอบร่าง

       4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

       5. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา โดยมีผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมพิจารณา ซึ่งจะต้องผ่าน

       6. เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

       7. ดำเนินการจ้างพิมพ์แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา

       8. นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา


69. ขนาดของที่ดินที่จัดให้เกษตรกร/สถาบันเกษตรกร คือเท่าไร

    ขนาดของที่ดินที่จัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด  มีดังนี้

       1. ไม่เกิน 50 ไร่ สำหรับเกษตรกรแต่ละครอบครัว  ใช้ประกอบเกษตรกรรม

       2. ไม่เกิน 100 ไร่ สำหรับเกษตรกรแต่ละครอบครัว  ใช้ประกอบเกษตรกรรมประเภทเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศ

       3. จำนวนตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร สำหรับสถาบันเกษตรกร

       4. ถ้าเป็นที่ดินของรัฐและเกษตรกรครอบครองอยู่แล้วก่อนเวลาที่คณะกรรมการกำหนด จัดให้ตามที่ครอบครองแต่ไม่เกิน 100 ไร่


68. ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

    ผู้ที่มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน มี 4 ประเภท ดังนี้คือ

    1. กรณีจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  ต้องจัดให้แก่เกษตรกรผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

         1.1  ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

         1.2  ผู้ประสงค์จะเป็นเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง มี 3 ประเภท คือ

                   1.2.1  บุคคลผู้ยากจน

                   1.2.2  ผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม

                   1.2.3  ผู้เป็นบุตรของเกษตรกร

          1.3  สถาบันเกษตรกร

    2. กรณีการจัดที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับ การปฏิรูปที่ดิน ได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคลผู้มีความสามารถตามกฎหมายและประกอบกิจการตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    3. กรณีการจัดที่ดินกิจการสาธารณูปโภค ได้แก่ ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ  หน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร

    4. กรณีการจัดที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดิน มาใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น ได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์


67. การจัดที่ดินมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

    การจัดที่ดินสามารถแบ่งออกได้ตามประเภทของกิจการแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

       1. การจัดที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งประกอบด้วย  กรณีการจัดให้เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร

       2. การจัดที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งลักษณะของกิจการเป็นไปตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

       3. การจัดที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นบริการสาธารณประโยชน์

       4. การจัดที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินมาใช้ประโยชน์  ตามกฎหมายอื่น ซึ่ง ส.ป.ก.เพียงให้ความยินยอมให้ใช้ที่ดิน ส่วนการอนุญาตให้ประกอบกิจการเป็นไปตามกฏหมายอื่น


66. ขั้นตอนการดำเนินงานปฏิรูปที่ดิน มีอะไรบ้าง

    ขั้นตอนการดำเนินงานปฏิรูปที่ดิน มี 4 ขั้นตอน คือ

       1. การนำที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

       2. การจัดที่ดิน

       3. การควบคุมสิทธิในที่ดิน

       4. การประสานงานพัฒนาและการจัดระบบการผลิตและการจำหน่าย


65. ส.ป.ก. กำหนดราคาที่ดินที่จะจัดซื้ออย่างไร

    ส.ป.ก. กำหนดราคาที่ดินขั้นสูงสุดที่ คปจ.มีอำนาจอนุมัติ  แยกตามรายภาค คือ

       ภาคเหนือ                            ไม่เกินไร่ละ    20,000 บาท

       ภาคกลาง                            ไม่เกินไร่ละ    23,000 บาท

       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ         ไม่เกินไร่ละ   10,000  บาท

       ภาคใต้                                ไม่เกินไร่ละ   30,000  บาท

    ถ้าราคาเกินจากนี้ อยู่ในอำนาจการอนุมัติของคณะอนุกรรมการโครงการและการเงิน  กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (อกก.คง.) และ คปก.


64. ที่ดินเอกชน ได้แก่ ที่ดิน ประเภทใดบ้าง

    ที่ดินของเอกชน  หมายถึง  ที่ดินที่ ส.ป.ก.จัดซื้อมาจากเจ้าของที่ดินที่ต้องการขายที่ดินให้ หรือมีที่ดินมากเกินกว่ากฎหมายปฏิรูปที่ดินกำหนด คือ               

       - เกินกว่า   50 ไร่  สำหรับที่ดินประกอบเกษตรกรรม

       - เกินกว่า 100 ไร่  สำหรับการประกอบเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่

       - เกินกว่า   20 ไร่  สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ประกอบเกษตรกรรม


63. ที่ดินของรัฐ ได้แก่ที่ดินประเภท ใดบ้าง

    ที่ของรัฐที่นำมาปฏิรูปที่ดิน ได้แก่

       - ที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรม   ไม่สามารถฟื้นฟูเป็นป่าได้ และที่ดินมีสภาพเหมาะสมกับการเกษตร และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน

       - ที่จำแนกฯ ออกจากป่าไม้ถาวร  ตามมติคณะรัฐมนตรีในกรณีที่เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ มีความเหมาะสมต่อการเกษตร และยังไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติจะพิจารณามอบให้ ส.ป.ก.นำมาปฏิรูปที่ดิน

       - ที่สาธารณประโยชน์  เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่ประชาชนเลิกใช้ร่วมกันหรือได้เปลี่ยนสภาพไป  ส.ป.ก.จะดำเนินการเมื่อสภาตำบลเห็นสมควรให้นำมา ปฏิรูปที่ดิน และผ่านความเห็นชอบจากอำเภอและจังหวัดแล้ว

       - ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน  ที่รกร้างว่างเปล่า หรือที่สงวนหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ เช่น ที่หวงห้ามทหารที่ราชพัสดุ ซึ่งกระทรวงการคลังดูแล เมื่อได้รับความยินยอมจากทางราชการไม่จำเป็นต้องใช้ที่ดินนั้นแล้ว ส.ป.ก.จะนำมาปฏิรูปที่ดิน


62. ประเภทของที่ดินที่นำมาปฏิรูปที่ดิน มีอะไรบ้าง

    ที่ดินที่นำมาปฏิรูปที่ดิน มี 2 ประเภท คือ ที่ของรัฐ และที่ของเอกชน ซึ่งรวมที่ดินบริจาคไว้ด้วย


61. เจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง หมายความว่าอย่างไร

    เจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง หมายความว่า  เจ้าของที่ดินผู้ซึ่งดำเนินการผลิตด้านเกษตรกรรม โดยเป็นผู้ลงทุนและได้ผลประโยชน์จากการผลิตนั้นโดยตรง และไม่เป็นผู้ให้เช่าที่ดินนั้น


60. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หมายความว่าอย่างไร

    การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หมายความว่า การเช่าหรือการเช่าช่วง โดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ซึ่งที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ว่าการเช่า หรือเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยได้รับค่าเช่าท่ดินและการทำนิติกรรมอื่นใดเพื่อเป็นการอำพรางการเช่าดังกล่าว


59. สถาบันเกษตรกร หมายความว่าอย่างไร

    สถาบันเกษตรกร หมายความว่า กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์


58. เกษตรกร หมายความว่าอย่างไร

    เกษตรกรรม หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงผู้ยากจน หรือ ผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือ ผู้เป็นบุตรของเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และปะสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาด้วย


57. เกษตรกรรม หมายความว่าอย่างไร

    เกษตรกรรม หมายความว่า การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา


56. ที่ดินของรัฐหมายความว่าอย่างไร

    ที่ดินของรัฐ หมายความว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ


55. เขตปฏิรูปที่ดินหมายความว่าอย่างไร

    เขตปฏิรูปที่ดิน  หมายความว่า เขตที่ดินที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีแผนที่แสดงเขตระบุท้องที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินด้วย และให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของ ตำบลหรืออำเภอเป็นหลักก็ได้ และมีข้อยกเว้นไม่ต้องประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน ในกรณีที่ ส.ป.ก.ได้ที่ดินมาเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยและมิได้อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดที่ดินให้กับเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร เสมือนว่าเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน


54. ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร

    ส.ป.ก.4-01 คือ หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ของ  รัฐไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน


53. ประโยชน์ของการปฏิรูปที่ดิน มีอะไรบ้าง

    ประโยชน์ของการปฏิรูปที่ดินคือ

       1. รักษาที่ดินเพื่อการเกษตรให้เป็นของเกษตรกรโดยแท้จริง ได้รับการคุ้มครองสิทธิและควบคุมไม่ให้มีการเปลี่ยนสิทธิการถือครองแก่ผู้อื่น ยกเว้นตกทอด ทางมรดกแก่ทายาทที่เป็นเกษตรกร หรือโอนให้แก่ ส.ป.ก. หรือสถาบันเกษตรกร

       2. เกษตรกรที่ถือครองทำกินอยู่เดิมในที่ของรัฐ จะได้รับการจัดให้ทำกินใน  ขนาดที่เหมาะสม และได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูป ขนาดที่เหมาะสม และได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูป ที่ดิน ซึ่งสามารถค้ำประกันเงินกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้

       3. ที่ดินได้รับการพัฒนา มีถนนหนทางแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร ทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่มีขึ้น

       4. กระจายระบบผูกขาดที่ดินจากผู้มีที่ดินมากเกินกฎหมายกำหนดและไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการเกษตรด้วยตนเองมาจัดให้เกษตรกรได้มีที่ดิน ทำกิน โดยรัฐจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกได้ชำระ ค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เพื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามกฎหมายและได้ใช้ที่ดินเพื่อ การเกษตรต่อไป


52. กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คืออะไร

    กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นองค์กรทางการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดินนอกเหนือจากงบประมาณที่ ส.ป.ก.ได้รับ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อจัดซื้อที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การให้สินเชื่อเกษตรกร


51. องค์กรเพื่อการปฏิรูปที่ดินมีอะไรบ้าง

    องค์กรเพื่อการปฏิรูปที่ดิน ประกอบด้วย

       1. คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ

    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงาน

    ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  มีหน้าที่กำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆรวมทั้งจัดหาที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดิน

       2. คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.)  มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน  มีหน้าที่กำหนดมาตรการวิธีปฏิบัติงานของ ส.ป.ก.จังหวัด และควบคุมติดตาม การปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการที่ คปก.อนุมัติ


50. วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดิน คืออะไร

    จากพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

    การปฏิรูปที่ดิน มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

       1. เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทำให้เกษตรกรผู้เช่าที่ดิน ผู้ไร้ที่ดินทำกิน และผู้ประสงค์จะเป็นเกษตรกร ได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินหรือมีที่ดินสำหรับทำการเกษตรเป็นของตนเองอย่างถาวรต่อไป

       2. เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม และใช้ทรัพยากรที่ดินให้มีประสิทธิภาพด้วยการปรับปรุงการผลิต ให้บริการด้านสินเชื่อและการตลาดให้เกษตรกร

       3. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันเกษตรกร พัฒนาอาชีพนอกการเกษตร บริการสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มสวัสดิการและเสริมสร้างความเจริญในท้องถิ่นทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


49. ศูนย์ฯ จะมีแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลที่สามารถนำมาใช้เป็นแผนในการให้บริการความรู้แหล่งข้อมูลพื้นฐานเกษตร การพยากรณ์และเตือนภย คณะกรรมการศูนย์เกิดกระบวนการเรียนรู้วิธีบริหารจัดการงาน เกิดเครือข่าเกษตรกร ตำบลมีฐานข้อมูล และแผนพัฒนาเกษตรที่สอดคล้องกับศักย

    พันธกิจของ ส.ป.ก. มี 4 ประการ คือ

       1. การจัดที่ดินและที่อยู่อาศัยให้เกษตรกร

       2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอาชีพ

       3. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม

       4. การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน


48. คนในชุมชนจะได้อะไรจากการมีโครงการ

    ศูนย์ฯ จะมีแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลที่สามารถนำมาใช้เป็นแผนในการให้บริการความรู้แหล่งข้อมูลพื้นฐานเกษตร การพยากรณ์และเตือนภย คณะกรรมการศูนย์เกิดกระบวนการเรียนรู้วิธีบริหารจัดการงาน เกิดเครือข่าเกษตรกร ตำบลมีฐานข้อมูล และแผนพัฒนาเกษตรที่สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของชุมชน และชุมชนสามารถบริหารจัดการตามแผนพัฒนาด้วยตนเอง


47. โครงการนี้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง

    โครงการนี้ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ

       1. การอุดหนุนแผนชุมชนที่ได้รับการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรตำบลแล้ว

       2. การจัดเวทีชุมชนเพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาการเกษตรของตำบล

       3. การอบรมผู้ชุมชนเกษตรกรเพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ชุมชนในการสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชน

       4. การประชุมสัมมนาคณะกรรมการการบริหารศูนย์ฯเพื่อกำหนดแผนพัฒนาการเกษตรและบริหารจัดการศูนย์ฯ


46. โครงการนี้ดำเนินการในพื้นที่ใดบ้าง

    ดำเนินการในศูนย์และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรกรประจำตำบล 7,125 ตำบล ทั่วประเทศ


45. สมาชิกสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกร จะเข้าร่วมโครงการลดภาระ หนี้ฯ หรือปรับโครงสร้างหนี้หรือฟื้นฟูอาชีพได้ ต้องมีคุณสมบัติอะไรหรือไม่

    ต้องมีคุณสมบัติ ตามที่กำหนด


44. การฟื้นฟู หมายถึงอะไร

    การฟื้นฟูอาชีพ หมายถึง การให้สมาชิก (ลูกหนี้ผิดปกติ) กู้เงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (ก.พ.ส.) เพื่อฟื้นฟูอาชีพเดิมประกอบอาชีพเสริม ส่งเสริมอาชีพใหม่


43. การปรับโครงสร้างหนี้ หมายถึงอะไร

    เป็นการจัดระเบียบหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ (ลูกหนี้ผิดปกติ)ใหม่ดังนี้

       1. หนี้ค้างนานยืดงวดชำระไม่เกิน 15 ปี

       2. ดอกเบี้ยและค่าปรับค้างเปลี่ยนเป็นเงินต้น ยืดงวดชำระไม่เกิน 15 ปี ดอกเบี้ย 0%

       3. เสนอแผนการผลิตเพื่อฟื้นฟูอาชีพ


42. สมาชิกสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ปกติ (ไม่สามารถชำระหนี้ได้) เมื่อได้เข้าร่วมโครงการแล้วจะได้รับการช่วยเหลืออะไรบ้าง

    ได้รับการการช่วยเหลือโครงการปรับโครงสร้างหนี้ และฟื้นฟูอาชีพ


41. สมาชิกสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ปกติ (สามารถชำระหนี้ได้) เมื่อได้เข้าร่วมโครงการแล้วจะได้ลดดอกเบี้ย 3 % ตอนไหน

    จะได้ดอกเบี้ย 3 % ทันที เมื่อส่งชำระหนี้


40. เกษตรกรทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรจะเข้าร่วมโครงการได้หรือไม่

    ไม่ได้ เพราะโครงการนี้ ต้องการช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกร


39. เมื่อเข้าร่วมโครงการลดภาระหนี้แล้ว จะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง

    1. ได้รับการลดภาระหนี้โครงการลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 3 ต่อปีเป็นเวลา 3 ปี    และเป็นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544 ถึง 30 กันยายน 2547

    2. เกษตรกรจะได้ใช้โอกาสการลดภาระหนี้ไปฟื้นฟูการประอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้สามารถนำรายได้ส่งชำระหนี้

    3. เพิ่มเงินออมให้ครอบครัว เพื่อนำไปขยายการลงทุนการประกอบอาชีพ


38. บุคคลประเภทใดที่จะได้ลดภาระหนี้

    ต้องเป็นสมาชิกสหกรณืภาคเกษตรหรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้คงเหลือกับสถาบันเกษตรกรนั้นๆ ไม่เกิน 100,000 บาท โดยใช้มูลหนี้ที่สมาชิกเคยกู้ยืมจากสถาบันเกษตรกรในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาและต้องไม่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)


37. วัตถุประสงค์ของโครงการลดหนี้ฯ เป็นอย่างไร

    เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกสถาบันเกษตรกรทที่มีหนี้สินไม่เกิน 100,000 บาท ใช้โอกาสที่สุดภาระหนี้ไปปรับปรุงประสิทธิ์ภาพการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้และเพิ่มความสามารถในการส่งชำระหนี้ โดยได้รับการฟื้นฟูอาชีพจากโครงการฯ


36. โครงการลดภาระหนี้ฯเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่และจะสิ้นสุดเมื่อใด

    โครงการลดภาระหนี้ฯ เริ่มมาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544 และจะสิ้นสุด 30 ตุลาคม 2547 รวม 3 ปี


35. หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของ ธกส.

    เมื่อประกาศรายชื่อเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ สกย. จะจัดปฐมนิเทศชี้แจง อบรมการปลูกและรักษาต้นยาง และมอบหนังสือประจำตัว เพื่อใช้เป็นหลักซานในการกู้เงิน โดยรัฐให้รับความช่วยเหลือรายละไม่เกิน 10 ไร่ และกำหนดเวลาจ่ายเงินกู้ 6 ปี ตามข้อกำหนดของ สกย.


34. การสนับสนุนจากภาครัฐ

    เกษตรกรจะได้รับต้นพันธ์ยางจำนวน 90 ต้นต่อไร่ และสินเชื่อจาก ธกส. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต้นยาง ในวงเงินกู้ไม่เกิน 5,360 บาท/ไร่


33. หลักเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกร

    เกษตรกรยื่นสมัคร และตรวจสอบเอกสารแสดงรายการครอบครองที่ดินที่ทางราชการออกให้ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยาง ในพื้นที่ 30 ตร.กม. ต้องมีพื้นที่ปลูกยางไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่


32. ความเป็นมาของโครงการ

    มีมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงฯ ระยะดำเนินการ ปี 2547-2549 และมีพื้นที่เป้าหมาย 1,000,000 ไร่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ


31. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือหน่วยงานใด

    สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)


30. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ แต่อาจจะไม่ขอกู้ได้หรือไม่

    ได้ (เมื่อเกษตรกรขึ้นทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้แล้ว ในระยะเวล่าอไปเมื่อเกษตรกรต้องการจะกู้เงิน ก็สามารถยื่นกู้ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลารอการดำเนินการงานบางขั้นตอนของเจ้าหน้าที่


29. หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ มีอะไรบ้าง

    1. ความน่าเชื่อถือในตัวเกษตรกร

    2. ความเป็นไปได้ของโครงการและแผนการผลิต

    3. ที่ดิน

    4. สินทรัพย์ติดที่ดิน


28. ขั้นตอนการเข้าโครงการฯและยื่นกู้ของเกษตรกร

    1. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร

    2. เกษตรกรเข้าอบรมพัฒนาอาชีพ (สำหรับเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนอาชีพ)

    3.เกษตรกรยื่นกู้ ธ.ก.ส. (หลังจากนั้น ธ.ก.ส. ตรวจสอบ ประเมินเพื่ออนุมัติ อนุมัติสินเชื่อ


27. ประเภทของเอกสิทธิ์ ที่สามารถนำมาแปลงสินทรัพย์มีอไรบ้าง

    เอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. มี 4 ประเภท ได้แก่

       1.หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือ ส.ป.ก. 4-01

       2. สัญญาเช่า

       3. สัญญาซื้อ

       4. กรรมสิทธิ์อื่นๆ เช่น โฉนด นส. 3ก (เป็นกรรมสิทธิ์ที่ยังติดเงื่อนไขการโอนสิทธ์ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม)


26. สถาบันการเงินที่ให้กู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯนี้

    ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติ


25. เป้าหมายเกษตรกรที่จะได้รับอนุมัติเงินกู้เท่าไร

    800,000 ราย วงเงินกู้ เป้าหมาย 80,000 ล้านบาท


24. ดำเนินการจังหวัดใดบ้าง

    ดำเนินการในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน 69 จังหวัด ได้แก่  กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระแก้ว สระบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ชลบุรี ตรด ระยอง กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระยอง สงขลา สตูล สุราษฎรธานี (จังหวัดที่ไม่ได้ดำเนินการ ได้แก่ กรุงเทพ นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปรการ อ่างทอง สิงห์บุรี)


23. ดำเนินการตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่

    ปี 2547-2551


22. โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในเขตปฏิรูปที่ดิน (พื้นที 69 จังหวัด)

    ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่

       กำแพงเพชร,เชียงราย,เชียงใหม่,ตาก,นครสวรรค์,น่าน,พะเยา,พิจิตร,พิษณุโลก, เพชรบูรณ์,แพร่,แม่ฮ่องสอน,ลำปาง,ลำพูน,สุโขทัย,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี

    ภาคกลาง 19 จังหวัด ได้แก่

       กาญจนบุรี,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชลบุรี,ชัยนาท,ตราด,นครนายก,นครปฐม,  ปทุมธานี,ประจวบคีรีขันธ์,ปราจีนบุรี,พระนครศรีอยุธยา,เพชรบุรี,ระยอง,ราชบุรี, ลพบุรี,สระแก้ว,สระบุรี,สุพรรณบุรี

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่

       กาฬสินธุ์,ขอนแก่น,ชัยภูมิ,นครพนม,นครราชสีมา,บุรีรัมย์,มหาสารคาม,มุกดาหารยโสธร,ร้อยเอ็ด,เลย,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สุรินทร์,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อุดรธานี,อุบลราชธานี,อำนาจเจริญ

    ภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่

       กระบี่,ชุมพร,ตรัง,นครศรีธรรมราช,นราธิวาส,ปัตตานี,พังงา,พัทลุง,ภูเก็ต,ยะลา, ระนอง,สงขลา,สตูล,สุราษฎร์ธานี


21. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือหน่วยงานใด

    สำนักงานการปฏิรูปที่เพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)


20. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ แต่อาจจไม่ขอกู้ได้หรือไม่

    ได้ (เมื่อเกษตรกรขึ้นทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้ ในระยะเวลาต่อไปเมื่อเกษตรกรต้องการจะกู้เงิน ก็สามารถยื่นกู้ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลารอการดำเนินงานบางขั้นตอนของเจ้าหน้าที่


19. หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ มีอะไรบ้าง

    1. ความน่าเชื่อถือในตัวเกษตรกร

    2  ความเป็นไปได้ของโครงการและแผนการผลิต

    3. ที่ดิน

    4. สินทรัพย์ติดที่ดิน


18. ขั้นตอนการเข้าโครงการฯและยื่นกู้ของเกษตรกร

    1. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร

    2. เกษตรกรเข้าอบรมพฒนาอาชีพ (สำหรับเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนอาชีพ)

    3. เกษตรกรยื่นกู้ ธ.ก.ส. (หลังจากรฃนั้น ธ.ก.ส. ตรวจสอบ ประเมินเพื่ออนุมัติ อนุมัติสินเชื่อ)


17. ประเภทของเอกสิทธิ์ ที่สามารถนำมาแปลงสินทรัพย์มีอไรบ้าง

    เอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. มี 4 ประเภท ได้แก่

       1.หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือ ส.ป.ก. 4-01

       2. สัญญาเช่า

       3. สัญญาซื้อ

       4. กรรมสิทธิ์อื่นๆ เช่น โฉนด นส. 3ก (เป็นกรรมสิทธิ์ที่ยังติดเงื่อนไขการโอนสิทธ์ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม)


16. สถาบันการเงินที่ให้กู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯนี้

    ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติ


15. ขั้นตอนการดำเนินงานหรือขั้นตอนการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของพื้นที่ นำร่องต่างจากพื้นที่ปกติหรือไม่

    เหมือนกัน (เพียงแต่ในพื้นที่นำร่องจะเริ่มดำเนินการก่อนและสิ้นสุดโครงการก่อน)


14. จังหวัดที่ดำเนินการในพื้นที่นำร่องแล้ว จะดำเนินการในพื้นที่ปกติ (69 จังหวัด) ด้วยหรือไม่

    จังหวัดที่ดำเนินการในพื้นที่นำร่องแล้ว จะดำเนินการในพื้นที่ปกติด้วย


13. เป้าหมายเกษตรกรที่จะได้รับอนุมัติเงินกู้เท่าไร

    12,599 ราย


12. ดำเนินการในจังหวัดใดบ้าง

    ดำเนินการในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน 8 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย ราชบุรี ระยอง มหาสารคาม สกลนคร ชุมพร และ นครศรีธรรมราช


11. ดำเนินการตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่

    ปี 2547-2551


10. โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในเขตปฏิรูปที่ดิน(พื้นที่นำร่อง 8 จังหวัด)

    ดำเนินการในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน 8 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย ราชบุรี ระยอง มหาสารคาม สกลนคร ชุมพร และ นครศรีธรรมราช


9. ถ้าชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการงานโครงการนี้จะเกิดปัญหาอะไรหรือไม่

    จะไม่สามารถแบ่งแยกพื้นที่ป่ากับพื้นที่เกษตรให้ชัดเจน หน่วยงานต่างๆ ที่จะเข้ามาส่งเสริม และการพัฒนาในด้านต่างๆก็จะไม่สามารถเข้ามาดำเนินการได้เนื่องจากไม่แน่ใจขอบเขตที่แน่นอน ซึ่งโครงการนี้เมื่อมีการปักเสาแบ่งแยกพื้นที่ป่ากับพื้นที่เกษตรชัดเจนแล้ว ทางกรมพัฒนาที่ดินก็จะเข้ามาทำระบบฃงประทานและเส้นทางลำเลียงให้เป็นต้น


8. ในอนาคตสามารถนำที่ดินที่ สปก.สำรวจไปแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้หรือไม่

    ในอนาคตถ้าหากรัฐบาลมีนโยบายให้เกษตรในพื้นที่โครงการหลวงสามารถนำที่ดินไปแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้ เราก็สามารถนำแปลงรวมที่ สปก.สำรวจให้นี้ไปแยกเป็นแปลงเดี่ยวของที่ละคนได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปสำรวจใหม่ เนื่องจากการสำรวจในครั้งนี้ถือเป็นมาตรฐานได้ในเรื่องของความถูกต้องและแม่นยำ


7. เมื่อร่วมโครงการแล้วชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง

    ชาวบ้านได้สิทธิในการทำกิน ทำการเกษตรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม      ไม่ต้องกังวลใจว่าจะถูกจับข้อหาบุกรุกป่า เพราะว่าโครงการนี้เป็นการแบ่งแยกพื้นที่ทำกินชัดเจน และหน่วยราชการอื่นๆ เช่น กรมพัฒนาที่ดิน หรือ โครงการหลวง ก็จะสามารถเข้ามาส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างเติมที่และชาวบ้านยังได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วย


6. จะแจกเอกสารสิทธิ์ให้หรือเปล่า

    ในพื้นที่โครงการหลวงซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน หรือ เขตอุทยาน ตามกฎหมาย     ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ใดๆ ได้


5. ชื่อเจ้าของแปลงที่ดินจะใช้ชื่อลูกได้หรือไม่เมื่อ สปก.มาทำการรังวัด

    ได้ จะเป็นชื่อของใครก็ได้ เช่นของพ่อ ของแม่ ของลูกๆ เพียงแต่ต้องตกลงให้ได้ว่าจะใช่ชื่อใครเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นๆ เพราะมีกรณีที่ว่าให้ภรรยาไปนำชี้ที่ดินและช่างที่ทำการสำรวจก็ถามว่าที่ดินของใคร ภรรยาก็ตอบว่าเป็นของตน พอถึงการประชุมใหญ่ สามีมาประชุมปรากฎว่าไม่มีชื่อของตนเองคิดว่าที่ตนเองหายไป แต่ที่จริงแล้วกลับเป็นชื่อของภรรยา


4. มีชื่อเข้าร่วมโครงการ แต่ยังไม่ได้รับปัจจัยการผลิต

    การสนับสนุนของรัฐในปี 2545 และ 2546 จะช่วยเหลือเป็นเงินสด 3,000 บาท โดยเกษตรกรหาซื้อปัจจัยการผลิตที่ต้องการแนะนำบิลมาให้ส่วนราชการทำเบิก ซึ่งหากท่านไม่นำบิลมาเบิกก็จะไม่ได้รับเงินค่าปัจจัย


3. การสนับสนุนปัจจัยการผลิตยังคงมีต่อเนื่องในปีต่อๆ ไปหรือไม่

    การสนับสนุนปัจจัยการผลิตจะมีในปีแรกปีเดียว เมื่อรับปัจจัยการผลิตและดำเนินกิจกรรมดังกล่าว และมีรายได้จากผลผลิต นำรายได้ไปซื้อปัจจัยการผลิตมาดำเนินการต่อเนื่อง


2. การชำระหนึ้คืน ธกส. หลังสิ้นสุดโครงการ

    เมื่อสิ้นสุดโครงการ เกษตรกรจะต้องชำระหนี้สินคืนให้กับ ธกส. อาจเป็นงวด หรือชำระคืนทั้งหมด ตามข้อตกลงกับ ธกส.


1. โครงการพักชำระหนี้จะมีต่อหรือไม่

    ได้มีการจดทะเบียนคนยากจน เพื่อกำหนดเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประเทศ


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2008, 12:12:18 AM »

อำนาจ"กวดขันอบต.ออกใบภบท.5

    "อำนาจ"กวดขันอบต.ออกใบภบท.5



    นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า สาเหตุการบุกรุกที่ดินของรัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการซื้อขายที่ดินกันโดยใช้เอกสารใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.5) ที่ออกโดยองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แต่ก่อนคิดว่าใบ ภบท.5 ไม่มีฤทธิ์และเป็นการออกโดยสุจริต แต่ช่วงหลังใบ ภบท.5 ทำหน้าที่เหมือนเอกสารสิทธิการครอบครอง (ส.ค.1) หรือที่มักเรียกกันว่า ส.ค.บิน คือ บินไปเรื่อย ซึ่งเอกสารทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน ทำให้มีผู้ตกเป็นเหยื่อการซื้อขายที่ดิน ดังนั้น ตนจะกำชับไปยัง อบต.ทุกแห่งว่า การออก ภบท.5 จะต้องครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ โดยให้กรมที่ดินกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน

    "ไม่ใช่ว่าใครนึกจะชี้ที่ดินแล้วให้ทาง อบต.ออกใบ ภบท.5 ไปเรื่อยเปื่อย เมื่อ อบต.ออกให้ส่วนหนึ่งก็นำไปซื้อขายกัน จึงเป็นสาเหตุของการบุกรุกที่ดิน แท้ที่จริงแล้ว ภบท.5 ไม่ใช่ใบที่ได้รับการคุ้มครอง เช่น หากที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ผู้บุกรุกก็จะต้องถูกดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ฉะนั้นพื้นที่ที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตสงวนหวงห้ามทั้งหมด ทาง อบต.ต้องตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนพิจารณาออก ภบท.5 รวมทั้งที่ดินที่ไม่ได้มีการเข้าทำประโยชน์มาก่อนก็ไม่สามารถนำมาออก ภบท.ได้เช่นกัน" นายอำนาจกล่าว
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2008, 12:15:17 AM »

อยากทราบว่า ภบท.5 ในเอกสารที่ดินคืออะไร และสามารถไปขอเป็นใบจองคือ น.ส.2 หรือ น.ส.3 ได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำอย่างไร

ตอบ : ภบท.5 คือภาษีบำรุงท้องที่ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ซึ่งในมาตรา 7 ให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใด ทำหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีนั้นจากราคาปานกลางของที่ดิน โดยราคากลางของที่ดินจะมีการประเมินทุกๆ 4 ปี ซึ่งจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่ใด การตีราคากลางของที่ดินจะตีเป็นหน่วยตำบล



ที่ดินที่มี ภบท.5 จะออกใบจองคือ น.ส.2 หรือออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์คือ น.ส.3 ได้หรือไม่นั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 1 ระบุไว้ว่า ใบจอง หมายความว่า หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินเป็นการชั่วคราว มี 2 แบบ ได้แก่ 1.น.ส.2 เป็นใบจองสำหรับที่ดินที่ตั้งอยู่ในท้องที่ ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินของหัวหน้าเขต นายอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้ากิ่งประจำอำเภอ และ 2.น.ส.3 ก. เป็นใบจองที่ดินที่ตั้งอยู่ในท้องที่อื่น มิใช่ท้องที่ตามข้อ 1

การออกใบจองเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหากินเลี้ยงชีพแก่ราษฎรในที่ดิน มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ 2 กรณี หนึ่งคือรัฐจัดที่ดินผืนใหญ่เนื้อที่ตั้งแต่ 1,000 ไร่ขึ้นไป ซึ่งเป็นอำนาจของอธิบดีกรมที่ดินในการนำที่ดินของรัฐ ซึ่งไม่มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครอง และเป็นที่ดินนอกจากส่วนราชการหรือองค์การของรัฐนำไปจัดตามกฎหมายอื่นแล้วมาวัดให้ราษฎร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนด ตามที่คณะกรรมการที่ดินแห่งชาติกำหนดไว้

อีกกรณีหนึ่งคือราษฎรจับจองที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อย เป็นที่หัวไร่ปลายนา มีเนื้อที่ไม่เกิน 1,000 ไร่ หรือเป็นที่ดินซึ่งคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติยังไม่ได้ประกาศเขตสำรวจที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 24

ทั้งสองกรณีเมื่อราษฎรคนใดได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินแล้วให้ออกใบจองให้ไว้เป็นหลักฐานก่อน ต่อไปเมื่อปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินได้ทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดโดยครบถ้วนแล้ว ก็ให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน (โดยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 หรือโฉนดที่ดิน น.ส.4 ให้โดยเร็วต่อไป)

สำหรับผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวลที่ดินใช้บังคับหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2497 และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ จะขอออก น.ส.3 ได้กรณีเดียวคือ ออกทั้งตำบล คือรัฐประกาศออก น.ส.3 ในพื้นที่นั้น

--------------------------------------------
บุคคลที่มีหลักฐาน ภบท. 5 ก็สามารถออกโฉนดที่ดินได้ ถ้าที่ดินแปลงนั้นไม่อยู่ในเขตสงวนหวงห้ามที่สาธารณประโยชน์ เขตป่าไม้ฯ เขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ที่เขา ที่ภูเขา และครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ก่อน 1 ธันวาคม 2497) ก็สามารถออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายได้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด / สาขา / ที่ดินนั้นตั้งอยู่ และออกโฉนดโดยการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน
ปัจจุบันกรมที่ดินได้มีโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของรัฐบาล และจังหวัดกาญจนบุรี ก็มีศูนย์เดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน การออกโฉนดที่ดิน โดยวิธีนี้เจ้าของที่ดินผู้ครอบครองภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินก็สามารถนำเดินสำรวจได้ ก่อนที่ศูนย์เดินสำรวจฯ จะเข้าไปดำเนินการต้องมีการประกาศให้ประชาชนในท้องที่นั้น ทราบล่วงหน้า 30 วัน และมีการประสานกำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, เพื่อนัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรในท้องที่ที่จะเดินสำรวจ สำหรับจังหวัดกาญจนบุรี ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินทั้งอำเภอ ในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี, ด่านมะขามเตี้ย, ไทรโยค, หนองปรือ, บ่อพลอย และบางส่วนในท้องที่อำเภอท่าม่วง, พนมทวน, ศรีสวัสดิ์, ทองผาภูมิ, สังขละบุรี, เลาขวัญ และห้วยกระเจา ดังนั้นหากที่ดินของท่านซึ่งมีเพียงหลักฐาน ภบท. 5 อยู่ในท้องที่ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินของอำเภอดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเดิมเป็น ส.ค. 1, ใบจอง, น.ส. 3, น.ส. 3 ก.
เครดิต:: กลุ่มงานวิชาการที่ดิน
------------------------------------------
บันทึกการเข้า
kom147
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 189

ไม่มีใครแก่เกินเรียนหรอกครับ

sringampong@hotmail.com
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2008, 11:20:24 AM »

คือผมเพิ่งไปซื้อที่ดิน ที่เป็น ภบท 5 มา
ที่เดิมเขาทำมัน อยู่
และถ้าจะสร้างบ้านพัก แต่ไม่ได้ทำมันสำปะหลังแบบชาวบ้านเขาหรอก
แต่เราจะปลูกต้นไม้ ผสมผสาน ไร่นาสวนผสม
ขุดบ่อเลี้ยงปลา  จะผิดกติกา แล้วเป็นเหตุที่เขาจะยึดคืนหรือไม่
มีโอกาสเสี่ยงใหมที่รัฐจะยึดคืนในภายหลัง
แต่ผมได้มีการพูดคุยกับ คนในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ อบต แล้ว
เขาว่าไม่ต้องกังวลไป เขาตอบอย่างมั่นใจว่า เป็นไปไม่ได้ที่รัฐจะยึดคืน
แต่ผม.......ไม่มั่นใจ .........ข้าราชการไทย..รัฐบาล ไทย....บอกตรง
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2017, 07:40:36 AM »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> www.pohchae.com
.

.     

ครุฑแดง คือ โฉนดที่ดิน (น.ส.4) ซึ่งเป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ชัดเจนที่สุด สามารถซื้อขายได้ โอนได้ถูกต้องตามกฎหมาย โฉนดที่ดินที่มีครอบครองกันเกือบทั้งหมดก็เป็นครุฑแดงตัวนี้ โดยเฉพาะที่ดินที่อยู่ในตัวเมือง

ส่วนโฉนดหลังแดงจะเป็นเอกสาร น.ส.4 ซึ่งจะระบุด้านหลังโฉนดว่าห้ามโอนภายในระยะเวลา 5-10 ปี

   

ครุฑเขียว คือ "หนังสือรับรองการทำประโยชน์ " ประเภท น.ส.3 ก. ย้ำว่า น.ส.3 ก. ซึ่งออกในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ เป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าเราได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ มีการระวางรูปถ่ายทางอากาศเป็นหลักแหล่ง คุณสมบัติใกล้เคียงกับโฉนด ซื้อขาย จำนองธนาคารได้ และสามารถไปยื่นเรื่องเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินได้ในอนาคต

 

ครุฑดำ คือ "หนังสือรับรองการทำประโยชน์" ประเภท น.ส.3 และ น.ส.3 ข. จำง่าย ๆ ละกันว่า 2 อันนี้ ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศเป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือรับรองจะแสดงถึงสิทธิ์การครอบครองของเจ้าของ แต่ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศที่แน่ชัด จะซื้อขายต้องรอประกาศจากราชการ 30 วัน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!