เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์ (คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21" » ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้ว » ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้วโทรทัศน์ ++++++ » หัวข้อ: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์ (คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์ (คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)  (อ่าน 3476 ครั้ง)
TRE
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: มกราคม 21, 2007, 12:19:28 PM »

(คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม) http://www.leksound.net/forum/index.php?topic=7492.0

HS2MZQ   เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« เมื่อ: 07-09-2005, 10:41:07 »     
เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
 1 ตำเหน่งขาสัญญาณ VGA ของจอมอนิเตอร์
 
 Pin Signal Pin Signal
1 Red                    9 +5Vdc
2 Green                 10 GND H -Sync
3 Blue                   11 GND H -Sync
4 GND                   12 SDA
5 GND                   13 H -Sync
6 GND Red             14 V -Sync (VCLK)
7 GND Green          15 Data Clock(SCL)
8 GND Blue     
 
2 การทดสอบ Flyback
  ส่วนประกอบพื้นฐานของ  Flyback 



ปัญหาส่วนมากที่เกิดขึ้นกับ Flyback
 ไม่มีภาพ ไม่มีไฟสูง 
 หลอด LED ไฟ power กระพริบ
 แรงดัน B+ ตก
 ทรานซิสเตอร์ Horizontal output ร้อนจัดอย่างรวดเร็ว และอาจจะเสียได้
 บางครั้งจะมีอะไหล่บางตัวแตก ระเบิด
 
วิธีการตรวจสอบ C 1 ภายในตัว Flyback โดยใช้มัลติมิเตอร์
 ตั้งมัลติมิเตอร์ไปที่ย่าน RX10K
 นำมัลติมิเตอร์ไปวัดที่ขา D และ E (จากรูป)
 จุด D คือขา Anode จะมีสายสีแดงต่อไปยังสะดือหลอดภาพ
 จุด E คือจุดกราวด์ของวงจร
 ถ้าพบว่ามีค่าความต้านทานน้อยแสดงว่า C1 ลัดวงจร
 ถ้าเข็มมัลติมิเตอร์ไม่กระดิกแสดงว่าปกติ
 เพื่อความมั่นใจว่า C1 ไม่ขาดให้วัดด้วยเครื่องวัดค่า C ด้วย ถ้าอ่านค่าได้อยู่ในช่วง 1.5 nF – 3 nF (บางครั้งอาจมากกว่านี้เล็กน้อย)
 --------------------------------------------------------------------------------
 Pin%20Connector.gif (5.6 KB, 306x178 - ดู 2055 ครั้ง.)

 Flyback.gif (4.51 KB, 586x261 - ดู 2042 ครั้ง.)
 
 
HS2MZQ   Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #2 เมื่อ: 07-09-2005, 10:54:00 »     
--------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณครับที่ให้กำลังใจ    ติดตามกันต่อแล้วกันครับ

3จอมอนิเตอร์ LG รุ่น CB575c 
  อาการ ภาคจ่ายไฟไม่ทำงาน ฟิวส์ปกติ ไฟ 300 โวลต์ค้าง
 --------------------------------------------------------------------------------

 
HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #3 เมื่อ: 07-09-2005, 11:00:04 »     
--------------------------------------------------------------------------------
ผลการซ่อม
พบ R906 (470K) ขาด ทำให้ SCR Q903 ไม่ทำงาน แรงดันไฟจึงไม่สามารถไปเลี้ยง IC 901 ได้
 

ลักษณะตำแหน่งขาของ Q903 ซึ่งเป็น SCR ขนาด 0.8 A เบอร์ MCR100
 

--------------------------------------------------------------------------------

HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #4 เมื่อ: 07-09-2005, 11:05:05 »     
--------------------------------------------------------------------------------
4จอมอนิเตอร์ MAG รุ่น G556BXM
  อาการ จอสีน้ำเงินเข้ม ไม่มีภาพหรือตัวอักษร
--------------------------------------------------------------------------------

 MAG_G556.gif (9.79 KB, 573x523 - ดู 1994 ครั้ง.)

 TDA9535.gif (3.19 KB, 357x230 - ดู 1992 ครั้ง.)
 
HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #5 เมื่อ: 07-09-2005, 11:07:34 »     
--------------------------------------------------------------------------------
ผลการซ่อม
พบ R624 (0.5 Ohm) ขาดเนื่องมาจาก IC TDA9535 ลัดวงจร (ชุดไฟ 100 โวลต์) เปลี่ยน IC TDA9535 และ R624
 
 
HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #6 เมื่อ: 07-09-2005, 11:11:45 »     
--------------------------------------------------------------------------------
5 จอมอนิเตอร์ LG รุ่น CB553H
  อาการ จอมืด มีแรงดันที่ G 2 ปกติ 
 

--------------------------------------------------------------------------------

HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #7 เมื่อ: 07-09-2005, 11:14:12 »     
--------------------------------------------------------------------------------
ผลการซ่อม
พบ Q799 (KSP92) ขาด ทำให้ไม่สามารถที่จะปรับเพิ่มแสงหน้าจอได้

TIP   

Q 799 เบอร์ KPS92 สามารถแทนได้ด้วย MPSA92 และเป็นเบอร์ที่ใช้คู่กับ KPS42 หรือ MPSA42
 

--------------------------------------------------------------------------------

HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #8 เมื่อ: 07-09-2005, 11:17:45 »     
--------------------------------------------------------------------------------
6
ไอซีภาคจ่ายไฟยอดนิยมเบอร์ KA3842 (fixed frequency current-mode PWM controller)
  รูปและตำแหน่งขาของไอซี
 
--------------------------------------------------------------------------------

 
HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #9 เมื่อ: 07-09-2005, 11:21:22 »     
--------------------------------------------------------------------------------
การหยุดทำงาน (Shutdown) ของไอซีสามารถเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ

   แรงดันที่ขา 3 (I sense)  มากกว่า 1 โวลต์

 

--------------------------------------------------------------------------------

 KA3842_1.gif (3.62 KB, 355x228 - ดู 1955 ครั้ง.)
 

HS2MZQ   Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #10 เมื่อ: 07-09-2005, 11:23:20 »     
--------------------------------------------------------------------------------
เมื่อแรงดันที่ขา 1 ( Comp) ถูกดึงลงกราวด์
 

--------------------------------------------------------------------------------

 KA3842_2.gif (1.81 KB, 331x206 - ดู 1944 ครั้ง.)
 

HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #11 เมื่อ: 07-09-2005, 11:24:59 »     
--------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างวงจรที่นำไอซีเบอร์นี้มาใช้งาน (LG CB 575C)


HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #12 เมื่อ: 07-09-2005, 11:26:22 »     
--------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนการตรวจเช็คไอซี ตามวงจรตัวอย่าง
วัดแรงดัน Vcc ที่ขา 7 ดู (แรงดันสูงสุดของไอซีคือ 30 โวลต์  แต่ที่ใช้อยู่โดยทั่วไปก็ประมาณ 12-15 โวลต์ )

ถ้าไม่มีแรงดันให้ลอยขา 7 แล้ววัดแรงดันที่ขั้วบวกของ C913 ถ้ามีก็แสดงว่าไอซีตัวนี้ลัดวงจรจึงทำให้แรงดันตก แต่ถ้ายังไม่มีใช้โวลต์มิเตอร์ไล่จาก C913 ไปจนถึงแรงดันไฟหลักเลย ที่พบบ่อย R906 ขาดทำให้ Q903 ไม่ทำงานไฟจึงไปไม่ถึงไอซี

แต่ถ้าวัดแล้วมีไฟ Vcc เป็นปกติ ให้ลองตรวจอุปกรณ์ใกล้เคียงอย่างคร่าว ๆ ก่อนถ้าไม่เจออะไรเสียก็ลองเปลี่ยนไอซีดู (ที่บอกว่าให้ตรวจสอบแบบคร่าว ๆ ก็เพราะว่าการซ่อมที่ดี ต้องเน้นความรวดเร็วด้วย )
 
 
 
HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #13 เมื่อ: 07-09-2005, 11:35:58 »     
--------------------------------------------------------------------------------
7 ศึกษาการทำงานของวงจรจากวงจรตัวอย่าง

    LG      CHASSIS NO. : CA-79
 
   MODEL: StudioWorks 575N, 575E, CB575C

อธิบายการทำงานจาก BLOCK DIAGRAM

7.1) Line Filter & Associated Circuit

วงจรในส่วนนี้ทำหน้าที่กรองสัญญาณรบกวนจากภายนอกไม่ให้สู่วงจรจอมอนิเตอร์และในทางตรงข้ามก็กรองสัญญาณรบกวนที่จอมอนิเตอร์สร้างขึ้นไม่ให้ออกไปรบกวน วงจรหรืออุปกรณ์ภาย นอก

7.2) Degauss Circuit & Coil.

วงจร  degauss ประกอบขึ้นโดยใช้ PTC (Positive Temperature Coefficient) thermistor (TH901) ทำงานร่วมกับรีเลย์ (RL901) ทำหน้าที่ขจัดสีที่ไม่ปกติบนจอภาพโดยอัตโนมัติ (หรือที่เราเรียกกันว่าการล้างหน้าจอ) วงจรนี้จะทำงานตอนที่เริ่มเปิดเครื่องใหม่ หรือว่าถ้าต้องการจะใช้เป็นกรณีพิเศษก็สามารถเลือก Degauss ใน OSD เมนูได้

 
HS2MZQ   Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #14 เมื่อ: 07-09-2005, 11:38:00 »     

--------------------------------------------------------------------------------
7.3) SMPS (Switching Mode Power Supply)
  วงจรนี้จะทำงานที่ระดับแรงดัน 90 ถึงประมาณ 264 โวลต์ ที่ความถี่ 50/60 Hz โดยการทำงานจะมีรายละเอียดดังนี้
 

HS2MZQ   Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #15 เมื่อ: 07-09-2005, 11:39:53 »     

--------------------------------------------------------------------------------
แรงดันไฟกระแสสลับจะถูก rectified และกรองให้เรียบ โดยไดโอด D901- D904 และ คาปาซิเตอร์ C908
แรงดันไฟที่ถูก rectified แล้วจะถูกส่งไปยังขด primary ของหม้อแปลง T901


IC901ซึ่งเป็นไอซีที่ทำหน้าที่กำเนิดสัญญาณ switching pulse เพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำภายในหม้อแปลง T901

แรงดันทางด้าน secondary จะขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของขดลวดในหม้อแปลง T901 ถ้าจำนวนรอบมาก การเหนี่ยวนำก็มากแรงดันจึงมากตาม

แรงดันทางด้าน secondary จะถูก rectified ด้วยไดโอด (D941, D951, D961, D971) เพื่อส่งไปเลี้ยงวงจรในส่วนต่าง ๆ ต่อไป เช่น ภาค horizontal,vertical,video เป็นต้น

 
HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #16 เมื่อ: 07-09-2005, 11:42:12 »     
--------------------------------------------------------------------------------
8
HANSOL และอื่น ๆ
  ภาพหดทางแนวนอนปรับขยาย - ลดได้แต่ก็ยังไม่เต็มจอ

 

--------------------------------------------------------------------------------
ทำงานด้วยความมุ่งมั่น..สำเร็จแน่นอน
 
 
HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #17 เมื่อ: 07-09-2005, 11:44:49 »     
--------------------------------------------------------------------------------
อาการภาพหดทางแนวนอนนี้เป็นอาการหนึ่งที่พบบ่อยในจอมอนิเตอร์ ขอให้สังเกตว่าอาการนี้จะสามารถที่จะปรับหน้าจอให้กว้างหรือแคบได้แต่ก็ไม่เต็มจอ จากรูป C325 (5600PF 1.6KV) จะลดค่าหรือขาดทำให้ภาพแคบลง การเปลี่ยนตัวนี้ควรใช้ค่าเดิม แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ต้องไกล้เคียงที่สุด โดยที่ถ้ามีค่ามากกว่าเดิมภาพจะยืดออก แต่ถ้ามีค่าน้อยภาพจะแคบลง

จากตัวอย่างนี้ สามารถที่จะนำไปใช้ในการซ่อมเครื่องรุ่นอื่น ๆ ได้เช่นกัน
 
 
HS2MZQ Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #18 เมื่อ: 07-09-2005, 11:49:13 »     
--------------------------------------------------------------------------------
9
ทรานซิสเตอร์เบอร์ TIP122
  ทรานซิสเตอร์เบอร์นี้เป็นอีกเบอร์ที่พบบ่อยในวงจรจอมอนิเตอร์  ...แล้วมันคืออะไร ? 

TIP122 เป็นทรานซิสเตอร์ แบบ Darlington ชนิด NPN ซึ่งทรานซิสเตอร์ชุดนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 เบอร์คือ
TIP120 ทนแรงดัน 60 โวลต์
TIP121 ทนแรงดัน 80 โวลต์
TIP122 ทนแรงดัน 100 โวลต์

ลักษณะวงจรภายใน โดยที่ R1 มีค่าประมาณ 8 กิโลโอห์ม ส่วน R2 มีค่าประมาณ 120 โอห์ม 
--------------------------------------------------------------------------------
ทำงานด้วยความมุ่งมั่น..สำเร็จแน่นอน
 
 
HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #19 เมื่อ: 07-09-2005, 11:53:24 »     
--------------------------------------------------------------------------------
10
ทีวี JVC รุ่น AV-20N43 มีเส้นรบกวนทางแนวตั้งสีน้ำเงิน

มันจะรบกวนทั้ง TV และ AV แต่ถ้าถอดสายอากาศออกจะเป็นเม็ด Snow ปกติ สังเกตว่าสีจะเพี้ยนด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
HS2MZQ  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #20 เมื่อ: 07-09-2005, 11:55:48 »     
--------------------------------------------------------------------------------
ผลการซ่อม
  พบ IC 301 เบอร์ NN5198K

TIP

  ไอซีเบอร์นี้สามารถแทนได้ด้วยเบอร์ AN5198K
 
HS2MZQ    Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #21 เมื่อ: 07-09-2005, 11:58:56 »     
--------------------------------------------------------------------------------
11
จอมอนิเตอร์มีเสียงดังเวลาเปิด (จีด ๆๆๆ)

สาเหตุ C 908 (จากรูป) แห้ง หรือลดค่า บางครั้งอาจจะต้องลองเปลี่ยนดู
 
HS2MZQ Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #22 เมื่อ: 07-09-2005, 12:19:21 »     
--------------------------------------------------------------------------------
สุดท้ายครับ

เรื่อง  ความเสี่ยงในการซ่อม
 
  ช่างหลายคนที่พอมีงานซ่อมเข้ามาในร้านก็จะคิดถึงอาการเสียและวิธีการซ่อมทันที ซึ่งความจริงก็ถูกต้อง แต่ว่ายังมีอีกสิ่งที่เราต้องเอามาพิจารณาด้วยก็คือความเสียงในการซ่อม ความเสี่ยงในที่นี้ไม่ได้หมายความถึง อันตรายที่จะเกิดขึ้น แต่เป็นความเสี่ยงต่อการขาดทุน ทั้งเงิน เวลา และชื่อเสียงของร้าน เช่น ในการซ่อมทีวี แต่ละเครื่อง แต่ละอาการจะมีความเสียงที่แตกต่างกัน โดยที่เราจะนำข้อมูลต่อไปนี้มาพิจาณาในเรื่องความเสียงในการซ่อม
 
อายุการใช้งานของเครื่อง

ยีห้อของเครื่อง

ลักษณะอาการเสีย

ระดับของลูกค้า
 
ขออธิบายแยกเป็นหัวข้อดังนี้
อายุการใช้งานของเครื่อง

เครื่องที่มีอายุการใช้งานมานานก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง ต่อการขาดทุน บางครั้งเราคิดว่ามีแค่อาการเครื่องหลวม แต่พอซ่อมเสร็จใช้ไปสักพัก มีอาการอื่น ๆ กลับมาอีก ช่างด้วยกันเข้าใจ แต่ลูกค้าเขาไม่เข้าใจ และไม่อยากจะเข้าใจด้วย

--------------------------------------------------------------------------------
 
ยีห้อของเครื่อง

                ยีห้อของเครื่องก็มีผลต่อการซ่อม และการหาอะไหล่ ยิ่งในเครื่องที่มียีห้อที่แปลก ๆ ก็ยิ่งมีความเสี่ยง เพราะว่าการซ่อมบางครั้งก็อาศัยการทดลองเปลี่ยนอะไหล่ดู (กรณีที่ไม่สามารถวัดได้ว่าดีหรือเสีย) ถ้าเป็นเครื่องยีห้อดัง ๆ มีอะไหล่อยู่ทั่วไป ก็ไม่เป็นไร ถ้าชื้อมาเปลี่ยนแล้วไม่ได้ ก็ยังเก็บไว้ใช้ซ่อมเครื่องอื่น แต่ถ้ายี้ห้อแปลก ๆ แล้ว ถึงจะเก็บไว้ได้ แต่ก็ไม่รู้จะได้ใช้อีกหรือเปล่า

--------------------------------------------------------------------------------
 
ลักษณะอาการ

                ลักษณะอาการเสียก็มีผลต่อความเสี่ยงในเรื่องการขาดทุน อย่างเช่น ลูกค้าบอกว่าเครื่องโดนฝ้าผ่า ไฟไม่เข้า อาการนี้มีความแปรผันสูง อาจจะง่ายสุด ๆ อย่างแค่ฟิวส์ขาด จนถึงยาก และแพง เช่น ไอซีคอม จูนเนอร์ และภาคจ่ายไฟเสีย พอซ่อมเสร็จ จอภาพดันมาเสียอีก เป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------
 
  ระดับของลูกค้า

                อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญในการพิจารณา เช่น ถ้าเราซ่อมเสร็จและได้คิดราคาค่าซ่อมไป 500 บางคนอาจจะบอกว่าธรรมดา  แต่บางคนอาจจะบอกว่าแพง ถ้ารู้อย่างนี้ซื้อเครื่องใหม่ดีกว่า ซึ่งถ้าเขาคิดแบบนี้ มันอาจจะเป็นผลเสียต่อร้านของเรา เพราะว่าเขาจะไม่กลับมาที่ร้านเราอีกเลย และยังอาจไปบอกเพื่อน ๆ ของเขาด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
 
  วิธีการแก้ปัญหากับเครื่องที่มีความเสี่ยงสูง
 
ตอนรับของจากลูกค้า (ถ้าเราเห็นว่าเครื่องนั้นมีความเสี่ยงสูง)
 
  พยายามพูดกับลูกค้า (แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน) พูดยังไงก็ได้ให้เขาค่อยมาเอาของวันหลัง อาจเป็นวันรุ่นขึ้นก็ได้ เพราะว่าถ้าเป็นเครื่องมีความเสี่ยงเราต้องใช้สมาธิ และเวลาในการซ่อม ถ้าเขานั่งรออยู่ ช่างจะรู้สึกกดดัน และรีบ กลัวว่าเขาจะคอยนาน เช่นซ่อมทีวีเปลี่ยนไอซีภาคจ่ายไฟ เปลี่ยนไปแล้วพังอีก เพราะยังมีตัวอื่นที่เสีย แต่เช็คไม่หมด ต้องรีบซ่อม เลยต้องเสียไอซีไปฟรี ๆ 1 ตัว
ต้องพูดคุยราคากับลูกค้าก่อน โดยพยายยามพูดให้กว้าง ๆ เอาไว้ ยกตัวอย่างเช่น ช่างบอกลูกค้าว่า ถ้าต่ำกว่า 1,000 ผมจะซ่อมให้เลย แต่ถ้าสูงกว่านี้ผมจะโทรไปถามพี่อีกที่นะครับ
ถ้าเราคิดว่าเราซ่อมไม่ได้ก็ควรรับงานเอาไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ลูกค้าคิดว่าเราเลือกงาน  ลองเช็คดูคร่าว ๆ ถ้ายังไม่ได้ หรือว่าไม่คุ้ม ก็ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยเร็วที่สุด ลูกค้าจะพอใจ แต่มีช่างหลายร้านทำเฉย เพราะคิดว่ามันไม่ได้เงิน ครั้งแรกลูกค้าโทรมาก็บอกว่ากำลังซ่อม ครั้งที่สองบอกว่าสั่งอะไหล่ ครั้งที่สามบอกว่า เขาส่งมาผิดเบอร์ พอสุดท้ายลูกค้ามาถึงร้าน แล้วยกเครื่องกลับ หลังจากนั้นก็ไม่เข้ามายังร้านนี้อีกเลย
 
  ตอนซ่อม
 
  หลายคนที่ซ่อมแบบดุดัน ยังไงต้องซ่อมให้ได้ กลัวอาย ไม่กลัวอด มีตัวอย่างจะเล่าให้ฟังครับ ตอนที่ผู้จัดทำเปิดร้านใหม่ ๆ มีทีวีอยู่เครื่องหนึ่ง ลูกค้าบอกว่าส่งไปร้านอื่นแล้ว แต่ซ่อมไม่ได้ ผู้จัดทำก็เลยลองดูคิดว่าไอซีน่าจะเสืย ก็เลยสั่งมาเปลี่ยนดู ปรากฎว่า ราคา 1,200 เลยถามลูกค้าดูก่อน เขาตอบว่า ถ้าไม่เกิน 1,500 เขาซ่อม ก็เลยสั่งไอซีตัวนั้นมา พอมาใส่ปรากฎว่าไม่ได้ อาการยังเหมือนเดิม แน่นอนครับผมขาดทุนแล้ว หลังจากเกิดเหตการแบบนี้ (หลาย ๆ ครั้ง) ก็เลยมานั่งคิด ๆ ดู ถ้าเราซ่อมเราจะได้กำไร 300 บาท แต่ถ้าขาดทุนก็ขาดทุน 1,200 บาท รวมทั้งค่าโอนเงิน และค่าส่งอีก ถ้าเราทำแบบนี้บ่อย ๆ เราคงจนลง ๆ แน่ ลองเปรียบเทียบกับถ้าเราซ่อมเครื่องอาการเสี่ยงน้อยกว่า การซ่อมก็ง่าย กำไรก็คงมากกว่า 300 แน่   
 
  ตอนที่คิดราคาต้องคิดเผื่อกรณีที่เครื่องตีกลับมาด้วย
   สำหรับเครื่องที่มีความเสี่ยงสูงตามที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะตีกลับมาง่าย ๆ อย่างเช่นเครื่องเก่า ๆ อย่าลืมไปว่าถ้ายังอยู่ในช่วงรับประกันของเรา เราอาจจะต้องซ่อมให้เขาฟรี ๆ ถ้าคิดราคานิดเดียวเราอาจจะขาดทุนก็ได้ แถมบางครั้งตอนที่เครื่องตีกลับมา อาจจะยากกว่าตอนแรกอีกด้วย
 
ช่างเล็กๆ(leksound)  Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #23 เมื่อ: 07-09-2005, 13:03:20 »     
--------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณคุณธนภัทร..ธ.อิเล็กฯ(ปราจีนบุรี) มากนะครับ นับว่าเป็นเนื้อเรื่องที่ดี..มีประโยชน์มากครับ ..
..ผมอยากให้เพื่อนๆที่มีประสพการณ์งานซ่อม มาช่วยกันลงบทความดีๆเช่นนี้ร่วมกัน วงการช่างเราก็จะมีทางเดินสะดวกขึ้นครับ.   
 

เอ็ม Re: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์
« ตอบ #24 เมื่อ: 11-09-2005, 18:43:16 »     
--------------------------------------------------------------------------------
สุดยอดครับพี่คุณธนภัทร..ธ.อิเล็กฯ(ปราจีนบุรี) ผมขอบคุณครับที่มีช่างดีๆ อย่างพี่อยู่คัรบผมพยายามชนะสิ่งที่ผมเป็นอยู่ ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ แล้วก็ขอบคุณพี่เล็กครับที่แนะนำสิ่งดี ๆ เข้ามา เรื่องเว็บผมใกล้จะคลอดแล้วคัรบพี่เล็ก รับประกันน่าจะดังนะ 
 
 


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21" » ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้ว » ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้วโทรทัศน์ ++++++ » หัวข้อ: เทคนิคการซ่อมจอมอนิเตอร์ (คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)
 
กระโดดไป: