50 ปีนาซาสำรวจอวกาศ ฉลองเบิร์ธเดย์ส่งเพลงไปดาวเหนือ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 19, 2024, 07:52:09 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 50 ปีนาซาสำรวจอวกาศ ฉลองเบิร์ธเดย์ส่งเพลงไปดาวเหนือ  (อ่าน 3510 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2008, 08:13:12 AM »

50 ปีนาซาสำรวจอวกาศ ฉลองเบิร์ธเดย์ส่งเพลงไปดาวเหนือ





เรื่องราวของจักรวาลดวงดาว กาแล็กซี่ต่าง ๆ คือสิ่งท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของมนุษยโลก เหล่าประเทศมหาอำนาจ ทั้งสหรัฐอเมริกา รัสเซีย ก่อตั้งสถานีอวกาศ โครงการกระสวยอวกาศ space shuttle (ยานพาหนะที่ใช้เดินทางไปมาระหว่างโลกและอวกาศได้) เพื่อใช้  เดินทางไปแสวงหาอาณาจักรและอาณานิคมใหม่ในระบบ  สุริยจักรวาล
 
นาซาหรือองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration NASA) หน่วยงานที่ทำหน้าที่สำรวจและวิจัยห้วงอวกาศของสหรัฐอเมริกา จวบจนถึงปีนี้มีอายุครบ 50 ปีแล้ว หลังจากเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2501
 
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในวันสำคัญนาซาฉลองครบรอบก่อตั้ง และโอกาสครบรอบ 45 ปีของ การก่อตั้งเครือข่ายของเสาอากาศนานาชาติ เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสำรวจเอกภพ ด้วยการส่งสัญญาณเพลง “อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส” (Across the Universe) ของ วงเดอะบีเทิลส์ หรือรู้จักกันดีในวงสี่เต่าทอง กลุ่มศิลปินที่เป็นตำนานของชาวตะวันตกสู่อวกาศห้วงลึกมุ่งตรงสู่ ดาวเหนือ ดวงดาวที่สุกสกาวที่สุดในกาแล็กซี่ ซึ่งอยู่ไกลออกไปถึง 431 ปีแสง
 
ก่อนส่งเพลงเดอะบีเทิลส์สู่ห้วงอวกาศนั้น นาซาได้ใช้เวลาโหลดเพลงต้นฉบับ ซึ่งอยู่ในรูปไฟล์เอ็มพี 3 (MP 3) เป็นเวลา 4 นาที จากนั้นอาศัยเสาส่งสัญญาณขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน เพื่อส่งสัญญาณดิจิทัลของเพลง ด้วยความเร็วเท่ากับแสงคือ 307,000 กิโลเมตรต่อวินาที แม้จะฟังดูแล้วน่าจะเร็ว แต่กว่าเพลง “อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส” จะเดินทางไปถึงดาวเหนือก็ใช้เวลามากกว่า 1 ปี
 
อัมพร จักกะพาก คอลัม นิสต์ดนตรี นามปากกา “สีลม” บอกถึงเบื้องหลังของเพลง     “อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส” ว่า ปกติแล้วเพลงของเดอะบีเทิลส์ เกือบทั้งหมดจะแต่งโดยจอห์นเลนนอน และ พอล แมคคาร์ท นีย์ แม้บางเพลงเลนนอนจะแต่งเอง 100 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ก็เป็นข้อตกลงร่วมกัน
 
เพลง “อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส” จอห์น เลนนอนแต่งเอง 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นเพลงมีทำนองเรื่อย ๆ เขาได้แรงบันดาล ใจจากความช่างบ่นพึมพำของ ภรรยา พูดซ้ำไปซ้ำมา เปรียบคำพูดเหมือนกับสวดมนต์ ในเนื้อเพลงจึงมีท่อนที่เปล่งเสียงออกมาว่า “ไจ กูรู เดวา โอม” Jai Guru DeVa Om หมายถึงการร่ายมนตร์ไปเรื่อย ๆ เพื่อทำสมาธิ และมีเนื้อหาที่บอกว่าคำพูดออกมาจากปากคน เหมือนกับฝนตกลงไม่หยุดบนถ้วยกระดาษ
 
เพลงนี้อัดเมื่อ 4 ก.พ. 2511 ออกมาเป็นอัลบั้มจำหน่ายเมื่อ ก.พ. 2513 ถือว่าเป็นเพลงที่เปิดโลกของปรัชญาทางตะวันออกสู่ตะวันตกที่ชัดสุดในสมัยนั้น เพราะตอนนั้นชาวตะวันตกยังไม่รู้จักเรื่องของสมาธิ ฟังแล้วความคิดสงบลง พยายามจะแนะนำให้รู้จักการสวดมนต์ และยังเป็นเพลงที่เลนนอนชอบมาก  ที่สุด
 
ในบรรดานักวิจารณ์ยกย่อง เพลงที่ดีที่สุดของเลนนอน 3 เพลงด้วยกัน คือ Imagine, In my life และ Across the Universe ซึ่งเป็นเพลงที่มีทำนอง ไปเรื่อย ๆ ฟังแล้วเกิดสมาธิ
 
“เหตุผลที่นาซาเลือกส่งเพลงนี้ไป เพราะชื่อเพลงมีความหมายข้ามจักรวาล และมีท่อน ย้ำบอกอยู่ในเนื้อว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนโลกของฉันได้” นักวิจารณ์กล่าว
 
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นาซานำเพลงของเดอะบีเทิลส์ไปใช้ในกิจการอวกาศ เมื่อเดือน พ.ย. 2548 เซอร์พอล แมคคาร์ทนีย์ ร้องเพลง “กู๊ด เดย์ ซันไชน์” ระหว่างแสดงคอนเสิร์ต และยิงสัญญาณเพลงนี้โดยตรงไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ
 
มีบางครั้งนาซายังใช้เพลงของเดอะบีเทิลส์ อาทิ เฮีย คัมส์ เดอะ ซัน, ทิกเก็ต ทูไรด์, อะ ฮาร์ด เดย์ส ไนท์ ปลุกนักบินอวกาศให้ตื่นนอน ขณะนอนหลับฝันดีอยู่ในอวกาศ
 
ข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี ให้รายละเอียดไว้ว่า นาซา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วง อวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้ง ฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า ปรับปรุงสภาพชีวิตความเป็นอยู่บนโลกให้ดีขึ้น ขยายพื้นที่การดำรงชีวิตออกไปนอกโลก และค้นหาสิ่งมีชีวิต ในที่ไกลออกไปและเป็นแหล่งบันดาลใจให้กับนักสำรวจรุ่น  ต่อไป
 
ก่อนหน้าที่จะเกิดขึ้นขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกาถูก กดดันจากสหภาพโซเวียต ที่ส่ง ดาวเทียมดวงแรกของโลก (ดาวเทียมสปุตนิค 1) ขึ้นสู่อวกาศ สำเร็จ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มหันมาใส่ใจกับโครงการ อวกาศของตนเองมากขึ้น ตอนนั้น สภาคองเกรสรู้สึกหวั่นเกรงต่อภัยด้านความมั่นคง และภาวะความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ของตน
 
ประธานาธิบดี ไวท์ ดี ไอเซนฮาวร์ และคณะที่ปรึกษาได้ประชุมหารือกันเป็นเวลานานหลายเดือนจนได้ข้อสรุปว่า สหรัฐจำเป็นต้องก่อตั้งหน่วยงานราชการขึ้นใหม่ ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมอวกาศทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร
 
 ในปีแรก นาซามีห้องปฏิบัติการ 4 แห่ง มีพนักงานประมาณ 8,000 คน โดยโอนมาจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการบินแห่งชาติ (NACA) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของสหรัฐที่มีอายุกว่า 46 ปี
 
โครงการในระยะแรกของนาซาเป็นการวิจัยโดยมีเป้าหมายส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยานอวกาศ ดำเนินท่ามกลางแรงกดดันจากการแข่งขันกับสหภาพโซเวียตในระหว่างสงครามเย็น
 
นาซาเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ ในห้วงอวกาศด้วย โครงการเมอร์ คิวรี ในปี พ.ศ. 2501 ต่อมา วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 นักบินอวกาศ อลัน บี.เชเพิร์ด จูเนียร์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกในอวกาศ เมื่อเขาเดินทางไปกับยานฟรีดอม 7 ในภารกิจนาน 15 นาที แบบไม่เต็มวงโคจร
 
หลังจากนั้น จอห์น เกล็นน์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ในการบินนาน 5 ชั่วโมงกับยานเฟรนด์  ชิป 7
 
เมื่อโครงการเมอร์คิวรีพิสูจน์และยืนยันว่าการส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศสามารถ เป็นไปได้ นาซาจึงเริ่ม โครงการอะพอลโล พยายามส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์ แม้ยังไม่มีเป้าหมายส่งมนุษย์เหยียบพื้น  ผิวดวงจันทร์แต่อย่างใดในตอนนั้น
 
ทิศทางของโครงการ   อะพอลโลเปลี่ยนไปเมื่อ ประ ธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคน เนดี ประกาศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ว่า    “สหรัฐอเมริกาจะ ส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์แล้วกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย”
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2513  โครงการอะพอลโลจึงเปลี่ยนเป็นการนำมนุษย์ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์  ในที่สุดยานอะพอลโล 11 ได้นำ นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ อัลดริน ลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 และกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย ในวันที่ 24 กรกฎาคม ในปีเดียวกัน
 
ประโยคแรกที่อาร์มสตรอง กล่าวหลังจากก้าวออกจากยาน ลงจอด “อีเกิ้ล” ว่า “นี่คือก้าวเล็ก ๆ ของคน ๆ หนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ” หลังจากวันนั้นจนถึงการสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2515 มีนักบินอวกาศอีก 10 คนที่ฝากรอยเท้าไว้บนดวงจันทร์
 
อะพอลโล 13 เป็นยานลำสุดท้ายที่ขึ้นบินภายใต้สัญ ลักษณ์อะพอลโล แม้ว่าโครงการอะพอลโลมีแผนไปถึงยานอะพอลโล 20 โครงการอะพอลโลสิ้นสุดลงก่อนกำหนด  เนื่องจากถูกตัดงบประมาณ (ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสงครามเวียดนาม)
 
50 ขวบปีที่ผ่านมา นาซาได้พัฒนาวิจัยกระสวยอวกาศตลอดเวลา ระหว่างที่งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดูเคร่งเครียด บ่อยครั้งที่นาซานำเรื่องราวบันเทิงกุ๊กกิ๊กสอดแทรกไว้เสมอ อย่าว่าแต่จะส่งคลื่นเสียงไปยังดาวเหนือ เมื่อปีที่ผ่านมาเดือนตุลาคม นาซาปล่อยกระสวยอวกาศขึ้นสู่อวกาศเพื่อปฏิบัติการสำคัญใน การก่อสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ  ไอเอสเอส
 
กระสวยอวกาศลูกนั้น มี ดาบไลต์เซเบอร์ อาวุธคู่กาย ของ ลุด สกายวอล์กเกอร์ ในภาพยนตร์เรื่อง สตาร์วอร์ส ตอน Return of the Jedi ติดไปกับกระสวยอวกาศนั้นด้วย เพื่อฉลองโอกาสครบรอบ 30 ปีของภาพยนตร์สงครามอวกาศเรื่องนี้
 
...ไม่แน่สักวันอาจมีมนุษย์ต่างดาวส่งสิ่งของ หรือเสียงเพลง ฮิตของเขาลงมาสู่โลกเพื่อตอบแทนไมตรี…










บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!