วิเคราะห์ช่องทางทำกิน ปี’51 อะไรเด่น-อะไรด้อย
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 16, 2024, 11:28:25 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ช่องทางทำกิน ปี’51 อะไรเด่น-อะไรด้อย  (อ่าน 5209 ครั้ง)
ufour
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน8
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 50


« เมื่อ: มกราคม 23, 2008, 09:30:08 AM »

วิเคราะห์ช่องทางทำกิน ปี’51 อะไรเด่น-อะไรด้อย       
ทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทย ปี 2551 หลายๆฝ่าย นักเศรษฐศาสตร์หลายๆสำนัก

ต่างออกมาฟันธงว่าคงจะหืดขึ้นคอ บ้างก็ว่าปี 2550 เผาหลอก...ปี 2551 เผาจริง อย่างไรก็ตาม “ในวิกฤติย่อมมีโอกาส” และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเลือกอาชีพ วันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” มี “แนวโน้มอาชีพเด่น-ด้อย...ปี 2551” จากมุมมองของสองนักวิชาการผู้สันทัดกรณี มาบอกเล่าให้ได้ลองพินิจพิจารณาตัดสินใจกัน.....
     
@@@@@@@


“ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล” ผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัวและเอสเอ็มอี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิเคราะห์ว่า... “ธุรกิจค้าขายอาหาร” ปี 2551 นั้น จะยังคงทรงตัว ขยายได้ไม่มาก และจะติดปัญหาวัตถุดิบที่ราคาจะเพิ่มขึ้น ทั้งข้าวสาร แป้งต่าง ๆ ข้าวโพด อ้อย


ดังนั้น ร้านขายอาหารรายเก่าในระดับกลางลงไปถึงล่างแม้ว่าแข็งแรงแล้วแต่ก็คงจะประสบปัญหาตรงนี้เช่นกัน คงจะต้องบริหารต้นทุนให้ดี เพื่อเป็นการประหยัด ส่วนรายใหม่ ๆ คงจะเข้ามาแข่งขันค่อนข้างลำบาก เพราะแนวโน้มคนจะเริ่มกลับมาทำอาหารทานในบ้านเอง มากขึ้น หรือหากทานนอกบ้านก็ไม่จำเป็นจะต้องทานระดับหรูหรา หรือกินทิ้งกินขว้างให้เปลืองเงินมากนัก


“ร้านกาแฟสด” ที่ผุดราวกับดอกเห็ด หาทานง่ายมากในสมัยนี้ ราคาก็เหลือ 15-30 บาท จากเดิมที่ต้องจ่ายกันเป็นร้อย ฟันธงได้ว่า “ขาลง” แน่นอน เพราะ “โอเวอร์ซัพพลาย” ร้านที่จะอยู่ได้คือร้านที่มีรากฐานมั่นคง  ร้านเล็ก ๆ หน้าใหม่ ๆ คงจะหาพื้นที่ขึ้นได้ยาก ปรากฏการณ์นี้คล้ายกับ “ชานมไข่มุก” ที่ในที่สุดร้านเล็ก ๆ จะไปหมดจากท้องตลาด


“เบเกอรี่” แบ่งเป็น 2 ตลาดคือ  ตลาดล่าง คือแบบไม่ต้องอร่อยมาก ราคาไม่แพง อยู่ได้ไปเรื่อย ๆ  ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แถมอาจจะขายดีมากขึ้นด้วย เพราะคนเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ส่วนประเภทตลาด “โฮมเมด” คือระดับกลางขึ้นบน ค่อนข้างจะลำบากหน่อย เพราะแป้ง น้ำตาลทราย นม ไข่ไก่ พาเหรดขึ้นราคาหมด  ดังนั้น ถ้าไม่อยากจะต้องลดของ ลดคุณภาพสินค้า ต้องเน้นเจาะลูกค้าตลาดบน เพราะขึ้นราคาไม่มากลูกค้าก็ไม่สะเทือน  ซึ่งจะคล้ายกับ “ไอศกรีมโฮมเมด” ต้องเปลี่ยนตลาด ต้องบริหารต้นทุนให้ดี


“ขนมขบเคี้ยว” ต่าง ๆ ถ้ายี่ห้อดี มีแบรนด์ของตนเอง ยังไปได้แน่นอน เพราะสินค้าขายตัวเองได้ แต่ในส่วนตลาดวัยรุ่นต้องออกแบบหีบห่อให้โดนใจ เพราะวัยรุ่นไม่สนใจเรื่องเศรษฐกิจ แต่หากจะขายขนมให้ผู้หญิงทานนั้น จะต้องขายไอเดียเรื่องสุขภาพเป็นหลัก    ขนมที่จะทำขายนั้นต้องมีประโยชน์ต่อร่างกาย และไม่ทำให้รูปร่างอ้วนด้วย รับรองไปได้เรื่อย ๆ อีกเช่นกัน


สินค้าแฮนด์เมดแบบกิ๊บ ๆ เก๋ ๆ ไม่ว่าจะเป็น “เสื้อผ้า” “รองเท้า” “เครื่องประดับ” “กระเป๋า” หรือ “สินค้าตกแต่ง” ต่าง ๆ แนวโน้มไปได้เรื่อย ๆ เพราะคนที่ชอบประเภทแฮนด์เมดยังมีอยู่มาก แต่ต้องระวังเรื่องการลอกเลียนแบบ ซึ่งปัจจุบันเร็วมาก ๆ พยายามหาตลาดของตนเอง หานวัตกรรม วิธีการใหม่ ๆ และจะอยู่ให้ได้ไม่ควรทำของถูกขาย เพราะรับรองว่าขายแข่งกับสินค้าราคาถูก-คุณภาพต่ำถึงพอใช้จากจีนไม่ได้แน่นอน


“สินค้าเทคโนโลยี” อย่าง โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังคงขยายตัวไปได้เรื่อย ๆ  เพราะสินค้ากลุ่มนี้มีเรื่องลูกเล่นของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คนซื้อแล้วเปลี่ยนเร็วขึ้น ซึ่ง “หูฟังโทรศัพท์” คาดว่าปี 2551 ขายดีแน่นอน เพราะกฎหมาย “ขับห้ามโทรฯ” จะบังคับใช้เป็นทางการ  เช่นเดียว คอมพิวเตอร์ ทุกแบบ เครื่องเล่น MP3, MP4 ก็ไปได้เรื่อย ๆ แต่จะแข่งขันกันด้านราคามากขึ้น


“ร้านอินเทอร์เน็ตตคาเฟ่” “ร้านเกมออนไลน์” ปี 2551 จะหมดยุคบูม-ยุคหวือหวา ไม่มีรายใหม่เกิดแล้ว ส่วนที่อยู่ได้คือหน้าเดิมที่แข็งแรง และปรับตัวให้ทันสมัย เพราะปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงราคาต่ำ เริ่มแทรกซึมเข้าในครัวเรือน เด็ก-วัยรุ่นเริ่มเล่นเน็ตในบ้านแทน ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเกาหลีใต้มาก่อน ปัจจุบันร้านอินเทอร์เน็ตในท้องตลาดปิดตัวเกือบหมดแล้ว


เช่นเดียวกับ “ธุรกิจร้านสปา” ก็มีเห็นให้เกลื่อนไปหมด ปี 2551 ก็คงเป็นช่วงขาลง คงไม่เห็นหน้าใหม่เข้ามาแข่งในตลาดมากนัก
   
@@@@@@@


“รศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล” อาจารย์ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็วิเคราะห์แนวโน้มอาชีพปี 2551 โดยระบุว่า... “ธุรกิจอาหาร” ซึ่งเป็น 1 ในปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิต ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่ เพราะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนก็ต้องกิน ดังนั้น ร้านค้าขนาดเล็ก ๆ ในรูปแบบรถเข็น ห้องแถว ก็ยังคงอยู่ในสังคมไทยได้แน่นอน


อย่างไรก็ตาม ปรัชญาของธุรกิจอาหารนั้นคือ “เข้าง่าย-ออกง่าย” ดังนั้น หน้าเก่า-หน้าใหม่มีสิทธิ์ปิ๋วหากคุณภาพ รสชาติ ชนิด และราคา ไม่ถูกปาก-ถูกใจผู้บริโภค ส่วนร้านค้าระดับกลาง ๆ ที่มีค่าใช้จ่ายต้องเช่าพื้นที่ จ้างคนทำงาน คงจะลำบากหน่อย เพราะคนจะเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่ง่าย สะดวก และไม่แพง ดังนั้น ร้านค้าริมทางคงอยู่เป็นอมตะและได้เปรียบกว่า


ธุรกิจ “อาหารญี่ปุ่น” ตั้งแต่กลางลงล่าง ไปได้ดีแน่นอน เพราะเป็นตลาดเฉพาะ ได้รับความนิยมในหมู่คนทำงาน แม่บ้าน ซึ่งปัจจุบันแข่งกันที่ราคา และคุณภาพ ลูกค้าได้เปรียบมาก ๆ ซึ่งจะคล้ายกับ “ร้านอาหารทานเล่น” อย่างขนมปังปิ้ง-นมสด หากทำเลแจ๋ว ราคาไม่เว่อร์ ก็ยังคงไปได้ดีอยู่ เพราะเป็นตลาดเฉพาะ ถึงตลาดขนาดกว้าง


 “กาแฟสด” การวิเคราะห์เป็นไปในทิศทางเดียวกับนักวิชาการรายแรก คือปี 2551 จะ “ทรงตัว” เพราะตลาดเต็มแล้ว ร้านที่อยู่คือร้านเก่า มั่นคง หน้าใหม่คงมีเข้ามาเล่นในตลาดไม่มากนัก ส่วน “โฮมเมด” ทั้งเบเกอรี่ และไอศกรีม ถ้าสินค้าธรรมดา หรือพื้น ๆ คงลำบากถึงยาก ต้องขายไอเดีย ขายเรื่องราว ขายความเป็นตัวของตัวเอง ที่สำคัญขายฝีมือ ก็จะมีลูกค้าประจำแน่นอน และรับรองไปได้เรื่อยๆ


แต่ที่ “ขาลง” แน่นอนคือ “ขนมประเภทเม็กซิกัน บัน” สารพัดยี่ห้อทั้งหลาย เพราะเป็นขนมที่ขายกระแสเท่านั้น 


สารพัดสินค้า “แฮนด์เมด” ยังไปได้เรื่อย ๆ แต่ต้องหาตลาดเฉพาะของตนเองให้ได้ เพราะหากไปทำของถูก ของโหล คงจะสู้สินค้าจากจีนที่กำลังทะลักเข้าสู่ไทยไม่ได้แน่ ๆ หากจะทำแบบนั้นสู้ไปรับของเหมาโหลจากแหล่งสินค้าขายส่งมาขายต่อดีกว่า เพราะหลากหลาย มากมาย เข้าออกได้เร็ว


“ธุรกิจแฟรนไชส์” เป็นพัฒนาการของธุรกิจอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างงาน-อาชีพได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่ เพราะชื่อเสียงจากต้นตำรับการันตีได้ แต่ในยุคนี้เงื่อนไขก่อนตัดสินใจซื้อคือ ต้องดูลูกหลานในรุ่นที่ 2-3 ต้องมีความเป็นมืออาชีพในการบริหารแฟรนไชส์ มิฉะนั้นจะกลายเป็นเข้าข่ายถูกหลอกลวง หรือไม่ประสบผลสำเร็จได้ง่าย แต่ในภาพรวมแล้วธุรกิจประเภทนี้ก็ยังคงไปได้ในปี 2551     


“ร้านหนังสือเช่า” ในปี 2551 ยังไปได้เรื่อย ๆ เพราะไม่ได้ขึ้นกับกระแส แต่ต้องขึ้นกับทำเลจริง ๆ   ส่วนร้านที่จะทยอยเป็น “ขาลง” คือ “ร้านให้เช่าวีซีดี-ดีวีดี” เพราะมีสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มาก ซึ่งแม้กระทั่งเจ้าของร้านแฟรนไชส์ด้านนี้จากญี่ปุ่นก็เตรียมประกาศให้ความสำคัญน้อยลงกับธุรกิจประเภทนี้


“ธุรกิจหยอดเหรียญ” หลาย ๆ รูปแบบ ตามห้องเช่า อพาร์ทเม้นท์ หรือแม้กระทั่งชุมชน ยังอยู่ได้แน่นอน เพราะพื้นที่ห้อง-ที่อยู่อาศัยยุคปัจจุบันมีน้อยลง เช่นอาจไม่พอวางเครื่องซักผ้าก็ใช้บริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ซึ่งแนวโน้มคนจะอยู่คนเดียวมากขึ้น และต้องอาศัยความสะดวกเป็นหลัก เพราะฉะนั้นธุรกิจประเภทนี้จึงยังมีอนาคต แต่ต้องอาศัยทำเลที่มีคนอยู่มาก ๆ อยู่ในแหล่งความเจริญ


“มินิมาร์ท” จะเปิดใหม่ถ้าไม่อยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ คงลำบากแน่ เพราะทำเลแทบทุกเกรดถูกเจ้าตลาดหน้าเก่ามาก-เก่าปานกลางยึดครองไปหมดแล้ว เพราะระบบการบริหารที่ดี จำนวนสาขาที่มาก จนกระทั่งต่อรองกับผู้ผลิตได้แล้ว มินิมาร์ทที่จะอยู่ในตลาดได้ก็จะเป็นกลุ่มเจ้าตลาดเท่านั้น
   
@@@@@@@


ทั้งนี้ นอกจากอาชีพ-ธุรกิจต่าง ๆ ดังที่ว่ามาแล้ว กูรูทั้งสองท่านยังได้ให้ข้อแนะนำคล้าย ๆ กัน สรุปได้ว่า... “นอกจากจะต้องดูทิศทางเศรษฐกิจภาพรวมของปี 2551 เพราะมีทั้งกระแสเผาจริง-ไม่จริง ก็จะต้องปรับตัวตลอดเวลา เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และที่สำคัญ นอกจากการคิดค้นอะไรใหม่ ๆ แล้วก็ยังต้องปรับปรุงคุณภาพสินค้าใหม่เรื่อย ๆ จึงจะยืนหยัดอยู่ได้ยาวนาน”




ที่มา : เดลินิวส์  http://www.siaminfobiz.com/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=1271&Itemid=27

 


บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13216


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 23, 2008, 09:45:08 AM »

บันทึกการเข้า
ufour
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน8
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 50


« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 23, 2008, 09:55:24 AM »

     
"ฟาสซิโน" ปลุกตลาดร้านขายยาระบบแฟรนไชส์อีกครั้ง ตั้งเป้ากระจายสาขาแฟรน-ไชส์



รวมทั้งเปิดสาขาตัวเองอย่างน้อย 15-20 สาขา โดยมีแผนตั้งศูนย์กระจายสินค้า   ขนาดใหญ่ที่พัทยา และจะขยายให้ครบทุกภูมิ-ภาคเพื่อเตรียมความพร้อม


             สุรพล สุทธิโรจน์พัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทฟาสซิโน จำกัด กล่าวว่าฟาสซิโน เป็นร้านขายยาที่เริ่มจากกิจการเล็กๆ เปิดแถวๆ โรงพยาบาลศิริราชด้วยเงินลงทุนประมาณ 1,000,000 บาท หลังจากที่กิจการร้านขายยาปลีก ดีขึ้น จึงเริ่มมีการทำกิจการร้านขายยาส่งและมีการขยายสาขาจาก 1 เป็น 3 ร้าน


             ต่อมาได้เกิดแนวคิดที่จะขยายร้านขายยาปลีกออกไปในรูปแบบของแฟรนไชส์ ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีจำนวนสาขาทั้งที่เป็นของ    ตัวเองและร้านแฟรนไชส์ทั่วประเทศทั้งหมด 50 สาขา (เป็นสาขาของตัวเอง 10 สาขา) ซึ่งอยู่ในกรุง-เทพฯและต่างจังหวัดอย่าง    ละครึ่ง


สุรพลมีเป้าหมายขยายสาขาปีนี้เพิ่ม 15-20 สาขาทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เนื่องจากมองว่าตลาดร้านขายยา     มีแนวโน้ม เติบโต ขณะเดียวกันบริษัทจะเปิด สาขาตัวเอง 8 สาขา โดย 5 สาขาจะตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟใต้ดิน (พื้นที่ 20-40 ตารางเมตร) ที่สถานี กำแพงเพชร,เพชรบุรี (อโศก),รัช-ดา,ศูนย์วัฒนธรรม และลาดพร้าว


             ส่วนสาขาแฟรนไชส์ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการตกลงกันอยู่ 2 สาขา นอกจากนี้จะมีขยายตลาด เข้าห้างสรรพสินค้ามากขึ้น ซึ่งบริษัทมีการขยายเข้าไปในเดอะมอลล์งามวงศ์วาน โรบินสันสีลม โรบินสันบางรัก ซึ่งต่อไปจะมีการรุกเข้าตลาดโมเดิร์นเทรดด้วย และในอีก 3 ปีข้างหน้าตั้งเป้า จะมีสาขาของร้านฟาสซิโนครอบคลุมทุกจังหวัด


             ปัจจุบันการแข่งขันของตลาดร้านขายยามีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งวิวัฒนาการของการแข่งขันจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งในรูปแบบของร้าน สินค้า บริการ และดีไซน์ ที่ทันสมัยขึ้น พร้อมทั้งมีการร่วมมือกันมากขึ้นในลักษณะของเครือข่ายจากเดิมที่ต่างคนต่างทำ และมีบริการคล้ายร้านขายสินค้าคอนซูเมอร์มากยิ่งขึ้น


 "สมัยก่อนร้านขายยาจะเป็นลักษณะของร้านขายของชำ แต่แล้วก็มีการปรับตัวเนื่องจากว่ามีร้านแบรนด์นอกเข้ามาเปิดบริการไม่ว่าจะเป็น บูท, วัตสัน หรือพีเพิลดรัก ทำให้ในรูปแบบของการบริการ    การจัดการร้าน การดีไซน์หน้าร้าน ต่างไปจากเดิม คือเน้นบริการเชิงรุกมากขึ้น"


       สุรพล หวังว่าการขยายในรูปแบบแฟรนไชส์ มีข้อดีตรงที่สามารถขยายสาขาได้เร็วเพราะไม่ต้องลงทุนเอง แต่ก็จะมีปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการ เนื่องจากการควบคุมให้ได้มาตร-ฐานทำได้ลำบาก


       จุดเด่นของร้านฟาสซิโนคือมีความทันสมัยทั้งในเรื่องของ     ดีไซน์ การจัดรูปแบบของร้าน การจัดหมวดหมู่ของสินค้า  และมีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งพนักงานของบริษัทจะไม่เหมือนกับพนักงานขายยาของร้านทั่วไป เพราะต้องได้รับการเทรนนิ่งจากห้องเรียนอย่างน้อย 1 เดือนและยังต้องฝึกเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติงานอย่างต่ำ 2 เดือน เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความสามารถในการที่จะออกไปให้บริการกับลูกค้า


       บริษัทยังขยายสาขาไปที่พัทยาและหวังให้เป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุด   ในประเทศ เพื่อจะให้เป็นคลังสินค้าเพื่อกระจายสินค้าไปยังร้านสาขาที่อยู่ในภาคตะวันออกในเดือนกันยายนปีนี้ และในอีก 2-3 ปีข้างหน้าบริษัทจะมีการเปิดสาขาขนาดใหญ่สำหรับทางภาคเหนือและจะเปิดให้ครบทุกภาคต่อไป


 สินค้าที่จำหน่ายภายในร้านต้นแบบของฟาสซิโนมีทั้งหมด 8,000 กว่าหน่วยสินค้า แบ่งเป็นสินค้าประเภทยารักษาโรค, อาหารเสริมต่างๆ เวชภัณฑ์, อุปกรณ์การแพทย์ และอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย ขณะที่กำหนดให้ร้านของแฟรนไชซี่ จะต้องมีสินค้าอยู่ในร้านประมาณ 2,000-3,000 รายการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน โดยทางบริษัทจะคอยให้คำแนะนำและไปตรวจสอบดูทำเล เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการเปิดสาขา รวมถึงการสรรหาสินค้าให้เหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละทำเล


       สันติ วิชยภิญโญ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ฟาสซิโน จำกัด กล่าวว่า มาตรฐานถือเป็น หัวใจสำคัญของธุรกิจระบบแฟรนไชส์ บริษัทจะเทรนให้แฟรนไชซี่ตั้งแต่ระบบการปฏิบัติงาน ระบบไอที การบริการ ตลอดจนมาตรฐานคุณภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้บริษัทยังมีการตรวจสอบร้านแฟรนไชส์ 4 ครั้ง/ ปี


       พร้อมจัดงบ 3% จากยอดขายเพื่อสร้างความจงรักภักดี   ของลูกค้าให้เกิดต่อแบรนด์ รวมถึงเป็นการกระตุ้นยอดจำหน่ายสินค้าให้ร้านสาขาด้วยการออกบูท ทำโรดโชว์ พร้อมจัดโปร-โมชั่น เช่นการมอบส่วนลด 5-10% สำหรับสมาชิก ของบริษัทซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 20,000 กว่าราย คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ราย
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!