ภาษาเยอ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 10:32:09 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาษาเยอ  (อ่าน 10296 ครั้ง)
dekwat♥
member
*

คะแนน 458
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 303



« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2007, 12:45:18 PM »

ท่านใดมีความรู้ด้านภาษาเยอเชิญเลยนะครับ
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน 1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2007, 01:51:57 PM »

                ภาษาเยอ  เป็นภาษาเดียวกับภาษาส่วย แต่สำเนียงแตกต่าง และเพี้ยนกันไปตามสภาพแวดล้อม บางท่านสรุปว่าภาษาเยอคือ ภาษาส่วยที่ใกล้ชิดกับภาษาลาว ภาษาส่วยคือภาษาเยอที่ใกล้ชิดกับภาษาเขมร
จำนวนคนที่พูดภาษาเยอมีน้อยมากที่เชี่ยวชาญจริงๆ ประมาณ 200 คน   แถวจังหวัด ศรีสะเกษ
 Tongue
บันทึกการเข้า
koh_nova
member
*

คะแนน 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 28, 2009, 04:37:25 PM »

บทที่  1
บทนำ

ภูมิหลัง
        เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษาไว้ว่า ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับครอบครัว ตนเอง ชุมชน ชาติ สังคมโลก ประวัติความเป็นมาของสังคมไทย ระบบการเมืองการปกครอง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา  วัฒนธรรม ประเพณี มีอยู่มากมายและหลากหลาย แต่ละเขตแต่ละภูมิภาค แม้แต่ละท้องถิ่น ก็จะมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทั้งทางด้านสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ศิลปะหัตถกรรมท้องถิ่น การแต่งกายพื้นเมือง ดนตรีประประจำภาคประจำท้องถิ่น การละเล่นการแสดง อากัปกริยาการแสดงออก รวมถึงโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีมาตั้งแต่อดีตกาลก็จะมีความแตกต่างออกไปตามลัทธิ ความเชื่อ และการนับถือเทพเจ้าองค์ต่างๆ  การศึกษาเรื่องราวความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี กิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละชุมชนที่อยู่รวมกันเป็นสังคม พยายามต่อสู้กับอันตรายต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ  และเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด  และให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ มีวัฒนธรรม   ประเพณี ความเป็นอยู่  ภาษาเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  ติดต่อสื่อสารเพื่อให้มีชีวิตดำรงอยู่ได้ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ  และเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละชุมชนและสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีนักการศึกษาหลายท่านให้ความหมายของคำว่า “วัฒนธรรมพื้นบ้านและประเพณี” ไว้ดังนี้   กิ่งแก้ว อัตถากร ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมพื้นบ้านคือ “…ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ นิทาน ศิลปะหัตถกรรม ระบำ การเต้นรำ ดนตรี ศาสนา รวมถึงการละเล่นที่ชาวบ้านได้ยึดถือกันมาหลายชั่วอายุคน”… (อุดม เชยกิ่งวงศ์ และ คณะ , ศิลปะและวัฒนธรรม.,2548 : Cool มีทั้งการดำรงชีวิตโดยการประกอบอาชีพทำนา ความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย อยู่รวมกันแบบพี่น้อง  ช่วยเหลือกัน มีน้ำใจต่อกัน  ดังคำกล่าวของสุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมพื้นบ้านได้ให้ความหมายรวมไว้คือ “...แบบอย่างการดำเนินชีวิตของกลุ่มชนที่ถือปฏิบัติร่วมกัน สืบทอดสังคม ศาสนาอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ย่อมเกิดขึ้น คงอยู่ และ เปลี่ยนแปลงอย่างสัมพันธ์กับบริบทของชุมชน และ สังคม...” (อุดม เชยกิ่งวงศ์ และ คณะ ., ศิลปะและวัฒนธรรม.,2548: Cool  สุทธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์ กล่าวไว้ว่า”…วัฒนธรรมเป็นสิ่งละเอียดอ่อนที่มีพลังต่อชุมชนอย่างมหาศาล…”สุทธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์.,เมืองไทยสู่สมัยวัฒนธรรมเฟื่องฟูและสับสน.,ใน งานส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.,2534 : Cool ประเพณีเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสวัสดิภาพในสังคมเพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องหาสิ่งควบคุมเพื่อความสงบสุขของสังคม  ประเพณีจึงเป็นส่วนหนึ่งที่มนุษย์ที่มนุษย์ในแต่ละสังคมได้สร้างขึ้นเป็นกฎเกณฑ์แบบแผนเพื่อจัดระเบียบของสังคม...”(สุทิพย์  แก้วสุข., ศึกษาประเพณีสวดบ้านของชาวบ้านจังหวัดสงขลา .,2546 :3)           
        ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีกลุ่มชนที่พูดภาษาเยออยู่ไม่มากนัก จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มผู้วิจัยพบว่า ชาวเยอที่ยังคงอยู่และรักษาวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างไว้คือ ชาวเยอบ้านขมิ้น ตำบลซำ มีประชากรประมาณ 530 คน และชาวเยอในตำบลโพนค้อทั้ง 6 หมู่บ้านคือ หมู่ 1 บ้านโพนค้อ หมู่ 2 บ้านหนอง หมู่ 3 บ้านย่านาง หมู่ 4 บ้านกลาง หมู่ 5 บ้านโนน และหมู่ 6 บ้านตะวันออก มีประชากรทั้งหมดประมาณ 2,807 คน ประเพณีและวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่ เช่นการ เซ่นไหว้เจ้าปู่เจ้าย่า ( เซนขุหยะจั้วะ ) ก่อนฤดูกาลไถพรวนกลบหน้าดินเพื่อขอฝน ในวันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ไทย ภรรยาที่ดีต้องนำน้ำหอมซึ่งผสมขมิ้น ผสมแป้งใส่ถัง 2 ถัง แล้วหาบไปให้แม่และพ่อของสามีพร้อมอาหาร 1 ปิ่นโต เพื่อเป็นการคารวะ และอาบชำระสิ่งไม่ดีในปีเก่า ทั้งโรคภัยไข้เจ็บ พืชผลเกษตรกรรมที่ไม่ไดั้ดั่งความตั้งใจให้หมดสิ้นไป และพบแต่สิ่งดีๆในปีใหม่ไทย แต่วัฒนธรรม ประเพณีหลายอย่างก็ลบเลือนหายไปตามกาลเวลา...”( พิชิตชัย อินทอง.,อนุวัฒน์ รุเชียรชัย.,ศึกษาวิจัย ความคิดเห็นของชาวเยอในตำบลโพนค้อ  ต่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต.,2549 )
        จากสภาพสังคมปัจจุบัน ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นไม่ได้ให้ความสนใจกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี อันเป็นมรดกประจำท้องถิ่นของตนเท่าที่ควร ยังผลให้ประเพณีหลายอย่างถูกละเลยในการยึดถือปฏิบัติไปมาก ...”(สุทิพย์ แก้ว สุข., ศึกษาประเพณีสวดบ้านของชาวบ้านจังหวัดสงขลา.,2546:7) ภาษา วัฒนธรรม ประเพณีชาวเยอ ในตำบลโพนค้อซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้สื่อสาร และ สืบทอดกันมาอย่างช้านานจนถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของชาวบ้านในท้องถิ่นนี้   ดังที่กล่าวแล้วว่าวัฒนธรรม ประเพณี ภาษาพื้นบ้านย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการของสังคม ซึ่งเป็นผลให้สิ่งที่บรรพบุรุษสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกำลังจะเลือนหาย และหาดูได้ยากในปัจจุบันนี้...”( พิชิตชัย อินทอง.,อนุวัฒน์ รุเชียรชัย.,ศึกษาวิจัย ความคิดเห็นของชาวเยอในตำบลโพนค้อ ต่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต.,2549 )
        ด้วยเหตุผลดังกล่าว กลุ่มผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัย ความคิดเห็นของชาวเยอในตำบลโพนค้ออำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ ต่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต  ในเขตพื้นที่ตำบลโพนค้อ  ซึ่งมีเอกลัษณ์เฉพาะ เพื่อเป็นแนวทางช่วยให้เข้าใจถึงลักษณะความเป็นมา แหล่งที่มาของชาวเยอ ลักษณะของคำในการสื่อสารรวมถึงวิธีการดำเนินชีวิต การแต่งกายพื้นบ้าน การละเล่น การแสดง อันสื่อถึงชีวิตความเป็นอยู่ อย่างเป็นระบบ ทั้งยังเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการศึกษาให้กับชนรุ่นหลังของชาวเยอ ในตำบลโพนค้อ สืบไปในอนาคต
ความมุ่งหมายของการศึกษาวิจัย
        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ให้ทราบถึงความคิดเห็นของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ต่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต
           1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นความต้องการ ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ให้เกิดความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตกาลของชาวเยอในตำบลโพนค้อ
            2. เพื่อรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีชาวเยออันดีงามของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักและคงอยู่สืบไป
ความสำคัญของการวิจัย
         ผลของการศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านชาวเยอในตำบลโพนค้อ มีความสำคัญดังนี้
         เพื่อให้มีแหล่งศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่พูดภาษาเยอ อันจะช่วยให้ชาวบ้านในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาสังคมได้ ทั้งยังทำให้ผู้อ่านงานวิจัยนี้ได้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมพื้นบ้านในตำบลโพนค้อ และเกิดความสนใจในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภาษาพื้นบ้าน ในสังคมแต่ละแห่งอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับสังคม เพื่อให้วัฒนธรรมของชาวเยอในตำบลโพนค้อเป็นที่รู้จัก และเผยแพร่ต่อๆไปไม่ให้ลบเลือนและสูญหาย
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
        การศึกษาวิจัยความคิดเห็นของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ต่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต กลุ่มผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษาดังนี้
           ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
         การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้เลือกตำบลโพนค้อได้แก่ หมู่ 1 บ้านโพนค้อ หมู่ 2 บ้านหนอง หมู่ 3 บ้านยานาง หมู่ 4 บ้านกลาง หมู่ 5 บ้านโนน และหมู่ 6 บ้านตะวันออก ซึ่งมีประชากรประมาณ 2,807 คน ...”(ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่พัฒนากรชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ) กลุ่มผู้วิจัยทำการแจกแบบสอบถามแบบเจาะจง ( Definite ) เฉพาะในตำบลโพนค้อ 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่  1, หมู่ที่ 2 ,หมู่ที่ 3 ,หมู่ที่ 4 ,หมู่ที่ 5 ,หมู่ที่ 6  รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 ตัวอย่าง ตามเกณฑ์การกำหนดกลุ่มตัวอย่างของจำนวนประชากร ...”(ศักดิ์ชัย ยอดมีกลิ่น.,เอกสารการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อการบริหารงานอุตสาหกรรม.,2548:58 )   
           ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
            1.   ตัวแปรต้น ( ตัวแปรอิสระ ) คือ เพศ  อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา ของประชากรในตำบลโพนค้อ
2.   ตัวแปรตาม คือ ความคิดเห็นของชาวเยอในตำบลโพนค้อ ต่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต
       2.1 ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อการส่งเสริมเผยแพร่วัฒนธรรมชาวเยอในตำบลโพนค้อ
       2.2  ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งแหล่งข้อมูล หรือพิพิธภัณฑ์ในตำบลโพนค้อ
       2.3  ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรวัฒนธรรมเยอในตำบลโพนค้อ
       2.4  ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อการให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเยอแก่ชนรุ่นหลังและชาวตำบลโพนค้อ
       2.5  ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อสนับสนุนการจัดกิจกรรม การแสดงทางวัฒนธรรมชาวเยอในตำบลโพนค้อ
ขอบข่ายของการวิจัย
        ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะทำการศึกษาวิจัย ความคิดเห็นของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ต่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ในด้านต่างๆดังนี้
1.   การส่งเสริมเผยแพร่วัฒนธรรมชาวเยอในตำบลโพนค้อ
      1.1 ควรมีการจัดตั้งวิทยุชุมชนให้ความรู้ด้านวัฒนธรรมเยอ และภาษาเยอในตำบลโพนค้อ
       1.2 ควรมีการติดป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาเยอในแหล่งชุมนุมชนและที่สาธารณะ
2.   การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งแหล่งข้อมูลหรือพิพิธภัณฑ์ในตำบลโพนค้อ
        2.1  ควรมีการจัดตั้งสถานที่แสดง ประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ
3.   การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรวัฒนธรรมเยอในตำบลโพนค้อ
4.   การให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเยอแก่ชนรุ่นหลังและชาวตำบลโพนค้อ
5.   สนับสนุนการจัดกิจกรรม การแสดงทางวัฒนธรรมชาวเยอในตำบลโพนค้อ

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.      ชาวเยอ หมายถึง ประชาชนกลุ่มเล็กๆ หรือ ชนเผ่าๆหนึ่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีประเพณี วัฒนธรรมสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.   ตำบลโพนค้อ คือ ตำบลหนึ่งอยู่ในอำเภอเมืองศรีสะเกษ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ไปทางถนนสาย ศรีสะเกษ – กันทรลักษณ์ ประชาชนส่วนมากในท้องถิ่นพูดภาษาเยอ
3.   การ เซ่นไหว้เจ้าปู่เจ้าย่า ( เซนขุหยะจั้วะ ) คือการ เซ่นไหว้เจ้าปู่เจ้าย่าก่อนการไถพรวนกลบหน้าดินเพื่อขอฝนก่อนถึงฤดูไถพรวน
4.   ภาษา “เขมร” คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันภายในจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนมากจะมีแถวหมู่บ้าน ตำบล อำเภอที่อยู่ติดเขตุแนวชายดนกัมพูชา เช่น อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอภูสิงห์ อำเภอไพรบึง เป็นต้น
5.    ภาษา “ส่วย” คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันภายในจังหวัดศรีสะเกษ จะมีที่อำเภอเมืองบางตำบล อำเภอไพรบึงบางตำบล อำเภอปรางค์กู่บางตำบล
6.   ภาษา “ลาว” คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันภายในจังหวัดศรีสะเกษ จะมีอยู่ทั่วไปทุกอำเภอ จะเป็นภาษาที่นิยมพูดจาสื่อสารกันทั้งคนรุ่นเก่าและร่นใหม่
7.   ภาษา “เยอ” คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันภายในจังหวัดศรีสะเกษ จะมีที่อำเภอราษีไศลบางหมู่บ้าน อำเภอไพรบึงบางหมู่บ้าน และอำเภอเมืองมีอยู่สองหมู่บ้าน คือ บ้านขมิ้น และบ้านโพนค้อ
8.   พิพิธภัณฑ์ หมายถึง สถานที่ที่จัดแสดง ประวัติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ร่วมจัดตั้งได้จัดแสดง แหล่งแสดงของเก่าที่หาได้ยากและควรค่าต่อการอนุรักษ์ แหล่งแสดงวิถีชีวิตเก่าแก่ของชาวพื้นเมืองหรือพื้นบ้านนั้นๆ
9.   ความคิดเห็น หมายถึง การคิดการแสดงออกต่อเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมา
9.1   ความคิดเห็นของชาวเยอในตำบลโพนค้อ ต่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต หมายถึง การคิดการแสดงออกในเรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
9.2   ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อการส่งเสริมเผยแพร่วัฒนธรรมชาวเยอในตำบลโพนค้อหมายถึง การคิดการแสดงออกในเรื่องการส่งเสริมเผยแพร่วัฒนธรรมชาวเยอ ของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

9.3   ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งแหล่งข้อมูล หรือพิพิธภัณฑ์ในตำบลโพนค้อ หมายถึง การคิดการแสดงออกในเรื่องการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งแหล่งข้อมูล หรือพิพิธภัณฑ์ ของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
9.4   ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรวัฒนธรรมเยอในตำบลโพนค้อ หมายถึง การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรวัฒนธรรมเยอของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

9.5   ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อการให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเยอแก่ชนรุ่นหลังและชาวตำบลโพนค้อ หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเยอแก่ชนรุ่นหลังของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
9.6   ความคิดเห็นของชาวเยอ ต่อการสนับสนุนการจัดกิจกรรม การแสดงทางวัฒนธรรมชาวเยอในตำบลโพนค้อ หมายถึง การสนับสนุนการจัดกิจกรรม การแสดงทางวัฒนธรรม ของชาวเยอในตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
วิธีการดำเนินศึกษาค้นคว้า
       การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้กลุ่มผู้วิจัยใช้ระเบียบเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการศึกาค้นคว้าตามลำดับต่อไปนี้
1.   ขั้นสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการสำรวจและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัยจากแหล่งเอกสารต่างๆ เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและกำหนดแนวทางในการเขียนเค้าโครงวิจัย
2.   ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม กลุ่มผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในแหล่งพื้นที่ศึกษาตามที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีแจกแบบสอบถามและเก็บรวบรวม การจดบันทึก  การสังเกต การเก็บภาพประกอบ การถ่ายภาพประกอบ ส่วนการสังเกตจะใช้วิธีการจดบันทึกและถ่ายภาพประกอบ       
 3.  ขั้นจัดกระทำข้อมูล ผู้วิจัยจะดำเนินการดังนี้
         3.1  นำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการจดบันทึก สรุปสาระสำคัญตามประเด็นที่กำหนดไว้ในขอบเขตด้านเนื้อหา
       3.2  นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็น และสังเกต ซึ่งได้จดบันทึกไว้มาสรุปสาระสำคัญตามขอบเขตด้านเนื้อหา
       3.3  นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมดมาตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์แล้วศึกษาวิเคราะห์ตามขอบเขตด้านเนื้อหาที่กำหนด
       3.4  นำภาพประกอบมาพิจารณาถึงความชัดเจนและความเหมาะสมกับเนื้อหาเพื่อใช้เป็นภาพประกอบในงานวิจัยเรื่องนี้
  4.  ขั้นเสนอผลการศึกษาค้นคว้า เสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์และมีภาพประกอบ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!