BUS คืออะไร.? มาทำความเข้าใจกันครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 28, 2024, 09:11:08 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: BUS คืออะไร.? มาทำความเข้าใจกันครับ  (อ่าน 19492 ครั้ง)
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2007, 09:37:55 PM »

BUS คืออะไร.?

เราเริ่มมองที่ความหมายของคำว่า BUS ก่อน  สำหรับความหมายของคำว่า BUS ในภาษาอังกฤษก็คือ รถเมล์ หรือ รถบัส นั่นเอง

แล้ววัตถุประสงค์ในการใช้ BUS ละ แน่นอน ย่อมหมายถึงการใช้สำหรับการขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจำนวนมากๆ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยนัยแล้ว สิ่งที่ขนส่งก็คือ " คน " ปริมาณมากๆ ในคราวเดียวกัน.

แล้ว BUS มาเกี่ยวข้องกับ ระบบคอมพิวเตอร์ ได้อย่างไร.?

ความหมายนี้ เป็นอย่างเดียวกัน คือใช้สำหรับขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจากจุดหนึ่ง ไปยัง อีกจุดหนึ่ง โดยนัยแล้ว สิ่งที่ขนส่งก็คือ " สัญญานไฟฟ้า " หรือ เรียกง่ายๆ ว่า " ข้อมูล " นั่นเอง.

แล้ว BUS ในระบบคอมพิวเตอร์ หน้าตามันเป็นอย่างไร ?

ก็เมื่อ BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราๆ ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญานไฟฟ้ามักเป็น " ทองแดง "  ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้น บ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า " ระบบบัส " หรือ " BUS SYSTEM "

แล้ว BUS แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?

โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ

1. ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์

2. CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

3. DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุมโดย Control bus

หมายเหตุ : แล้ว FSB : Front Side Bus คืออะไร ? คำว่า Front Side Bus หรือ FSB เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้สำหรับการกำหนดความเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรง ซึ่งโดยปกติการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น CPU จะทำงานโดยอาศัยหน่วยความจำ ( RAM ) เป็นเสมือนหนึ่ง " โต๊ะทำงาน " และ " ถังพักข้อมูล " ในการทำงาน เมื่อ CPU มีความเร็วในการทำงานที่สูง เมื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรงกับ หน่วยความจำที่เป็น RAM จึงแทบไม่ต้องอยู่ในสถานะที่รอคอย ( Wait State ) ข้อมูลในการทำงานมากเหมือนการติดต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นจึงมีการออกแบบและกำหนดสถาปัตยกรรมของการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ ( RAM ) เพื่อความรวดเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรงให้มีความเร็วที่สูงที่สุดเท่าที่ หน่วยความจำนั้นๆ จะตอบสนองการทำงานได้ จึงได้เห็นหน่วยความจำที่มีความเร็วขนาดต่างๆ เช่น FSB266 , FSB333 , FSB400 , FSB533 , FSB667 , FSB800 , FSB1066 เป็นต้น โดยการเลือกความเร็วระดับต่างๆ จำเป็นต้องสอดคล้องกับ CPU ที่ใช้ และ Mainboard ที่ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในด้านความเร็วในการประมวลผล และ คุณจะสังเกตุเห็นได้ว่า Socket สำหรับติดตั้ง หน่วยความจำ ( RAM ) บนเมนบอร์ดนั้นจะอยู่ใกล้กับ CPU มาก และ จาก CPU จะมีช่องทางการต่อเชื่อมถึงหน่วยความจำ ( RAM ) โดยผ่านเส้นลวดตัวนำสัญญานที่สั้นมากนั่นเอง

แล้ว BUS ทำงานอย่างไร ?

เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจร สำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญานประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU , อุปกรณ์ I/O , Port ต่างๆ เป็นต้น

อีกนัยหนึ่งของ BUS มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง โดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น " ถนนสายหลัก " ที่ใช้สำหรับ " เดินทาง " หรือ " ขนส่งข้อมูล " และ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ BUS Network นี้ เป็นเสมือนหนึ่ง " บ้าน " ที่อยู่ใน " ถนนย่อย " ที่แยกออกจากถนนหลัก โดยที่  " ถนนย่อย " ที่แยกแต่ละถนนนั้น จะมี " เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ บ้าน " เพียงหลังเดียวอยู่ที่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น นั่นเอง โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้น จะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ " แยกสัญญาน " หรือ " พ่วงสัญญาน " ที่เรียกว่า MAC ( Media Access Connector ) เป็นตัวเชื่อมต่อและแยกสัญญานให้

หวังว่าคงพอจะมีประโยชน์บ้างนะครับ

เครดิต เจ้าของบทความ : คุณ H2o  แห่งเวป http://www.expert2you.com/


บันทึกการเข้า

xxx_xx
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112


รักให้เป็น รักให้ถูกทาง

tpx_xxx@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2007, 11:11:05 AM »

ขอบคุณครับ สำหรับบทความดีๆ
บันทึกการเข้า
TOMXO
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2007, 11:32:34 AM »

ขอบคุณครับท่าน winai4u    Tongue
บันทึกการเข้า
chen_service
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 280


Manchester United Champions

chen_service@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2007, 08:56:51 AM »

ขอบคุณครับ

ความรู้ไม่มีวันเต็ม
บันทึกการเข้า

สมาชิก สมาคมคนรักครอบครัว
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2007, 09:45:28 AM »

ท่าน วินัย ตอบผิดหรือเปล่า BUS ก็คือ รถเมล์   ฮาฮาฮา...........แซวเล่น
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!