วงจรควบคุมความเร็วของ Universal Motor
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 19, 2024, 06:24:40 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วงจรควบคุมความเร็วของ Universal Motor  (อ่าน 11430 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2007, 06:19:46 PM »

วงจรควบคุมความเร็วของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์

ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ เป็นมอเตอร์ประเภทหนึ่งที่สามารถใช้ระบบไฟได้ทั้งแบบไฟสลับและไฟตรง โดยความเร็วของมอเตอร์ประเภทนี้ขึ้นอยู่กับกำลังไฟที่ให้แก่ตัวมัน ดังนั้นเราจึงสามารถนำเอาไตรแอกหรือเอสซีอาร์มาใช้ควบคุมความเร็วของมอเตอร์ประเภทนี้ได้

โดยทั่ว ๆ ไปแล้วมอเตอร์ประเภทนี้จะระยุความเร็วไว้ค่าเดียว และกำหนดแรงดันของไฟที่ใช้ การใช้ไตรแอกเพื่อควบคุมความเร็วของมอเตอร์จะสามารถทำได้โดยสมบูรณ์โดยใช้วงจรที่แสดงไว้ในรูปที่ 27

รูปที่ 27 การใช้ไตรแอกในการควบคุมความเร็วของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์


บันทึกการเข้า

BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2007, 06:21:19 PM »

วงจรในรูปที่ 27 นี้ ใช้ควบคุมความเร็วของมอเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้กับโหลดไม่มากนัก เช่น เครื่องผสมอาหารหรือเลื่อยขนาดเล็กเป็นต้น แต่สำหรับมอเตอร์ที่ใช้กับโหลดมาก เช่น สว่านไฟฟ้า หรือเครื่องขัดกระดาาทรายเป็นต้นควรจะใช้วงจรอีกแบบหนึ่งที่ใช้เอสซีอารืฃ์ควบคุมดังแสดงไว้ในรูปที่ 28

รูปที่ 28 การใช้เอสซีอาร์ในการควบคุมความเร็วของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์


เอสซีอาร์จะทำหน้าที่ควบคุมกำลังไฟฟ้าที่จะป้อนให้แก่มอเตอร์ โดยป้อนไปให้ในลักษณะครึ่งรูปคลื่น ซึ่งจะทำให้กำลังและความเร็วของมอเตอร์ลดลงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่าวงจรนี้ประกอบด้วย R1, R2 และ D1 เป็นตัวกำหนดของการกระตุ้นที่เฟสไม่เกิด 90 องศา ซึ่งเป็นช่วงที่แรงบิด (Torque) ของมอเตอร์มีค่าสูง และสิ่งนี้เองที่จำเป็น จะต้องใช้เอสซีอาร์ในการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ที่โหลดมากหรือต้องการแรงบิดมากนั่นเอง เพราะในกรณีนี้ที่ความเร็ว ของมอเตอร์ถึงแม้จะต่ำแต่ก็ยังมีแรงบิดสูง ซึ่งต่างจากการใช้ไตรแอก ถ้ามีความเร็วเท่ากันแต่แรงบิดจะต่ำกว่ามาก เนื่องจากตำแหน่งของเฟสที่ใช้กระตุ้นไตรแอกให้ทำงานนั้นเกิน 90 องศา ทำให้แรงบิดต่ำลงนั่นเอง

http://electronics.se-ed.com/contents/092s271/092s217_p07.asp

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!