การบูสท์ใส้หลอดภาพ CRT
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การบูสท์ใส้หลอดภาพ CRT  (อ่าน 67640 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 02:07:01 PM »

ก่อนที่จะทำการบูสท์ใส้หลอดภาพ เราต้องแน่ใจก่อนว่าวงจรR-G-B drive ,ระบบไฟแรงสูง อยู่ในสภาพดี
อาการเสียที่บูทส์ไฟใส้หลอดแก้ได้ส่วนมากจะเป็นอาการภาพไม่สว่าง ทึมๆ (ไม่เกี่ยวกับ ABL) หรือภาพไม่เป็นสีขาว (ปรับแล้ว) อาการดังกล่าวนี้ต้องเลือกใช้ให้ถูกว่าจะบูสท์หรือจะยิงจอ เพราะบางอาการยิงจอแล้วจะใช้ได้ผล.
การบูสท์ที่ดีนั้นอย่าบูสแรงไฟสูงเกินไป อายุการใช้งานของหลอดภาพก็จะสั้นตามมา
 

อ่าน หลอดภาพและการทำงานได้ที่ลิงค์นี้ครับ  Tongue
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=13503.0


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 02:08:36 PM »

ในทีวีแต่ละรุ่นต่ละสมัยจะใช้ไฟสลับจากฟลายแบคมาจุดใส้หลอด (ยกเว้นทีวีขาวดำและจอมอนิเตอร์แทบทุกรุ่นจะจุดไส้หลอดมาจากภาคจ่ายไฟโดยตรง) ทีวีขาวดำรุ่นเก่าๆมักจะใช้แรงดันประมาณ 6 โวลท์จุดไส้หลอด แต่ทีวีรุ่นใหม่ๆจะใช้ประมาณ 3 โวลท์กว่าๆเท่านั้น ดังนั้นก่อนทำการบูสท์ใส้หลอดควรวัดโวลท์ของเดิมก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันการบูสท์ด้วยโวลท์ที่สูงเกินไป อาจทำให้ใส้หลอดภาพขาดได้
อ่านเรื่องการวัดไฟกระแสสลับที่มีความถี่ต่างๆกันด้วยมัลติมิเตอร์และสโคป ได้ที่ลิงค์นี้
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 02:11:22 PM »

(ประกอบความรู้ในหัวข้อนี้)
โวลท์มิเตอร์กับการวัดแรงดันกระแสสลับ ในรูปคลื่นต่างๆกัน เอาแบบย่อๆนะครับ
แรงดันไฟฟ้าที่มีระดับเท่ากัน(วัดด้วยออสซิลโลสโคป) แต่เมื่อนำมาวัดด้วยมัลติมิเตอร์ จะวัดแรงดันได้ไม่เท่ากัน อาทิเช่น
- รูปคลื่นไซน์เวฟ จะวัดได้ 5 โวลท์ RMS.
- รูปคลื่นสามเหลี่ยม จะวัดได้ 4 โวลท์ RMS.
- รูปคลื่นไซน์เวฟ จะวัดได้ 8 โวลท์ RMS.
 จะเห็นได้ว่าคลื่นทางฮอร์จะเป็นทรอปิซอยด์ (คลื่นสี่เหลี่ยมคางหมู) จะให้โวลท์ที่สูงกว่าซายน์เวฟอย่างแน่นอน

นอกจากนี้แล้ว มัลติมิเตอร์ใช้วัดแรงดันไฟฟ้า ที่ค่าความถี่ต่างๆจะวัดได้ไม่เท่ากันด้วย สมมุติที่ความถี่ 50 hz. จะวัดได้ 5 โวลท์RMS. แต่ที่ความถี่ 30 khz. กลับวัดได้ 7 โวลท์เป็นต้น

หากท่านใดยังไม่เข้าใจ ลองไปทบทวนความรู้เก่าๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บ้าง จะทำให้งานซ่อมของเราลุล่วงได้ดียิ่งขึ้นครับ ..


บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 02:14:10 PM »

ที่จริงแล้ว การบูสท์ไฟใส้หลอดภาพจะเขียนให้อ่านจบภายใน 1 นาทีก็ย่อมกระทำได้ แต่ใน EON49.COM เราต้องการเสริมความรู้พื้นฐานของนศ.ให้แน่นยิ่งขึ้น เพื่อจะได้นำความรู้ที่พึงเรียนรู้ได้ไปใช้งานในการประกอบวิชาชีพจริง ซึ่งวิชาชีพนี้หากท่านใดมีพื้นฐานที่แน่นก็ย่อมได้เปรียบกว่าผู้ที่ซ่อมโดยขาดความเข้าใจ.
...คราวนี้ปฏิบัติจริงแล้วนะครับ  ลองเปิดเครื่องที่มีปัญหาครับ จะเห็นว่าแม้จะปรับBRIGHTและ  CONTRAST เต็มที่แล้ว ภาพที่ได้ก็ยังทึมๆ ไม่น่าดู
 
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 02:15:20 PM »

เพือประหยัดเวลางานซ่อม ควรทดลองใช้แรงไฟภายนอกที่ปรับค่าได้มาทดสอบดูก่อนว่าได้ผลหรือไม่
..ให้ตัดสายไฟสีเทา ที่ต่อวงจรใส้หลอดออก ดังภาพ
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 02:17:37 PM »

จากนั้นจึงนำสายบวกของregulterภายนอกต่อเข้าจุด B.สายสีเทา กับ GND.ของทีวี   แล้วทดสอบเปิดทีวี ปรับโวลท์ขึ้นเรื่อยๆ (อย่าให้เกิน 9 โวลท์)
เมื่อปรับโวลท์ขึ้นถึงระดับหนึ่ง สมมุติว่าเป็นที่ประมาณ 6.5 โวลท์ แล้วภาพชัดขึ้นมาก ก็เพียงพอแก่การทดสอบแล้วว่าหลอดภาพเสื่อมอย่างแน่นอน พร้อมที่จะบูทส์แรงไฟใส้หลอดด้วยฟลายแบค

..ถ้าเพิ่มแรงดันสูงเกิน 9 โวลท์แล้วภาพไม่เปลี่ยนแปลงใดๆเลย แสดงว่าจุดเสียอาจไม่ใช่ที่หลอดภาพ ...หรืออาจต้องวิธียิงจอแทนครับ 
 
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 02:19:22 PM »

เมื่อมั่นใจว่าการบูสท์ใส้หลอดมาถูกทางแล้ว ทำตามขั้นตอนต่อไป ...
 
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 02:20:24 PM »

จับไปต่ออนุกรมกับสายเดิมที่ตัดออก
..ตรงนี้ควรวัดโวลท์ที่ใส้หลอดด้วยครับ เพราะหากสายสลับเฟสโวลท์ก็จะตกกว่าเดิม  ..ต้องต่อให้ถูกเฟสด้วยนะครับจึงจะได้โวลท์สูงขึ้น ในกรณีนี้จะได้โวลท์เพิ่มขึ้น 1 โวลท์กว่าๆ(ขึ้นอยู่กับทีวียี่ห้อหรือรุ่นนั้นๆด้วยต้องทดลองเองครับ) ซึ่งภาพชัดขึ้นเยอะแล้วครับ หากไม่พอใจก็เพิ่มรอบที่แกนทอรอยด์อีกได้ แต่หลอดภาพก็จะมีอายุสั้นลงด้วย..
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 02:22:24 PM »

เมื่อต่อเสร็จแล้วให้ทำการปรับแต่งไบอัสของ R-G-Bdrive ซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้ได้ความบริสุทธิ์ของแสงสีขาวที่สมบูรณ์ที่สุด
..หากหลอดภาพยังไม่เสื่อมมากนัก หลอดภาพนี้ก็ยังสามารถใช้ได้อีกนานพอสมควร (ควรแจ้งลูกค้าด้วยว่าบูทส์ใส้หลอด ไม่ใช่เปลี่ยนหลอดภาพ)  
....ขอให้เพื่อนช่างสำเร็จผลในงานซ่อมนะครับ   Tongue Smiley
บันทึกการเข้า
hs8iuf
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2007, 08:01:45 AM »

ขอบคุณมากมายใน น้ำใจอันงดงามครับ
บันทึกการเข้า
abdul+
สนับสนุนLSV+
member
***

คะแนน103
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 483


« ตอบ #10 เมื่อ: มีนาคม 19, 2010, 04:05:22 PM »

เพือประหยัดเวลางานซ่อม ควรทดลองใช้แรงไฟภายนอกที่ปรับค่าได้มาทดสอบดูก่อนว่าได้ผลหรือไม่
..ให้ตัดสายไฟสีเทา ที่ต่อวงจรใส้หลอดออก ดังภาพ
ถึงตรงนี้ครับ
บันทึกการเข้า
dekwat♥
member
*

คะแนน458
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 303



« ตอบ #11 เมื่อ: มีนาคม 19, 2010, 07:19:58 PM »

ขอบคุณพี่เล็กมาก ๆ ครับ โดยส่วนตัวไม่ใช่ช่างและไม่เคยซ่อมทีวี
  การนำเสนอดีอ่านแล้วเพลิน+ได้ความรู้ด้วย
บันทึกการเข้า
maragus+
สนับสนุนLSV+
member
***

คะแนน100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 340


« ตอบ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 09:54:12 PM »

ไม่เข้าใจ (ที่ว่า นำสายบวกของregulterภายนอกต่อเข้าจุด B.สายสีเทา กับ GND.ของทีวี)สายสีเทา กับ GND.ของทีวี    คือสายเส้นไหน
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 10:14:30 PM »

ต้องเป็นทีวีรุ่นเดียวกันนะครับ สีของสายจะได้เหมือนตัวอย่าง

  ไฟบวกจากแหล่งจ่ายไฟภายนอก ต่อเข้าที่ลูกศรสีแดงชี้
  ส่วนไฟลบจากแหล่งจ่ายไฟภายนอก  ต่อเข้าที่กราวด์ของทีวีครับ  HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
maragus+
สนับสนุนLSV+
member
***

คะแนน100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 340


« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 10:36:19 PM »

ขอบคุณครับ เข้าใจแล้วครับ HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
sombat c ♥
วีไอพี
member
***

คะแนน41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 261


ตอบผิดก็ขออภัยไม่มีอะไรแค่อยากช่วยและพัฒนาตนเอง


« ตอบ #15 เมื่อ: มกราคม 14, 2014, 10:26:35 AM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด
disc34
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน25
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11


อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: เมษายน 16, 2015, 03:02:15 PM »

ขอบคุณมากเลยครับ lv!
บันทึกการเข้า
jikko+
สนับสนุนLSV+
member
***

คะแนน103
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 67


« ตอบ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2016, 01:04:07 AM »

 เยี่ยมมาก เยี่ยมมากสวัสดีคับ..อาจารย์..สายไฟที่ต่อเข้ากับแกนไฟแบคนั้นจะต่ออนุกรมกับสายไฟที่ตัดออก(A)และปลายสายต่อเข้ากับจุดBใช่ไหมคับ... ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2016, 08:05:02 AM »

ไฟแบค เขียนผิดนะครับ
  ต้องเขียนว่า ฟลายแบค ครับ


...
จะต่ออนุกรมกับสายไฟที่ตัดออก(A)และปลายสายต่อเข้ากับจุดBใช่ไหม

ใช่ครับ แต่ต้องต่อให้ถูกเฟสด้วย
-ต่อถูกเฟส ได้ไฟเพิ่ม

-ต่อผิดเฟส ไฟลดลง    HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
jikko+
สนับสนุนLSV+
member
***

คะแนน103
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 67


« ตอบ #19 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2016, 09:17:39 PM »

จัดเจนดีคับ...ขอบคุนคับ lv! lv! lv!
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: