Panasonic TC-14B1 กินฮอร์
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 17, 2024, 06:44:14 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Panasonic TC-14B1 กินฮอร์  (อ่าน 9340 ครั้ง)
Boon
วีไอพี
member
***

คะแนน15
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2007, 10:03:15 PM »

อาการเริ่มแรกของเครื่องนี้ เจ้าของบอกว่าภาพมันหดด้านบนกับล่าง ค่อยๆเล็กลงแล้วก็ดับไป เปิดใหม่ก็เป็นอีกเหมือนเดิม ผมจึงขอทดสอบดูบ้าง ผลก็คือเครื่องไม่ทำงาน ผมจึงยกมาซ่อม จากสันนิษฐานเริ่มแรกคิดว่าน่าจะมาจากภาคเวอร์ ไม่ไอซีก็โย๊ค แต่ผลที่ตรวจวัดได้คือ H.out ช๊อร์ต ถอด H.out ออกลองวัดไฟที่ขา C ได้  140 V ตามที่วงจรกำหนด และเครื่องสามารถสั่งปิดเปิดรีโมทได้ กดเปลี่ยนช่องได้ มีเสียง แต่ไม่มีภาพ (ก็แน่ละ)  เลยเปลี่ยน H.out ตัวใหม่ พร้อมกับถอดสายโย๊คออก ผลก็คือเปิดเครื่องไม่ถึง 10 วินาที H.out ไปอีกแล้วและจับดูก็ร้อนมาก ครั้งที่สองเลยเปลี่ยน C แดมป์และอุปกรณ์ตัวอื่นๆ รอบๆชุด H.out ใส่ ทรานซิสเตอร์เข้าไปอีกรอบ ผลก็เหมือนเดิมทุกประการ มันไปอีกแล้ว ตอนนี้ผมเตรียมคริสตอลกับอุปกรณ์ชุดความถี่ไว้ลองอีกครั้งอยู่ แต่ยังไม่ได้ทดลอง เพราะทดลองวัด Flyback ดูตามตำแหน่งที่วงจรเขียนเอาไว้แล้วมันเพี้ยน เลยเอะใจ แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าวงจรที่เขียนมาถูกต้องไหม เลยอยากขอความกรุณาช่างที่ชั่วโมงบินสูงๆ (ไม่สูง แต่เคยผ่านแล้วก็ได้ครับ) ช่วยวิเคราะห์อีกทีครับ และนี่เป็นผลการวัดที่ผมวัดได้ครับ
Flyback เบอร์ TLF15626F
ขาที่            ผลการวัด

9 กับ 10          เข็มมิเตอร์ขึ้น
1 กับ 7            เข็มมิเตอร์ไม่ขึ้น
5 กับ 8            เข็มมิเตอร์ขึ้น
จากนั้นผมใช้เข็มมิเตอร์จับที่ขา 6 เป็นหลัก แล้วใช้สายที่เหลือแตะที่
ขา 2   เข็มมิเตอร์ไม่ขึ้น
ขา 8   เข็มมิเตอร์ขึ้น   (สงสัยว่าทำไมเข็มมิเตอร์ถึงขึ้น)
ขา 5   เข็มมิเตอร์ขึ้น   (สงสัยว่าทำไมเข็มมิเตอร์ถึงขึ้น)
ขา 4   เข็มมิเตอร์ขึ้น
ขา 3   เข็มมิเตอร์ไม่ขึน
สรุปให้ทีครับว่า FBT เจ๊งไปแล้ว


บันทึกการเข้า

BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2007, 10:07:14 PM »

ทดสอบการกินกระแสทางฮอร์

นำฮอร์เอ้าท์ตัวใหม่ที่คุณภาพคับกล่อง โดยให้ขา B-E ต่อลงปริ้นท์ตามปกติ และให้ลอย ขา C ไว้
แล้วนำหลอดไฟ 200W มาต่อที่ขา C ฮอร์ที่ลอยไว้ ส่วนปลายสายอีกด้าน ต่อลงปริ้นท์ตำแหน่ง
ขา C ฮอร์เอ้าท์ แล้วเปิดเครื่อง ให้สังเกตุหลอดไฟที่โหลดไว้ว่าเป็นเช่นไร...

ถ้าหลอดไฟสว่างจ้า เหมือนเปิดไฟงานวัด ก็สรุปได้ทันทีว่าตัวที่มันทรยศคือ เจ้าฟลายแบ็กนั่นเองครับ.....

อ้อ.....อย่าลืมเช็คความถี่ฮอร์เอ้าท์ด้วยนะคร๊าบ....................... Grin Grin Grin

 Cool Cool
บันทึกการเข้า
sawai
วีไอพี
member
***

คะแนน95
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 475


ขยันอดทน ทำงาน ทำงาน หาเงิน สำหรับครอบครัว


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2007, 10:13:33 PM »

 Cheesy สุดยอด Smiley Smiley
บันทึกการเข้า

ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2007, 01:32:46 PM »

นึกไม่ออกว่าแท่นอะไร แต่เปลี่ยนคลิสตอลก่อนแล้วกัน อย่าลืมบัคกรีแถ้วฮอร์ไดร้ว์ทุกจุดแล้วกัน พานาฮอร์เอ้าท์ช๊อตมาอันดับหนึ่งคือฮอร์ไดร้ว์หลวม
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
sutit patsing
member
*

คะแนน19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


อยู่อย่างต่ำแต่ทำประโยชย์อย่างสูง

sutitpa@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2007, 02:49:22 PM »

ตอนที่ไส่ HOR.OUT ได้ไส่ YORK เข้าไปด้วยหรือเปล่าครับ...
บันทึกการเข้า
udomsak
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2007, 02:06:44 PM »

ช่วยบอกแท่นด้วยครับว่าแท่นอะไร หรือใช้ IC JUNGLEเบอร์อะไร
แต่ถ้าให้เดาน่าจะเป็นแท่น MX 1หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เพชร กม.8
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2007, 02:28:20 PM »

 Wink  ตัวหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ C คับปลิ้ง สัญญาณ Hor  นะครับ
บันทึกการเข้า
prom jantapho
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน413
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4845


ทำดีเท่าที่ทำได้


« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2007, 04:16:52 PM »

ที่ผมเคยเจอเกิดจากไฟ B+ 140V นั้นแหละครับ  ปกติแล้วตอนที่ท่านโหลดกับหลอดไฟได้ B+ 140V ตรงพอดี
แล้วท่านลองทิ้งไว้สักพักให้  หรือว่าทำการวัดเทียบกับมิเตอร์ตลอดจะเห็นการเปลี่ยนแปลงคือจะมีการสวิงไฟ B+ 140V
เป็นช่วงๆแล้วไม่แน่ว่าไปอยู่ในช่วงไหน  บางครั้งขึ้นไปที่ 145-150 V ก็มีแล้วแต่ 
เกิดจากภาคจ่ายไฟนั้นแหละครับยังทำผิดปกติอยู่  หากว่าไฟ B+ 140V  ดี 10 นาที่ก็จะต้องได้เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
หากมีการเปลี่ยนแปลงก็คงไม่แค่สัก 1-2 V เท่านั้นแหละครับ
บันทึกการเข้า

สามารถติดต่อได้ที่ 0841987970
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!