พิมพ์หน้านี้ - การนอนหลับ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => วิทยาศาสตร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: nongtop ที่ เมษายน 08, 2016, 01:25:19 PM



หัวข้อ: การนอนหลับ
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 08, 2016, 01:25:19 PM
ก็ไม่เข้าใจมานานแล้วนะครับว่าเรานอนแล้วจะมีการทำงานอะไรเกิดขึ้นบ้าง ลองเข้าไปหาข้อมูลดู ได้คำตอบแล้วก็เลยเอามาแบ่งปันกันครับ  smiley4


หัวข้อ: กลไกการนอนหลับ
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 08, 2016, 01:52:15 PM
(http://upic.me/i/5k/d96145238.jpg) (http://upic.me/show/58254876)


เมื่อความมืดมาเยือนเซลล์ที่จอภาพ[retina] จะส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใน hypothalamus ซึ่งจะเป็นที่สร้างสาร melatonin สาร melatonin สร้างจาก tryptophan ทำให้อุณหภูมิลดลงและเกิดอาการง่วง การนอนของคนปกติแบ่งออกได้ดังนี้

การนอนช่วง  Non-rapid eye movement {non- (REM) sleep} การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาการ และมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone การนอนช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่

Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า

Stage 2 (so-called true sleep).ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles

Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ delta waves และ Stage 4ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุดตาจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย
การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาที หลังจากนอนช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว ชีพขจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้

เราจะใช้เวลานอนร้อยละ50ใน Stage 2 ร้อยละ 20ในระยะ REM ร้อยละ30 ในระยะอื่นๆ การนอนหลับครบหนึ่งรอบใช้เวลา 90-110นาที คนปกติต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมงโดยหลับตั้งค่ำจนตื่นในตอนเช้า คนสูงอายุการหลับจะเปลี่ยนไปโดยหลับกลางวันเพิ่มและตื่นกลางคืน จำนวนชั่วโมงในการนอนหลับแต่ละคนจะไม่เหมือนกันบางคนนอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมงโดยที่ไม่มีอาการง่วงนอน


หัวข้อ: การนอนหลับจำเป็นอย่างไรต่อร่างกาย
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 08, 2016, 01:53:34 PM
(http://upic.me/i/9y/3j211.jpg) (http://upic.me/show/58254879)

 ร่างกายเราเหมือนเครื่องจักรทำงานตลอดเวลาการนอนเหมือนให้เครื่องจักรได้หยุดทำงาน สะสมพลังงานและขับของเสียออก การนอนจึงจำเป็นสำหรับร่างกายมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีการศึกษาว่าการนอนไม่พอจะมีอันตรายการประสานระหว่างมือและตาจะเหมือนกับผู้ที่ได้รับสารพิษ ผู้ที่นอนไม่พอหากดื่มสุราจะทำให้ความสามารถลดลงอ่อนเพลียมาก การดื่มกาแฟก็ไม่สามารถทำให้หายง่วง

มีการทดลองในหนูพบว่าหากนอนไม่พอหนูจะมีอายุสั้น ภูมิคุ้มกันต่ำลง สำหรับคนหากนอนไม่พอจะมีอาการง่วงและไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ความสามารถในการคำนวณด้อยลง หากยังนอนไม่พอจะมีอาการภาพหลอน อารมณ์จะแกว่ง การนอนไม่พอเป็นสาเหตุของอุบัติต่างๆ เชื่อว่าเซลล์สมองหากไม่ได้นอนจะขาดพลังงานและมีของเสียคั่ง นอกจากนั้นการนอนหลับสนิทจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (growth hormone)


หัวข้อ: 10 ข้อดีของการนอนก่อน 4 ทุ่ม
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 08, 2016, 01:55:27 PM
(http://upic.me/i/iv/wakeup570-20131017-143905.jpg) (http://upic.me/show/58254881)

โดย นพ.กฤษดา เล่าให้ฟังถึงผลเสียของการนอนดึกว่า ทำให้ 5 อวัยวะหลักเสื่อมเร็วขึ้น ทั้ง สมอง หัวใจ หลอดเลือด ต่อมไร้ท่อ และภูมิคุ้มกันร่างกาย แต่ถ้าปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นคนนอนเร็วขึ้น ตั้งแต่ 4 ทุ่มเป็นต้นไปจนถึงก่อนเที่ยงคืน ซึ่งเป็นนาทีทอง ก็จะช่วยให้มีสุขภาพดีขึ้นถึง 10 ประการ แบบนี้เลย

1. สมองสร้างเคมีสุข   THANK!!

            อย่างที่รู้ว่า สมองเป็นหัวเรือใหญ่ในการแจกงานให้อวัยวะต่าง ๆ แม้แต่เวลานอนก็ยังมอบรางวัลให้ร่างกาย ทั้ง เคมีนิทรา (เมลาโทนิน), เคมีสุข (ซีโรโทนิน) และฮอร์โมนเพศ แถมยังมีเคมีบำรุงออกมาควบคุมระบบในตัวเราให้ทำงานราบรื่น ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น สร้างเกราะป้องกันอาการป่วยได้ด้วย

2. สร้างเคมีหนุ่มสาว   THANK!!

            ปกติแล้ว เคมีหนุ่มสาวที่เรียกว่า "โกรทฮอร์โมน" จะค่อย ๆ ลดลงตามวัย รวมทั้งการนอนดึกก็ทำให้โกรทฮอร์โมนน้อยลงไปด้วย แต่ถ้าเราเข้านอนเร็ว สักราว 4 ทุ่ม สมองจะช่วยผลิตโกรทฮอร์โมนธรรมชาติให้ สรุปว่ายิ่งเราหลับไว หลับสนิท เราก็ยิ่งดูอ่อนเยาว์นะ

3. ความจำดีขึ้น  THANK!!

            การศึกษาจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ระบุว่า คนที่นอนหลับได้แค่ราว 4 ชั่วโมงต่อคืน ติดต่อกันนาน ๆ มีผลต่อความจำ, สมาธิและอุบัติเหตุมากขึ้น นั่นก็เพราะเวลาเรานอน สมองจะมีกลไกช่วยจัดระเบียบคล้ายกับการแยกอีเมลขยะออกไป แต่ถ้าเราอดนอน เราจะรู้สึกมึน ลืมง่าย หรือไม่ก็ลิ้นพันกัน คิดอย่างพูดอย่าง ดังนั้น ต้องนอนให้เต็มอิ่มจะได้เป็นการชาร์จแบตให้สมอง พร้อมรับความจำใหม่ ๆ   

4. คุมความดันโลหิตได้  THANK!!

            การนอนหลับเร็วจะช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติทั้งหลาย และกลไกทางชีวิวิทยาที่เป็นเหมือนฟันเฟืองขนาดจิ๋วทำงานซับซ้อน ช่วยควบคุมหัวใจ และความดันโลหิตให้สงบลง ไม่แกว่งขึ้นลงง่ายเหมือนกับตอนตื่นนอน

5. ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ    THANK!!

            คนก็เหมือนเครื่องยนต์ ทำงานมาหนักก็ต้องหยุดพักบ้างจริงไหม ซึ่งการนอนก็เหมือนเข้าอู่ซ่อมรถ ช่วยซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ ช่วยให้สมองได้พักผ่อน กล้ามเนื้อคลายตัว หัวใจสงบขึ้น ความดันลดลง

6. ลดความเสี่ยงโรคอ้วน   THANK!!

            ทำไมนะหรือ? ก็เพราะถ้าเรานอนเร็วจะทำให้เราไม่หิวกลางดึกจนกินดุตามมาไงล่ะ นอกจากนั้น ยังมีกลไกดับหิวด้วยการสร้างเคมีดับหิวขึ้นมา ทำให้การนอนเร็วช่วยคุมน้ำหนักตัวได้ดีกว่า อีกทั้งยังกระตุ้นเตาเผาในร่างกายให้ทำงานได้ดี ช่วยให้ไม่อ้วนง่าย ไม่สร้างเคมีเก็บไขมันมากด้วย

7. มีความสุขง่ายขึ้น   THANK!!

            ยิ่งอดนอนสมองของเราก็ยิ่งอึมครึม ทำให้ขาดสมาธิ ความจำก็ไม่ดี อะไรมากระทบนิดกระทบหน่อยก็หงุดหงิดอารมณ์เสียแล้ว แล้วจะมีความสุขได้อย่างไรล่ะ แต่ถ้าเราลองนอนให้เร็วขึ้น เราจะได้นอนอย่างเต็มอิ่ม ร่างกายและสมองได้พักผ่อน ความจำดี มีสมาธิ มองอะรก็มีความสุขได้ง่ายขึ้นจริง ๆ นะ

8. ได้ล้างพิษ   THANK!!

            เวลาที่เรานอนจะเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะอย่าง ตับ ไต ลำไส้ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยล้างพิษทำงานได้ดีขึ้น ลองสังเกตดูสิ ถ้าใครชอบอดนอน หรือนอนดึก นอกจากหน้าตาดูหม่นหมองแล้ว ยังมีปัญหาท้องผูกด้วย นั่นเพราะส่วนหนึ่งของพิษมาจากการนอนดึก เพราะฉะนั้น สาว ๆ ที่ชอบปวดรอบเดือนบ่อย ๆ ให้นอนให้เร็วขึ้น จะช่วยคุมเคมีปวดได้มาก

9. ไม่เสี่ยงโรคกำเริบ   THANK!!

            เครื่องยนต์ที่ทำงานเกินเวลาก็เสียได้ นับประสาอะไรกับมนุษย์ที่ไม่ยอมพักผ่อน ไม่ยอมหลับยอมนอน ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียก็อาจทำให้โรคที่พกอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ พากันแผลงฤทธิ์ขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันสูง เบาหวาน ภูมิแพ้ โรคเครียดซึมเศร้า และโรคมะเร็ง

10. ช่วยป้องกันแก่   THANK!!

            ไม่อยากแก่รีบชวนกันนอนตั้งแต่หัวค่ำ เพราะแค่นอนก็ช่วยเสริมสร้างความหนุ่มสาว และช่วยให้สนิททั้งหลายไม่ทำร้ายร่างกายก่อนวัยอันควร จึงป้องกันความเสื่อมชราได้ด้วย


หัวข้อ: 6 สิ่งที่เชื่อว่ามีผลให้ นอนหลับ สบาย
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 08, 2016, 01:59:34 PM
(http://upic.me/i/g7/sleep2.jpg) (http://upic.me/show/58254894)

1. ไม่งีบกลางวัน  :o

การใช้ชีวิตในแต่ละวันของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนมีเวลาว่างยาวๆ ช่วงกลางวัน บางคนว่างทั้งวัน หรือบางคนว่างเฉพาะช่วงเย็น ซึ่งการใช้ชีวิตในวันๆหนึ่ง อาจต้องสูญเสียพลังงานมาก ทำให้บางคนง่วงระหว่างวัน ซึ่งมีความเชื่อกันมาว่า ถ้านอนกลางวัน แล้วจะทำให้หลับยาก ซึ่ง ความจริงนั้น คือคุณสามารถงีบได้ แต่เพียงแค่ไม่นาน เกิน 30 นาที หรือยิ่งถ้าเป็นช่วงเย็น นี่ไม่ควร นอนหลับ เด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการนอนไม่หลับ หรือตื่นช่วงกลางดึกได้

2. นอนก่อนเที่ยงคืน สุขภาพดี   :o

อันนี้ คือความเชื่อที่ถูกต้อง เพราะการนอนหลังเที่ยงคืน นั้นจะทำให้รู้สึกเพลีย และอาจได้ขอบตาหมีแพนด้าเป็นของแถมด้วย ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดี ให้ลองฝึกเข้าและตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวันเพื่อสร้างความเคยชินให้อยากนอนและ ตื่นเมื่อถึงเวลาควรลุกจากเตียงทุกเช้าในเวลาเดิม

3. เรื่องของไฟ   :o

ไฟห้องนอน เป็นอะไรที่หลายคนถกเถียงกันพอสมควร บางคนก็บอกว่าชอบนอนเปิดไฟ บางคนก็ต้องปิดไฟไม่เช่นนั้นนอนไม่หลับ ซึ่งถ้าถามว่าเพื่อสุขภาพที่ดีแล้วควรทำอย่างไร คำตอบคือ ควรดับไฟ เพื่อให้ดวงตาและร่างกายได้พักผ่อนอย่างแท้จริง

4. เงียบๆ สิดี   :o

ความเงียบและมืดอุณหภูมิที่พอเหมาะของร่างกายช่วยให้เกิดการหลับขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เราควรจัดบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะสมและขจัดสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ออกไป

5. ดูหนังก่อนนอน   :o

การดูหนัง ช่วยกล่อมให้เราเคลิ้มหลับได้ก็จริงอยู่ แต่ก็ควรจะต้องเลือกประเภทหนังสักหน่อย อย่าดูหนังบู๊ล้างผลาญ หนังผี หนังตื่นเต้น ก่อนนอนเด็ดขาด เพราะถ้าคุณตื่นเต้น หัวใจก็จะทำงานหนัก จนทำให้นอนไม่หลับ

6. ออกกำลังกาย หลับสบายจริงหรือ?   :o

หลายคนมักคิดว่าออกกำลังกายก่อนนอนจะทำให้หลับสบาย แต่มันผิด เพราะร่างกายจะอ่อนเพลียแค่ช่วงที่เสร็จสิ้นการออกกำลังกาย แต่จะไม่รู้สึกอยากนอน และเมื่อได้นั่งพักหรืออาบน้ำร่างกายก็จะรู้สึกสดชื่น (จนไม่อยากจะนอน) ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรออกกำลังกายก่อน 4 โมงเย็น (15.00-17.00 น.) วันละ 1/2 ชม. ถึง 2 ชม. จะช่วยให้หลับเร็วตื่นเร็ว

ขอขอบคุณที่มาดีๆ จาก kapook.com,mthai.com,siamhealth.net